beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

หมายเหตุมหาวิทยาลัยนเรศวร : วัฒนธรรม KM


ที่มน.เราเริ่มเผยแพร่เรื่อง KM ให้สมาชิกในองค์กรทราบอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548

   ได้อ่านบันทึกเรื่อง KM ไทย : ไม่เหมือนใคร ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์แล้ว ผมมีความคิดเหมือนอย่างท่านไม่มีผิด ยกข้อความมาอ้างอิงตอนหนึ่งครับ "คุณ Geoff Parcell ผู้เขียนหนังสือ Learning to Fly จึงชื่นชมมากที่ สคส. ระบุว่า purpose ของ สคส. คือขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมที่มีความรู้เป็นฐาน  เป็นสังคมเรียนรู้"

   เป้าหมาย (Taget) ของ สคส. คือ Knowledge Based Society โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน และเครื่องมือที่ไม่ได้ดาดหวังตั้งแต่เริ่มตั้งสคส.คือ "GotoKnow" ครับ และ gotoknow นี่แหละที่ทำให้เกิด "การ ลปรร.ไปทั่วประเทศ"

   มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มต้น KM อย่างไรผมเคยเขียนไว้อย่างน้อย 2 ครั้ง ลองกลับไปอ่านบันทึกของผมเรื่อง "NUKM blogger Community เริ่มต้นจากศรัทธา" ผมขออ้างอิงประโยคหนึ่งในบันทึกนั้นนะครับ "จุดกำเนิดของ KM ในมน. เริ่มจากท่านอาจารย์วิบูลย์ ศรัทธาในอาจารย์หมอวิจารณ์ก่อนเป็นอันดับแรก"

   ที่มน.เราเริ่มเผยแพร่เรื่อง KM ให้สมาชิกในองค์กรทราบอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 ตอนนั้นผมคิดว่า มีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายไม่ต่ำกว่า 80 ราย เป็นแน่ แต่จะมีสักกี่ท่านที่จะเข้าใจ KM (หากย้อนไปตอนนั้นหน่วยประกันคุณภาพเอารายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมมาดู และเปรียบเทียบกับผู้สมัครเป็นสมาชิก NUKM blog ก็น่าจะเป็นงานวิจัยสถาบันได้นะครับ) ไม่ต้องพูดถึงที่จะเอาไปปฏิบัตินะครับ

   ผมเขียนอีกตอนหนึ่งว่า "อาจารย์วิบูลย์คงคิดและตัดสินใจตั้งแต่ตอนกลางปี 2548 แล้วว่า คงต้องใช้บล็อกในการขับเคลื่อนองค์กร (แทนที่จะเริ่มด้วย KM) เพื่อนำพาองค์กรไปสู่การจัดการความรู้ "

   ช่วงกลางปี หมายถึงเดือนมิถุนายน 2548 ตอนนั้น Gotoknow.org (version 1.0) ได้เริ่มขับเคลื่อนแล้ว และท่านอาจารย์วิบูลย์คงเห็นว่า "การประยุกต์ใช้ ICT คือ GotoKnow ให้เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดชุมชนที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนี่ง น่าจะสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรให้เกิดได้เร็วกว่าการพูดถึง KM แบบตรงๆ"

   ณ วันนี้ผมคิดว่า ท่านอาจารย์วิบูลย์ คิดถูก ทำถูก เนื่องด้วยขณะนี้มีสมาชิกใน NUKM blog ไม่ต่ำกว่า 150 บล็อก คนที่เป็นสมาชิกอย่างน้อยจะต้องอ่านบันทึกที่ท่านผู้อื่นเขียนและจะค่อยๆ เข้าใจเรื่อง KM และค่อยๆ เข้าใจวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เหมือนอย่างที่ผมค่อยๆ เข้าใจ "แบบ Learning by Doing" ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผมปฏิบัติเรื่อง KM อยู่แล้ว แต่ไม่ทราบว่าเป็น KM

   ลองมาดูความในใจของท่านอธิการบดีในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกใน NUKM blog บ้างนะครับ "จากการที่ได้ติดตามอ่านบันทึกผ่าน NUKM blog มาระยะเวลาหนึ่ง ประกอบกับการได้พบกับท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการจัดการความรู้เพื่อสังคม) เมื่อไม่นานมานี้ ท่านเป็นผู้ที่ผมนับถือมากในฐานะอาจารย์และผู้มีความรู้ ความสามารถ จึงทำให้ผมอยากมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคิดเห็นผ่านทาง blog นี้บ้าง ผมจึงได้ตัดสินใจเปิดบันทึกนี้ขึ้น"

  ในองค์กรที่ผู้นำสูงสุด ลงมาเล่นด้วย และเล่นแบบเป็นทีมแล้ว คาดหมายได้เลยว่า จุดประสงค์หรือเป้าหมายหลักขององค์กรจะต้องประสบความสำเร็จ อย่างแน่นอนครับ

 

หมายเลขบันทึก: 22299เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ครับ    ขอ e-mail address  ผมจะส่งส่งเอกสารประเมินหน่วยงานตนเอง  ตาม competence  ของ คุณอำนวย

เพื่อให้อาจารย์ลองให้คะแนนแล้วตอบกลับก่อนวันงาน     เพื่อจัดวง ลปรร  ให้เหมาะกับความต้องการของอาจารย์มากที่สุด

สมลักษณ์ [IP: 203.155.14.4] เมื่อ จ. 03 เม.ย. 2549 @ 11:42 19496 [ลบ] [แจ้งลบ] : e-mail address ของผมคือ..ขอบคุณครับ

  • ลบ comment เก่าออกเนื่องจากมี e-mail address
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท