ชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง


« อดีต ปัจจุบัน และสิ่งที่จะเป็นไปของนักเก็บผลิตผลจากป่าและนักล่าสัตว์ชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง »

ณ ดินแดนชายขอบที่ไกลสุดโต่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ยังมีชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในป่าลึก ไม่ค่อยมีใครรู้จักและกล่าวขานถึงเรื่องราว ประวัติชีวิตความเป็นมา หรือให้ภาพลักษณ์ในทางบวก แก่พวกเขานัก

ชื่อ สภาพความเป็นอยู่ คติความเชื่อดั้งเดิม และวิถีการดำรงชีวิตของพวกเขา กลับยิ่งทำให้เกิดขบวน การการตอกย้ำและดูหมิ่น รวมถึงความพยายามที่จะกอบโกยผลประโยชน์จากพวกเขาเหล่านี้ ด้วยการตัดไม้ และเผาทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอย ป่าที่ซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นที่อยู่อาศัย และเป็นจิตวิญญาณของพวกเขา การตกเป็นทาสแรงงานให้กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในภาวะความจำเป็นที่ต้องใช้แรงงานแบบเสี่ยงอันตรายและงาน หนักบางประเภท การตกเป็นสมาชิกขององค์กรหรือมีความเลื่อมใสศรัทธาในลัทธิทางศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพื่อ การตอบสนองต่อความหิวโหย และเพื่อความอยู่รอดของชีวิต รวมถึงการตกเป็นสินค้าในอุตสาหกรรมการท่อง เที่ยวของธุรกิจการท่องเที่ยวบางราย

เพื่อเป็นการจัดการ และขยายวงความรู้ให้กว้างไกลออกไป เพื่อเสริมคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึง เพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งอารยธรรมอันดีงาม และเก่าแก่ของกลุ่มชาติพันธ์นี้ โดยนำเสนอความรู้ ข้อมูล แบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ในเชิงอารยธรรม สังคม ประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้กับสังคมในป่า ที่ที่ ครั้งหนึ่งเคยคงสภาพป่าธรรมชาติ ป่าที่เป็นที่เกิด ที่ดำรงชีวิต และที่ตายของชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลืองจาก อดีตจนถึงปัจจุบัน

จากกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ การไหลบ่าของกระแสความเจริญทางเทคโนโลยี่ และวัฒนธรรมข้ามชาติ การที่ประชากรของโลกต้องลี้ภัยจากการคุกคามของลัทธิการเมือง ลัทธิใดลัทธิหนึ่ง การหนีภัยสงคราม ภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า น้ำท่วม โรคระบาดรุนแรงบางโรค จาก ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ทางเกษตรกรรม การเพาะปลูก การถางป่าทำไร่เลื่อนลอย เพื่อหาผืนดินที่อุดมสมบูรณ์กว่า รวมถึงกระแสเศรษฐกิจการเมือง การค้า การให้สัมปทานการตัดไม้เพื่อการส่ง ออกและนำรายได้สู่ชนบางกลุ่มหรือต่อประเทศชาตินั้น ทำให้มนุษย์ต้องอพยพเคลื่อนย้ายจากถิ่นที่อยู่เดิมไปยัง ผืนดินที่เจริญ อุดมสมบูรณ์ และปลอดภัยกว่า

ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยนักเก็บผลิตผลจากป่าและนักล่าสัตว์ชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง กลับต้องทนทุกข์ทรมานเป็นทวีคูณ เพราะสภาพป่าที่เขียวชอุ่มชุ่มฉ่ำของพวกเขา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเปรียบเสมือน สภาพธรรมชาติแวดล้อมที่ร่มรื่น ที่ที่เคยใช้หล่อเลี้ยงชีวิต จิตใจ วิญญาณ ร่างกายของมวลมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิต หรือพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ บนพื้นโลกให้มีความสุขความสบายมานานแสนนานนั้น บัดนี้ กลับต้องกลายสภาพมาเป็น ภูเขาหัวโกร๋นและป่าหัวโล้น เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือตอบสนองทางความคิด นโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ การค้า และการเมืองของคนบางกลุ่มเท่านั้น

สภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศเหล่านี้ ย่อมมีผลต่อการเปลี่ยน แปลงต่อวิถีการดำรงชีวิตของชนกลุ่มน้อยนักเก็บผลิตผลจากป่าและนักล่าสัตว์ ที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนอย่างโดดเดี่ยว อันเนื่องมาจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่รุกและคืบคลานเข้ามาในพื้นที่ป่าทึบ ลึก สูง และอยู่ห่างไกล จากความเจริญจนสุดที่สายตาจะเอื้อมถึง และหากไม่มีการกล่าวถึงเรื่องราวและปัญหาของพวกเขา รวมถึงการ ให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และทันเหตุการณ์ ชนกลุ่มน้อยนักเก็บผลิตผลจากป่าและนักล่าสัตว์เหล่านี้ คงจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้านี้

เดิมที ชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ได้ถูกขนานนามจนติดปากและชินหูว่าชนเผ่า ผีตองเหลือง และรวมถึงชื่ออื่น ๆ ณ ที่นี้ เพื่อให้เกียรติแด่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนกลุ่มชาติพันธุ์บรรพบุรุษของมนุษยโลกในปัจจุบัน และซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังจะสูญหายจากผืนแผ่นดินไทย และจากบางส่วนของโลก จึงขอเรียกขาน พวกเขาว่า « ชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลืองชื่อเรียกหรือภาษาทางราชการ หรืออาจเรียกพวกเขาว่า พี่น้องตองเหลือง และหรือ พี่สาว น้องสาว พี่ชาย น้องชายใบไม้สีเหลือง »

      >ข้อเขียนข้างบน และ ต่อไปได้รับจาก ดร.ยุวดี บุตรไวยวุฒิ<

ภาพลักษณ์และความเป็นมาโดยสังเขปของชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง 

 

ชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง เป็นใคร มาจากไหน รูปร่างหน้าตา มีความเป็นอยู่อย่างไร และมีความสำคัญเพียงใด ?

 

ศาสตราจารย์นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักมานุษยวิทยาคนไทย และชาวต่างประเทศหลาย ท่านพบหลักฐานว่าชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง (มราบรี Mrabri) เป็นมนุษย์ที่เกิดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ (prehistoric preriod) กลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม สมัยหินเก่า (Age of Paleolithic) ซึ่งเป็นยุคก่อนที่ มนุษย์จะมีตัวหนังสือจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร หรือก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการเขียนหนังสือ สมัยนี้อยู่ในช่วงราว ๆ ตั้งแต่ 1 ล้านปีจนถึงราวหนึ่งหมื่นปีก่อนคริสต์ศักราช

 

มนุษย์สมัยนี้ดำรงชีวิตอยู่แบบเร่ร่อน อยู่กันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ย้ายที่อยู่ไปตามแหล่งอาหาร เก็บของป่า เช่น พืช ผัก ผลไม้ รากไม้ตามธรรมชาติ และล่าสัตว์ (Huntering-Gathering Society) หรือเรียกว่ามนุษย์ถ้ำ (Caveman) และยังไม่รู้จักการเพาะปลูกหรือทำเครื่องปั้นดินเผา อาศัยอยู่ตามลำธาร ซอกเขา ถ้ำ เพิง ผา และที่โล่งใกล้กับ พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ตามสภาพภูมิอากาศ และฤดูกาลที่แปรเปลี่ยนไป หรือย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ ไม่แน่นอน 

 

ในสมัยนี้ เป็นระยะเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีความรู้ทางเทคโนโลยีสูงนัก ซึ่งเห็นได้จากบรรดาเครื่องมือ เครื่อง ใช้ที่มักเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับความจำเป็นในชีวิตแบบง่าย ๆ เช่น เครื่องมือหยาบ ๆ ขวาน มีดเจียรนัย เก่าแก่ที่ทำด้วยหินกะเทาะ หินกรวด กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ ไม้ รากไม้ และรู้จักจุดไฟ และมีเครื่องนุ่งห่มที่ทำจาก เปลือกไม้หรือหนังสัตว์เช่น มนุษย์พื้นเมืองในประเทศออสเตรเลียที่เรียกว่า ออสโทรลอยด์ (Australoid) ชาวไทย ภูเขาเผ่าตองเหลืองยังจัดเป็นชนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับมองโกลอยด์ (Mongoloid) คือมีผิวเหลืองไปจนคล้ำ ชนเผ่านี้ยังจัดอยู่ในอารยธรรมในยุคเดียวกับมนุษย์ยุคหิน ฮัวบินเฮี่ยน (Hoabinhian) ที่พบในถ้ำที่เขตบ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก จังหวัดแม่ฮ่องสอน แถบลำน้ำในจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อำเภอ แม่ทะ จังหวัดลำปาง บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมเทียน จังหวัดกาญจนบุรี ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จังหวัดราชบุรี และมนุษย์กลุ่มนี้ ส่วนหนึ่งเคยอาศัยพักพิงอยู่บริเวณเสาดิน บ้านน้ำหก บ้านนาเกลือ ตำบลเชียงของ เขตอำเภอนาน้อย บ้านดู่ใต้ ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง และที่ถ้ำปู่เล่ม (ถ้ำอมรินทร์) หมู่ที่ 5 ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เนื่องจากสำรวจพบซากพืชต่าง ๆ และเครืองมือที่ทำจากหินกะเทาะกระจายอยู่ทั่วไป ชื่อต่าง ๆ ที่ใช้เรียกชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลืองผีตองเหลือง เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่เร่ร่อนอาศัยอยู่ในป่าทางภาคเหนือ ตั้งแต่ราวหลายร้อยปีมาแล้ว และยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น คนป่า ข่าตองเหลือง ไทยป่า ยุมบรี (Yumbri, Youmbri) ผีป่า มลาบรี (Mlabri) หรือ มราบรี (Mrabri) ชนเผ่าม้งเรียกชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลืองว่า ม้ากู่ และชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า (Sảch) ที่อาศัยอยู่ตามเขตแดนประเทศเวียตนามและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เรียกชาวไทย ภูเขาเผ่าตองเหลืองว่า ตั๊กกุ่ย และความเชื่อดั้งเดิมของคนลาวยังเรียกชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ว่า ผีกองกอย

 

เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่เร่ร่อนอาศัยอยู่ในป่าทางภาคเหนือ ตั้งแต่ราวหลายร้อยปีมาแล้ว และยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น คนป่า ข่าตองเหลือง ไทยป่า ยุมบรี (Yumbri, Youmbri) ผีป่า มลาบรี (Mlabri) หรือ มราบรี (Mrabri) ชนเผ่าม้งเรียกชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลืองว่า ม้ากู่ และชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า (Sảch) ที่อาศัยอยู่ตามเขตแดนประเทศเวียตนามและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เรียกชาวไทย ภูเขาเผ่าตองเหลืองว่า ตั๊กกุ่ย และความเชื่อดั้งเดิมของคนลาวยังเรียกชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ว่า ผีกองกอย ชาวไทยภูเขาเผ่าตองเหลือง พอใจที่จะเรียกชื่อเชื้อชาติของตนเองว่า มระบรี มราบรี มระ หรือ มรา Mrabri ซึ่งมีความหมายว่าคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่า พอใจที่จะเรียกชื่อเชื้อชาติของตนเองว่า มระบรี มราบรี มระ หรือ มรา Mrabri ซึ่งมีความหมายว่าคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่า

 

สำหรับเหตุผลทั่วไปของการเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า ผีตองเหลือง นั้น เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่ ต้องเร่ร่อนหรือย้ายถิ่นที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ไม่เป็นหลักแหล่ง บ้านหรือที่พักจะสร้างเป็นเพิง หลังคามุงด้วยใบตอง ใบปาล์ม ใบก้อ ใบหวาย หรือใบไม้ที่หาพบในป่าขณะนั้น เป็นที่อยู่อาศัยในระหว่างที่หาอาหาร แต่เมื่อแหล่งที่ อยู่อาศัยนั้นมีอาหารไม่พอเพียง ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่นเพื่อหาอาหารต่อไป และด้วยความบังเอิญที่ว่าชาวบ้านใน บริเวณใกล้เคียงเคยพบชนกลุ่มนี้ตั้งแต่เริ่มสร้างที่อยู่ และสังเกตว่าเมื่อใบไม้ที่ใช้มุงหลังคาเปลี่ยนสีจากสีเขียว เป็นสีเหลือง พวกเขาจะย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น และถ้าไม่ย้ายไปอยู่ที่อื่น หรือหากพวกเขาได้พบกับคนจากพื้นที่ราบ หรือคนแปลกหน้าจากเผ่าอื่นที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะเป็นบาป เหตุผลที่มาจากคติความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาเกิด ความไม่ไว้วางใจและความกลัวบาป พวกเขาจึงอพยพหลบหนี หรือหายตัวไปอย่างรวดเร็ว ราวกับเป็นผีหายตัว ได้ พวกเขาจึงถูกเรียกชื่อว่า ผีตองเหลือง

 

ดังนั้น คำว่า ผี เป็นเพียงอากัปกิริยาเปรียบเทียบการอพยพย้ายที่อยู่อย่างรวดเร็ว ด้วยความชำนาญพื้นที่ และลักษณะภูมิประเทศคือป่า แท้จริงแล้ว พวกเขาไม่ใช่ พวกเขาเป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ และท่านนี่เอง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22258เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมสนใจมากเรื่องชาวเขา

น่าสนใจทำวิจัยทางด้านภาษาของ ชาวไทยกลุ่มนี้นะครับ เพื่อจะอนุรักษ์มรดกอีกด้านของไทยไว้ครับ...ผมสนใจจังเลยครับ

เด็งวสนเม้สนรร ครีนุตภคตร

เด็นมากเลยทำไมไม่ฆ่าคน

สามารถกินหมูได้ด้วย

อยากให้มีรูปประกอบด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท