ขั้นตอนการสอนของฮันเตอร์


รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความรู้และทักษะ

 

ได้มีโอกาสรู้จักรูปแบบการสอนของฮันเตอร์เมื่อปีการศึกษา 2550

จากการค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้สอนนักเรียน ไปพบอยู่ในวิทยานิพนธ์ของ  คุณครูพัชรี ปฏิรูปวาที มหาวิทยาลัยศิลปากร และนำมาใช้กับนักเรียน ปรากฏว่าได้ผลดี นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนดี จึงสนใจอยากศึกษารายละเอียดเพิ่ม จึงหาวิธีติดต่อกับเจ้าของวิทยานิพนธ์ จนพบ คุณครูพัชรี น่ารัก มาก ส่งตำรามาให้ 3 เล่ม ซึ่งเขียนโดย ดร.วัชรา เล่าเรียนดี อาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อยากขอบคุณ คุณครู พัชรี ไว้ ณ ที่นี้ เพราะเป็นบุคคลที่มีน้ำใจมาก  ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย  และอีกครั้งที่ประทับใจกับไมตรีจิตที่ให้ คือโทรมาหา "พี่หนูจะเข้ากรุงเทพฯไปหาอาจารย์ วัชรา แล้วจะหาซื้อตำราเล่มใหม่ของอาจารย์มาฝาก 1 สัปดาห์ต่อมาก็ได้ตำราเล่มใหม่จริงๆ นี่แหละ.น้ำใจคนไทย.

        จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า รูปแบบการสอนของฮันเตอร์ เป็นรูปแบบการสอนที่ประยุกต์มาจากรูปแบบการสอนทางตรง ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เป็นสากล ตามที่ ทิศนา แขมมณี ได้เขียนไว้ใน ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  

          รูปแบบการสอนของฮันเตอร์เป็นรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะที่ต้องมีรูปแบบวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยครูจะต้องแสดงแบบให้นักเรียนเห็น เข้าใจชัดเจน

ดังนั้นจึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาการคิด และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

           ขั้นตอนการสอนของฮันเตอร์ มีนักการศึกษาของต่างประเทศหลายท่าน นำเสนอไว้อาจแตกต่างกันบ้าง บางท่านบอกว่า มี 7ขั้นตอนบางท่านบอกว่ามี 8 ขั้นตอนและบางท่านนำเสนอว่ามี 9 ขั้นตอน จากการศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าว มีความเข้าใจว่า การที่จำนวนขั้นตอนไม่ตรงกันนั้นเป็นเพราะว่า บางท่านได้รวมขั้นตอนบางขั้นตอนเข้าด้วยกัน เพื่อให้กระบวนการเรียนกระชับขึ้น

           ผู้เขียนศึกษารายละเอียดทุกขั้นตอนจนเข้าใจและด้วยใจรัก เพื่อนำความรู้ไปทำผลงานทางวิชาการ ทำไปได้พอสมควร มีผู้ท้วงติงว่า การเสนอผลงานโดยใช้วิธีสอน มักไม่ค่อยผ่านการประเมิน ด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆเช่น ลักษณะของผลงานมักดูไม่ค่อยชัดเจนเหมือนนวัตกรรมอื่นๆ..ให้ทำเป็นแบบฝึกจะดีกว่า หรือประเภทอื่นดีกว่า  ซึ่งค้านกับความคิดของผู้เขียนมาก เพราะผู้เขียนคิดว่าการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา  ดำเนินการสอนตามขั้นตอน ทีละขั้นๆจากง่ายไปยาก โดยมีสื่อประกอบทุกขั้นตอน น่าจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้มากกว่าการใช้สื่อเพียง ชนิดเดียว..แต่ด้วยกระแสของการท้วงติง ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบของผลงาน..ใหม่.ทั้งที่ทำไปค่อนข้างเยอะแล้ว

           ดังนั้น ด้วยใจยังรัก ในรูปแบบการสอนของฮันเตอร์ จึงได้ทำผลงานบางส่วนที่ได้ทำแล้ว มานำเสนอในที่นี่ หากท่านผู้ที่อ่านพบอยากแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือให้คำแนะนำ จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

          ขั้นตอนการสอนของฮันเตอร์ตามที่ วัชรา เล่าเรียนดี นำเสนอมี 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นนำ (Anticipatory Set) ก่อนเริ่มสอนครูจะต้องช่วยให้นักเรียนรู้ว่าเขาจะต้องเรียนอะไร มุ่งเน้นเรื่องอะไรบ้าง

 

2. แจ้งหรือบอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเป้าหมายของการเรียนรู้ (Objectivesand Purposes) โดยบอกให้นักเรียนทราบว่าจะเรียนอะไร มีประโยชน์อย่างไร นักเรียนต้องทำอะไรได้บ้าง

 

3. การเสนอเนื้อหาสาระใหม่ หรือทักษะใหม่ (Input) โดยที่ครูจะสอนเนื้อหาสาระ และทักษะ โดยใช้กิจกรรมการสอนและการเรียนรู้ที่หลากหลาย

 

4. เสนอรูปแบบ ทำรูปแบบพฤติกรรมต่าง ๆ ให้ดู (Modeling) การเสนอรูปแบบ ทำแบบให้นักเรียนดูเป็นการช่วยให้นักเรียนมองเห็นสิ่งที่เรียน ที่เป็นกระบวนการชัดเจนหรือ ผลลัพธ์ที่ต้องปฏิบัติให้ได้

 

5. การตรวจสอบหรือทดสอบความรู้ความเข้าใจ (Checking for Understanding) ฮันเตอร์ เสนอว่าในขั้นตอนนี้ควรให้นักเรียนชูนิ้วชี้เมื่อนักเรียนเข้าใจคำสั่งต่าง ๆ หรือการแนะนำใหม่ ๆ หรือเมื่อเห็นด้วยกับคำตอบของเพื่อนร่วมชั้น

 

6. การให้ฝึกปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำ (Guided Practice) การฝึกทักษะใหม่ ๆ ความรู้หลักการใหม่ที่เรียนโดยครูคอยช่วยเหลือแนะนำอย่างใกล้ชิด

 

7. การให้ฝึกโดยอิสระ (Independent Practice) การให้นักเรียนฝึกปฏิบัติโดยอิสระตามลำพัง ควรจะทำเมื่อแน่ใจว่านักเรียนจะไม่ทำสิ่งใดผิดพลาดที่รุนแรง ถ้ายังไม่พร้อมครูควรให้ฝึกโดยที่ครูคอยแนะนำให้มากก่อน

        

    ครั้งต่อไปจะนำเสนอตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้

ตามรูปแบบการสอนของฮันเตอร์

         

หมายเลขบันทึก: 222265เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

แวะมาอ่านรับความรู้ค่ะ

ขอบคุณนะคะ

มีแต่สิ่งดีๆเสมอๆนะคะ

เจริญพร โยมนัฐพร

การศึกษาทางโลกนั้นไม่มีวันจบสิ้น

แต่การศึกษาธรรมมีสิ้นสุดคือ นิพพาน

 

เจริญพร

สวัสดีค่ะ P @..สายธาร..@

  • ดีใจจังที่ @..สายธาร..@ เข้ามาเยี่ยม..
  • ครูส้มเข้าไปเยี่ยม@..สายธาร..@หลายครั้งแล้วหละ..
  • แอบดู..ภาพ สายน้ำ "สายธารแห่งความชุ่มชื่นใจ" รู้สึกดีจัง..
  • ขอบคุณด้วยความจริงใจอีกครั้งสำหรับมิตรภาพที่มาเยือน
  • มอบ หัวใจข้างล่าง สำหรับมิตรภาพ ของ..สายธาร..ค่ะ.

        

กราบ นมัสการท่าน  P   พระปลัด

"การศึกษาทางโลกนั้นไม่มีวันจบสิ้น

แต่การศึกษาธรรมมีสิ้นสุดคือ นิพพาน"

  • กราบขอบพระคุณท่าน พระปลัด สำหรับธรรมะที่กรุณานำมาฝาก..
  • จะเข้าไปรับรสพระธรรมจากพระคุณท่าน..อีกค่ะ..

 

 

  • แวะมาทักทาย และศึกษาเพิ่มเติมครับ
  • ผมก็เคยผ่านตามาบ้างครับ
  • สบายดีนะครับ คุณพี่ส้ม
  • รักษาสุขภาพกายและใจนะครับ

หวัดดีตอนดึก ค่ะน้องชาย P  สุดหล่อ.คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)

  • ขอบคุณ นะ..ที่แวะมาทักทาย ..
  • ยังหล่อเหมือนเดิมนะ..น้องชาย..ที่แสนอารมณ์ดี..
  • เห็นหน้าแล้ว พี่ยังอมยิ้ม.นึกถึง..สาวโต๊ะ สี่..ที่สั่งกับข้าว..จัง
  • พี่ส้มสบายดีค่ะ..เอวยังหนาเหมือนเดิม..อิๆๆ
  • ขอให้สบายกายและใจ..เช่นกัน..
  • ขอให้ความรัก..สดชื่น เหมือนยืนอยู่บน ยอดเขาหน้าหนาว นะคะ..
  •  

    ขอชื่นชมในความพยายามแต่ง blog ได้สวยงาม หวานและสบายตาดีมาก และการใฝ่เรียนรู้ของพี่นะคะ ตรงกับคำสำคัญที่ว่า ชีวิตคือการเรียนรู้เลยค่ะ

    ขอให้กำลังในการสร้างสรรผลงาน ไม่ว่าจะใช้นวัตกรรมใดขอให้คำนึงถึง ก 3 ตัวดังนี้คะ

    ก ที่ 1 ก กรรมการ คือผู้ที่เราไม่สามารถรู้จัก รู้ใจ รู้ใจได้ ซึ่งเขาลือกันว่าเข้าใจยากมากกกกกกกกกกก

    ก ที่ 2 ก เกณฑ์ คือสิ่งที่พี่ต้องดำเนินตามทุกข้อและรายละเอียด อาจเข้าใจได้ไม่ยากเท่า กที่1

    ก ที่ 3 ก กำลังใจของตนเองเป็นที่ตั้ง เรารู้จักและเข้าใจได้มากกว่าใคร ว่าชอบอะไร ทำได้ไหม เหนื่อยแค่ไหน ทุกข์สุขแค่ไหนเรารู้ดีที่สุด

    อย่าลืมให้กำลังใจตัวเองเป็นระยะบ่อยเท่าที่จะทำได้ ตามหลักการเสริมแรงนะคะ

    ดีใจที่ได้แวะมาค่ะ

    สวัสดีจ้า น้องโอ๊ะ

    • ดีใจที่น้องมาเยี่ยมและฝากกำลังใจไว้..
    • จริงอย่างที่น้องบอกนะ 3 ก...เชื่อ จ้า..
    • อย่าลืมให้กำลังใจตัวเองเป็นระยะบ่อยเท่าที่จะทำได้ ตามหลักการเสริมแรงนะคะ   สัญญานะ ว่าจะให้กำลังใจตัวเอง บ่อยๆ

    • รักนะ น้องผู้มีน้ำใจ..มากที่สุด

    •                        

    แวะมายิ้มให้พี่สาว..

    อ่านอ่านๆๆข้อมูลดีดี..ขอบคุณนะคะ

    อย่างนี้..น้องสาวยกให้เป็นครูดีในดวงใจน้องศน.แอ้ดเลย..อิอิ

    สวัสดีค่ะ  ศน.ในดวงใจ

    P  มีคำพูดน่ารักอีกแล้ว..ยิ้มสวย แถมพูดเพราะอีก  อิอิ..

    • วันนี้เขียนบันทึกใหม่หรือยัง จะเข้าไปรับสาระดีดีอีก จ้า
    • รักนะ ..ศน.คนดี

                                  

     

    น้องแอ้ดแวะมาบอกพี่ส้มคนดีว่าน้องแอ้ดเขียนบันทึกใหม่แล้วนะคะ

    แวะไปดู KM ของมหาสารคามนะคะที่

    http://gotoknow.org/blog/arunrat-add/227951

    รักพี่ส้มจ้า...

    น้องแอ๊ด จ๋า..

    • P  ไปดูมาแล้ว
    • ชื่นชม สุดๆๆๆ
    • น่ารักมาก กับการทำงาน ตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน้อต..อิอิ
    • รักษาสุขภาพนะนะ..เป็นห่วง...นะคนดี
    •  

    สวัสดีคะ แวะมาเยี่ยมบล๊อกนักการศึกษา น่าสนใจดีค่ะ นานจะเจอนักการศึกษาที่ล่าตำราอ่าน ดีมากค่ะที่นำเสนอทฤษฎีที่ดีดี น่าจะมีตัวอย่างง่ายประกอบนะคะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์...นิ่มอนงค์

    • ดีใจ มากค่ะ..อาจารย์ อุตส่าห์มาเยี่ยม..
    • อาจารย์ ขา..หนูได้ศึกษารูปแบบการสอน นี้แล้ว ชอบมาก ค่ะ..หนูคิดว่า..เป็นวิธีที่เหมาะสมกับการสอนเนื้อหาวิชาที่เป็นความรู้และทักษะ..ที่ต้อง มีต้นแบบที่ถูกต้อง..เป็นตัวอย่างในการเรียนรู้..เพราะหนูสอน ป.1 ซึ่ง..เนื้อหาส่วนใหญ่ต้องสอนโดยการสาธิต..ทำให้ดูแล้ว นักเรียนทำตาม..ในวิชาภาษาไทย คณิต..
    • อาจารย์ ขา ตอนนี้ หนูก็ยังเป็นนักศึกษา โข่ง ของ พิบูลสงคราม อยู่ค่ะ..เหลือวิทยานิพนธ์อย่างเดียว..แต่ยังไม่มีเวลาทำต่อเลยค่ะ..รักษาสภาพมา 3 รอบ แล้ว ..น่าอายจัง..ขอเวลาทำ คศ.3 ก่อน ค่ะ..
    • ขอบคุณ อีกครั้ง ค่ะ ที่มาเยี่ยม..อาจารย์ยิ้มสวยจัง..
    P

    ขอบคุนคับที่โพสความรู้ดีๆ

    • สวัสดีค่ะ.. saei [IP: 124.121.226.161]
      เมื่อ พฤ. 06 ส.ค. 2552 @ 06:38
    • ขอบคุณที่มาทักทายกัน..
    • ชอบวิธีการสอนแบบนี้ค่ะ..จึงนำมาแบ่งปันกัน..
    • มีคนขอตัวอย่าง.ไปบ้างแล้วค่ะ..
    • แล้วมาทักทายกันอีกนะ..

    •    
    ศิริรัชต์ ทนงศักดิ์วิเศษ

    ดิฉันเป็นครูผู้สอนภาษาไทยชั้นป.1 กำลังศึกษารูปแบบการสอน เพื่อหาหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ และสนใจเรื่องรูปแบบการสอนของฮันเตอร์ ของคุณพัชรี ปฏิรูปวาที และศึกษารายละเอียดของเรื่องจากblog ของคุณนัฐพร จันทร์ส่งสิงห์ อยากขอคำแนะนำจากทั้ง 2 ท่าน ขอบคุณมากค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท