การเน้นอักษร..เมื่อเขียน "THE PERCEPTION OF TEXT"


ในสมอง "มนุษย์" นั้นไม่ใช่จะง่ายที่ "มนุษย์" เราจะเก็บทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปไว้ได้หมด..หากแต่จะเลือกเก็บ

          มาเล่า..จากได้อ่านบันทึกของคุณ "โอ๋-อโณ" เรื่อง "การใช้ทฤษฎีสีกับการเน้นสีตัวอักษรใน Blog" จากฐานเดิมที่เคยรับรู้มาว่าในการออกแบบ "สื่อ" ทางด้าน "การเรียนรู้ของมนุษย์" ไม่ว่าจะเป็นอักษร ภาพ เสียง..หรือสื่อรวม..สิ่งที่เน้น คือ ก่อให้เกิดความดึงดูดใจ...สวยงาม..

          จึงทำให้ต้องหยิบเรื่อง IN  STRUCTIONAL  MESSAGE  DESIGN ของคุณ Malcolm Fleming and W.Howard Levie เกี่ยวกับ "THE PERCEPTION OF TEXT" แต่พอได้มาศึกษาอย่างลึกซึ้ง...เพิ่มมากขึ้นจากเดิม พบว่า Trend ของการออกแบบมีมากกว่าที่จะก่อให้เกิดการดึงดูด สวยงามอย่างเดียว แต่หากเน้นใน การใส่รหัส (Encoding) เข้าไปในสมองจากการรับรู้ของมนุษย์เรา...โดยสามารถอธิบายโดยใช้ฐานคิดทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)และการใส่รหัสนั้นสำคัญอย่างไร...อธิบายได้ว่ากระบวนการประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นในสมองของมนุษย์ มีได้ดังนี้

 

การบันทึกผัสสะ ( Sensory Register )>>ความจำระยะสั้น ( Short-term memory )>>ความจำระยะยาว ( Long-term memory )

 

 

          ซึ่งมนุษย์จะมีกระบวนการรับรู้ คือ การใส่ใจ ( Attention ) การรู้จัก ( Recognition ) เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเลือกรับข้อมูลที่ตนเองสนใจหรือที่รู้จักเข้าไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้นหรือความจำช่วงระยะทำงาน ซึ่งการรับและการเก็บจะมีช่วงเวลาสั้นมาก ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้ความจำยาวขึ้นจะต้องผ่านการเข้ารหัส ( Encode ) แล้วนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว สามารถเรียกกลับมาใช้ได้ ได้แก่ การทบทวน การทำซ้ำๆ การจัดระเบียบ ( Organize ) การขยายความคิด ( Elaborate ) เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนใหม่กับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ซึ่งจะช่วยให้เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

 

          จากการทำงานที่เกิดขึ้น..ในสมอง "มนุษย์" นั้นไม่ใช่จะง่ายที่ "มนุษย์" เราจะเก็บทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปไว้ได้หมด..หากแต่จะเลือกเก็บ...แล้วเราจะเก็บได้อย่างไรเล่า..นั่นน่ะสินี่คือคำถาม..ที่เราเคยสงสัย..เมื่อเราอ่านหนังสือ บางคนก็เบื่อหน่ายกับการอ่านที่มีตัวอักษร (Text) เยอะๆ..บางคนชอบอ่านที่มีภาพประกอบด้วย...บางคนชอบ Highlighting Text (เน้นข้อความด้วยสี ขีด เขียน ลากเส้น แล้วแต่ใจชอบ และง่ายเมื่อกลับมาดูอีก)...เหล่านี้แหละคะ..สมองเราก็กำลังเริ่มทำงาน เลือกข้อมูล นำไปบันทึกผัสสะ เก็บไว้ในความจำระยะสั้น...และบางคนถึงขั้นใส่รหัสเข้าไปด้วย เช่น ใส่เทคนิคการจำ "ผู้ใหญ่ หาผ้าไหม ให้สะใภ้ ใว้คล้องคอ..." หรือ.."...ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง.."..เหล่านี้เป็นต้น

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 22167เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     ขอบคุณ Dr.Ka-poom ที่นำสิ่งดี ๆ มามอบให้เสมอครับ ชื่มชนจริง ๆ ผมคนหนึ่งที่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้มาก่อน ก็ได้เข้าใจ และพอจะเข้าใจได้ระดับหนึ่ง เชื่อว่าต้องมีอะไรอีกเยอะในเรื่อง "The Perception of Text"

     ในกรณีที่เราพยายามจัดเรียงถ้อยคำสำนวนให้เด่นขึ้นเช่น...ผมคิดเอง (เน้นว่าผมคิด)...ถือว่าอยู่ในประเด็นนี้ไหมครับ

       เห็นด้วยกับการใส่รหัส (Encoding) ...ในบางอย่างที่อาศัยการท่องจำ(ที่มักจะลืมได้ง่าย)...เคยลองทำสมัยเป็นนักศึกษา(โดยไม่ทราบว่าหลักการถูกต้องรึเปล่านะคะ)...ยอมรับว่าได้ผลดีมากเลย...บางอย่างยังจำได้อยู่เลยแม้จะผ่านมาตั้ง 10 กว่าปี...(ยังแอบถ่ายทอดเคล็ดไม่ลับนี้ให้ลูกเวลาสอบด้วยค่ะ)
ขอบคุณด้วยค่ะ ชอบจังที่พออยากรู้อะไรที่เป็นระบบแล้วเปิดประเด็นขึ้นมาปั๊บ คุณ Dr .Ka-Poom ก็มาช่วยให้เข้าใจกระจ่างขึ้นทุกที น่ารักจริงๆ

คุณโอ๋-อโณ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ...ฝากบอกน้องฟุงด้วยนะคะ

ว่า..มีหญิงสาวเฝ้าติดตามงานเขียนเขาอยู่คะ

*^__^*

คุณปอม..คุณชายขอบ

สิ่งดีดี..ที่เราเคยทำ..เป็นเครื่องพิสูจน์

และมีคำตอบ..อธิบายได้

ยึดและเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงามนะคะ..ที่เราเชื่อนะคะ

*^__^*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท