อิ่มบุญ มหากฐิน ถิ่นอีสาน


ทำบุญในงานมหากฐิน ถือว่า ได้ทำบุญอันประเสริฐแล้ว

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นโอกาสที่ดี และดีใจมาก ที่นานๆ จะมีเวลาว่างเพื่อไปร่วมทำบุญมหากฐิน และงานบวช อยู่บ้านวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

  • เป็นงานมหากฐิน และงานบวชหลานชาย (ญาติที่สนิทกัน)
  • สิ่งที่เห็นและรับรู้ได้คือ ความปราบปลื้ม ปิติ ของผู้เป็น พ่อ และแม่ ที่รู้สึกซาบซึ้งและดีใจเป็นที่สุด ที่เห็นลูกได้ห่มผ้าเหลือง (ครั้งหนึ่งในชีวิต)
  • แต่การถวายผ้ากฐิน ก็ยังเป็นรูปแบบเหมือนกันทุกประการ

เท่าที่ทราบ การทำบุญกฐิน ในอีสานนั้น แต่ละเปิงบ้าน อาจจะจัดแตกต่างกัน ในเรื่องการต้อนรับแขก

 

การทำบุญกฐิน คือ การจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา ๑ เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒)

ก็ได้อิ่มบุญ กับญาติธรรม ที่ไปด้วยกัน ดังภาพ

 

Katin1

Katin  

Katin2


ความหมายของกฐิน


พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้

กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้

กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ

การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า

กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึง
ผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา
คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีกานสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔

จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า

มีความเกี่ยวข้องกัน ๔ ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐินคือแสดงความพอใจ ว่าได้ กรานกฐิน เสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง


ประเพณีนิยมถวายผ้ากฐิน  เป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน

 

ที่มา: หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

(((((((เอาบุญกฐิน มาฝากพันธมิตร Gotoknow ค่ะ )))))))  สาธุ  สาธุ  สาธุ

 

คำสำคัญ (Tags): #งานกฐิน
หมายเลขบันทึก: 220825เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ ขอให้มีความสุขน่ะค่ะ

  • ขอบพระคุณค่ะ อ.สุนันทา
  • มีความสุข ด้วยกันนะคะ

 

 เรียน อาจารย์   ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับผม

สวัสดีค่ะ

  • ดีใจจังค่ะ..ที่ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง
  • อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
  • อ่านเรื่องราวของเมืองแคน...คิดถึงคนเมืองแคน
  • อาหารแซบ ๆ หมอลำ..เจ้าค่ะ
  • ยังรักและคิดถึงนะคะ

แวะมาอิ่มบุญด้วยนะคะ

ฝากภาพการต้อนรับคณะกฐิน
ไปเจอที่หมู่บ้านแถวอำเภบรบือจังหวัดมหาสารคาม
ก่อนทางเข้าวัดมีเด็กมานั่งริมถนนวางผ้าไว้ข้างหน้า
ทีแรกก็งง..ทำอะไร
ก็สังเกตเห็นคนที่มาร่วมงานโยนเงินลงจากรถใส่ตรงผ้าที่วางไว้
เด็กๆอิ่มบุญกันใหญ่..ก็เลยถ่ายรูปมาฝาก ถ่ายบนรถอาจจะไม่ชัดนะคะ

  • ขอบคุณครูคิม มากค่ะ
  • คิดถึงเช่นกันนะคะ

P 

5. add
เมื่อ พ. 05 พ.ย. 2551 @ 09:18
922573 [ลบ]
ขอบคุณค่ะ  ขอให้ได้อิ่มบุญ และมีความสุขถ้วนหน้า ด้วยกันนะคะ

แวะมาเติมความรู้ครับ...

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่า กฐินทุกวันนี้ยังช่วยทำนุบำรุงวัดไปในตัว  แต่บางแห่งก็พึ่งพาคนนอกชุมชนมาก  จนในหมู่บ้านไม่กล้าจองเป็นเจ้าภาพกฐิน เพราะเชื่อว่า  ต้องมีทุนเยอะ ๆ  ..

วิธีคิดเช่นนี้  มีให้เห็นเยอะมากทีเดียวนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท