แนะนำหนังสือ สำหรับนักพัฒนา


ประสบการณ์ยิ่งใหญ่ในหมู่บ้านเล็กๆ

ลูกสาวเขาเป็นนักแปล   จึงนำมาแนะนำ   อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑ เมย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #storytelling#หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 22069เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 05:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่แนะนำหนังสือเล่มนี้ แม้ยังไม่ได้อ่านฉบับเต็ม เท่าที่ได้ข้อมูลจากบันทึกนี้ก็ทำให้ผมรู้สึกดีขึ้นมามากว่ามันยังคงมีทางออกอยู่บ้างสำหรับประเทศไทยเรา

ทุกครั้งที่ผมได้ออก Mobile unit ของ มน. จะมีปัญหาที่ทำให้ผมนึกถึงหนังสือที่เคยอ่านสมัยเรียนป.ตรีปี 1 (พ.ศ. 2516) ชื่อ "Cry, the beloved country" ถ้าจำไม่ผิดเป็นการเล่าเรื่องในประเททศอาฟริกาใต้ ตัวเอกของเรื่องเป็นชายชราชื่อ "อึมซึมคูรู" ที่ต้องทิ้งครอบครัวในชนบทไปตามหาลูกชายในเมืองเนื่องจากได้ข่าวว่ากำลังจะถูกแขวนคอเนื่องจากไปก่ออาชญากรรมเพื่อความอยู่รอดและโดยรู้เท่าไม่ถึงการ เรื่องนี้ฝังใจผมมากและนึกไม่ถึงว่าเมื่อโตขึ้นมาจะต้องมาเจอกับประเทศของตัวเอง

ปัญหาเรื่องหมู่บ้านเหลือแต่เด็กและคนชราในขณะที่คนหนุ่มสาวและคนวัยกลางคนต้องไปตายเอาดาบหน้าในเมืองใหญ่เพื่อความอยู่รอดในหนังสือดังกล่าวจะคล้ายกันมากกับบ้านเราในขณะนี้ และด้วยกำลังสติปัญญาของผมเองมันมืดมิดจริง ๆ ที่จะเห็นช่องทางแก้ไข หลายครั้งคิดว่ามันคงแก้ไขไม่ได้ด้วยซ้ำ พอมีข่าวว่ามีคนแก้ไขได้ผมจึงรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง และอยากให้มันมีทางแก้ไขให้กับบ้านเราบ้าง จึงกราบขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับที่แนะนำหนังสือเล่มนี้

ผมไปที่ "สวนเงินมีมา" บ่อย ๆ ครับ  เหมือนห้องอ่านหนังสือตัวเองยังไงก็ไม่รู้  ไปนั่งจิบกาแฟในร้านหนังสือ  เลือกหนังสือเป็นครึ่งค่อนวัน  ห้าโมงเย็นร้านปิด  ก็ได้หนังสือติดไม้ติดมือไปเล่มสองเล่มแล้วแต่ความพร้อมทานด้านการเงิน

หนังสือเล่มนี้  ต้องสารภาพตามตรงว่า  "เพิ่งทราบว่าคนแปลมีสกุลว่า พานิช"  และก็เพิ่งทราบว่าเป็นลูกสาวอาจารย์หมอฯ  ผมพลิกอ่านเป็นตอน ๆ (ยังไม่ได้ซื้อครับ) สำนวนการแปล...เหมือนกับให้คนญี่ปุ่นมาเขียนภาษาไทยยังไงยังงั้นเลยครับ  ทั้งการเลือกใช้คำและการเลือกใช้เสียง

ตอนที่ผมอ่านเจอเล่มนี้ใหม่ ๆ ก็เกิดอาการ "ของขึ้น" ในบัดดล  พอมีโอกาสไปเสนอหน้าในที่ประชุมเรื่องการประเมินโครงการของชุมชนกะเขา  ก็ให้ไอเดียทันทีว่า  "การเขียนรายงานการประเมิน  น่าจะให้ชาวบ้านเขียนเป็นเรื่องเล่ามาให้เรา  แล้วก็จ่ายค่าประเมินโครงการให้ชาวบ้านไปเป็นค่าต้นฉบับน่าจะดีกว่าให้ผู้ประเมิน ปั้น สิ่งที่ผู้ให้ทุนต้องการจะเห็นมั้งครับ?"

ท่านคงรู้นะครับว่าคำตอบจะเป็นเช่นใด...แต่หนังสืออ่านสนุกมาก...ประเทศที่พัฒนาแล้ว...เขามักจะทำอะไรเรียบง่ายอย่างนี้แหละ...หนังสือเล่มนี้เลยไม่ค่อยประสบความสำเร็จในประเทศที่กำลังพัฒนา...เพราะชอบทำอะไรซับซ้อน  ให้เป็นวิชาการที่เคร่งขรึมเข้าไว้...สงสัยกลัวเขาหาว่าไม่ "ฉลาด" หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ...เราเลยได้แค่แสดงอะไรที่ดูฉลาด ๆ...แต่พอถึงตอนลงมือทำ...ไหงกลับตรงกันข้ามก็ไม่รู้ (เลี่ยงคำหยาบสุด ๆ เลยนะครับเนี่ย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท