EHM เครื่องมือสร้างพลังเครือข่ายคนพิการ แผนเดินเรื่อง


ลำดับขั้นในการดำเนินการวิจัย (โดยย่อ)

     กระบวนการและลำดับขั้นในการดำเนินการวิจัย (โดยย่อ) ประกอบด้วย

     1. ขั้นเตรียมการ 

          1.1 จัดเวทีเสวนาร่วม (แกนนำฯ ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการ อ.เขาชัยสน สมาคมคนตาบอด ทีมนักวิจัย และภาคีเครือข่ายฯ) เพื่อทบทวนและทำความเข้าใจใน RoadMap ของงานวิจัยร่วมกัน 30 เม.ย.2549 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review 
          1.2 ประชุมแกนนำและตัวแทนคนพิการทุกประเภทในแต่ละอำเภอ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการ"เฉพาะกิจ" "ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการจังหวัดพัทลุง" 11 พ.ค.2549 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม และทำ AAR: After Action Review 
          1.3 Workshop "คณะกรรมการฯ เฉพาะกิจ" "ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการจังหวัดพัทลุง" และทีมวิจัย 2 วัน เพื่อกำหนดรูปแบบการเดินเรื่องและประเด็นสำคัญของเครื่องมือที่จะใช้ในการรวบรวม EHM-Deform 30 พ.ค.2549 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review 
  
     2. ขั้นปฏิบัติการและเรียนรู้

          2.1 ค้นหาคนพิการที่มีศักยภาพฯ

               2.1.1 เวทีเสวนาฯ "คณะกรรมการฯ เฉพาะกิจ" "ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการจังหวัดพัทลุง" และทีมวิจัย ร่วมกับผู้รับผิดชอบงานของ สสอ./รพ./กศน./กศพ./ ฯลฯ และเครือข่ายคนพิการและญาติ ในแต่ละอำเภอ ประเด็น "EHM-Deform" โดยการจัดประกวดการเขียนเรียงความเรื่องเล่าถึงศักยภาพคนพิการในชุมชน 1-30 มิ.ย.2549 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม และทำ AAR: After Action Review
               2.1.2 ประชาสัมพันธ์การประกวดการเขียนเรียงความเรื่องเล่าถึงศักยภาพคนพิการในชุมชน ทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น รายการวิทยุ หนังสือเวียน ฯลฯ มิ.ย.2549 - ก.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนับและจำแนกหมวดหมู่ของสื่อและช่องทางการประชาสัมพันธ์
               2.1.3 จัดประกวดเรียงความเรื่องเล่าฯ ในระดับ Node ทุก 1 เดือน โดยคณะทำงานในแต่ละ Node มอบรางวัลแก่ผู้เล่าเรื่อง, และคนพิการเจ้าของเรื่องเล่า มิ.ย.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เรื่องเล่าจากความเรียงที่ส่งเข้ามา
               2.1.4 ประกวดเรียงความเรื่องเล่าฯ ในระดับจังหวัด ทุก 2 เดือน โดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ" "ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการจังหวัดพัทลุง" มอบรางวัลแก่ผู้เล่าเรื่อง, และคนพิการเจ้าของเรื่องเล่า ส.ค.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เรื่องเล่าจากความเรียงที่ส่งเข้ามา และบทวิเคราะห์ของคณะทำงานในระดับ Node
               2.1.5 ลงสัมภาษณ์เจาะลึกโดยนักวิจัย และ/หรือผู้รับผิดชอบประจำ Node ในกรณีที่มีข้อมูลเบื้องต้นเป็น "EHM-Deform" ส.ค.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง, บันทึกเสียง, วีดีโอ, ฯลฯ 
  
          2.2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 

               2.2.1 เขียนบันทึกเป็นเรื่องเล่า (Storytelling) ผ่านทาง Weblog "GotoKnow.org" มิ.ย.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เรื่องเล่าจากความเรียงที่ตีพิมพ์ และความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ (เสมือน)
               2.2.2 จัดทำวีดีโอในรูปแบบวีซีดี รวมเรื่องศักยภาพคนพิการ จว.พัทลุง ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เรื่องเล่าจากความเรียงที่ตีพิมพ์ และความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ (เสมือน) 
  
          2.3 แลกเปลียนเรียนรู้

               2.3.1 จัดให้มีเวทีแลกเปลี่นเรียนรู้ในระดับชุมชน โดยการนำเรื่องเล่ามาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกัน ในลักษณะสุนทรียะสนทนา มิ.ย.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review
               2.3.2 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับ Node โดยการนำเรื่องเล่ามาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกัน ในลักษณะสุนทรียะสนทนา มิ.ย.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review
               2.3.3 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับจังหวัด 6 ครั้ง โดยการนำเรื่องเล่ามาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกัน ในลักษณะสุนทรียะสนทนา มิ.ย.2549 - ส.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review 
  
     3. ขั้นสรุปประเมินผล

          3.1 จัดประชุมสัมมนาทีมงาน คณะกรรมการชมรมชุดเฉพาะกิจ และนักวิจัย/ผู้ช่วย โดยการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ในแต่ละประเด็นของการเดินเรื่อง ในแตละระดับของการขยายผล เพื่อสรุปประเมินผลโครงการใช้กรอบ CIPP Model 2 วัน ก.ย.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review, รายงานสรุปผลโครงการฯ ในภาพรวม
  
     4. ขั้นพัฒนาเป็นความต่อเนื่อง/ยั่งยืน

          4.1 ตลาดนัดแสดงศักยภาพคนพิการ จว.พัทลุง ครั้งที่ 1 โดยการจัดการประชุมประจำปี เพื่อนำเสนอศักยภาพคนพิการ และมอบรางวัลคนพิการตัวอย่างเพื่อเชิดชูเกียรติสาขาต่าง ๆ 1 ต.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review
  
          4.2 ประชุมสามัญครั้งที่ 1 ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการ จว.พัทลุง "เลือกคณะกรรมการระดับอำเภอ และจังหวัด" ได้คณะกรรมการชมรมฯ ชุดเต็มรูปแบบ,  และมีตัวแทนจากคนพิการแต่ละประเภทครบจนได้รับการรับรองเป็นสภาคนพิการทุกประเภท จว.พัทลุง 1 ต.ค.2550 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์เพิ่มเติม และทำ AAR: After Action Review, รายงานการประชุม 
  
     5. รายงานผลการวิจัย โดยการทบทวนวรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำเอกสารรายงานผลการวิจัย เม.ย.2549 - ต.ค.2550

เมนูติดตามอ่านเรื่องทั้งหมดในแต่ละตอน

EHM เครื่องมือสร้างพลังเครือข่ายคนพิการ ความเป็นมาฯ #1#2 และ #3 

กรอบคิดหลัก #1 และ #2  แผนเดินเรื่อง และ ภาคีเครือข่าย

หมายเลขบันทึก: 22066เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 02:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท