โรคความดันโลหิตสูง


ช่วงนี้ในตึกมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อย่างไรก็มาทบทวนความรู้กันนะคะ

 

โรคความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะจะเป็นตัวที่พาเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ดังนั้นทุกคนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตและรักษามันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพราะหากความดันโลหิตสูงไปจะทำให้เกิดโรคตามมาอีกมากมาย

เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้งความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัวและลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูงดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้นการจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

 ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่

เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำอะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertensionl 130-139 85-89 ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140-159 90-99 ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) >160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

Primary hypertension

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

Secondary hypertension

เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

  • โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน  hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต
  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

ความดันโลหิตสูงในเด็ก

เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม่

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

ทำไมต้องรักษาความดันโลหิตสูง

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่นทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมีผลดังนี้

  • มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า
  • มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
  • มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ประโยชน์จากการลดความดันโลหิต

พบว่าการลดความดันโลหิตจะสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 30-35% และสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ 20-25% และลดโรคหัวใจวายได้ 50 %

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์เมื่อมีโรคแทรกซ้อนแล้วเช่น ไตวาย หัวใจวายเป็นต้น การตรวจวัดความดันประจำปีจะช่วยให้เรารักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น การพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต โรคต่างๆที่พบร่วม ปัจจัยเสี่ยงต่างที่เป็นดังแสดงในตารางข้างล่าง

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

โรคร่วมต่างๆที่เป็นอยู่

การสูบบุหรี่

กล้ามเนื้อหัวใจหนา

ไขมันในเลือดสูง

เคยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคเบาหวาน

เคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ

หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ชายมากกว่า 55 ปี

หัวใจวาย

อ้วนดัชนีมวลกายมากกว่า 30

เคยเป็นอัมพาต

ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ(หญิงก่อน 65 ชายก่อน 55)

โรคไต

ความดันโลหิตสูง

หลอดเลือดขาตีบ

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย

มีการเปลี่ยนแปลงทางตา

พบไข่ขาวในปัสสาวะ  

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและโรคที่พบร่วมก็จะจัดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  • กลุ่ม A ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไม่มีโรคร่วม
  • กลุ่ม B ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อแต่ไม่มีโรคร่วม
  • กลุ่ม C ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีโรคต่างๆตามตาราง

หลังจากท่านได้จัดว่าท่านอยู่ในกลุ่มไหนแล้วก็จะมาพิจารณาว่าจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูงเมื่อใด

ความรุนแรงของความดันโลหิต (systolic/diastolic mm Hg)

ผู้ป่วยกลุ่ม A

ผู้ป่วยกลุ่ม B

ผู้ป่วยกลุ่ม C

Prehypertension

คือผู้ที่มีความดันโลหิต (120-139/85-89)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การให้ยา  +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Stage 1

(140-159/90-99)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจากปรับพฤติกรรมแล้วเป็นเวลา 1 ปีความดันไม่ลด)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจากปรับพฤติกรรมแล้วเป็นเวลา 6 เดือนแล้วความดันไม่ลด หากมีหลายปัจจัยเสี่ยงต้องรีบให้ยา)

การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Stage 2 >160/100

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา2ชนิด

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +

การให้ยา

  • จากตารางจะเห็นว่าผู้ป่วยกลุ่ม C จะเริ่มให้ยาเมื่อความดันโลหิตสูงไม่มากเพราะกลุ่ม c มีโรคอยู่หากรักษาช้าจะทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง
  • กลุ่ม B และ C หากความดันอยู่ในช่วง 140-160 ยังมีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6เดือน-1 ปี แต่ถ้าความดันมากกว่า 160 จะให้ยาเลย

แต่ต้องเน้นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยเสมอ

ยาลดความดันโลหิต

  1. Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) and angiotensin receptor blockers (ARB) ยาในกลุ่มนี้จะมีผลต่อฮอร์โมน renin-angiotensin hormonal system ผู้ป่วยร้อยละ 50-60จะตอบสนองดีต่อยาชนิดนี้ ยากลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนา (left ventricular hypertrophy)  ป้องกันไตเสื่อมในผู้ป่วยที่มีไข่ขาวในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่หัวใจวาย ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ยาในกลุ่ม ACE inhibitors ได้แก่ยา enalapril , captopril , lisinopril , benazepril , perindopril quinapril
  • ยาในกลุ่ม ARB drugs ได้แก่  losartan , irbesartan , valsartan ,  candesartan

ผลเสียของยากลุ่มนี้ได้แก่อาการไอพบได้ร้อยละ 20 เมื่อหยุดยา 1-2 สัปดาห์อาการไอจะหายไป หากมีอาการมากให้ใช้ยากลุ่ม ARB drugs แทนกลุ่ม ACE inhibitors นอกจากไอแล้วยังอาจจะทำให้ไตเสื่อมโดยเฉพาะผู้ที่ขาดน้ำ โรคหัวใจ ควรจะต้องติดตามการทำงานของไต ผู้ป่วยอาจจะมีผื่นที่ผิวหนัง ลิ้นไม่รับรส  เกลือแร่โปแตสเซียมอาจจะสูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ดีควรจะให้ยาขับปัสสาวะที่ขับเกลือโปแตสเซียม

เมื่อใช้ยากลุ่มนี้จะต้องระวังการใช้ยาชนิดไหน

ควรจะระวังการให้ยาขับปัสสาวะที่ทำให้เกลือโปแทสเซียมสูงขึ้นเช่น spironolactone ,moduretic,dyazide หรือการให้เกลือแร่โปแทสเซียม ยาแก้ปวดกลุ่มNSAID โดยเฉพาะ indocid จะทำให้ผลการลดความดันลดลง ผู้ที่เป็นโรคจิตและได้ยากลุ่ม Lithium จะทำให้เกิดเป็นพิษต่อlithium เพิ่ม สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าและได้รับยา Allopurinol อาจจะทำให้เกิดผื่นแพ้ได้ง่าย

ชื่อยา ขนาดยา( มิลิกรัม) ขนาดที่ใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
Benazepril 5,10,20,40 20-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Captopril 12.5,25,20,100 50-450/วัน วันละ 2 ครั้งถึงวันละ 3 ครั้ง
Enalapril 2.5,5,10,20 10-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Fosinopril 10,20 20-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Lisinopril 2.5,5,10,20,40 20-40/วัน วันละครั้ง
Moexipril 7.5,15 7.5-30/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Quinapril 5,10,20,40 20-80/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Ramipril 1.25,2.5,5,10 2.5-20/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Tandolepril 1,2,4 1-4/วัน วันละครั้ง
  1. Beta-blockers เป็นยาที่ปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตและชีพขจรลดลง ยานี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พบร่วมกับชีพขจรเร็ว ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกจากเส้นเลือดหัวใจตีบ และยังป้องกันปวดศีรษะจากไมเกรน ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ atenolol , propranolol ,  metoprolol ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่จะมีอาการมือเท้าเย็น ทำให้โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ซึมเศร้า ฝันร้าย อ่อนเพลีย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยากลุ่มนี้ห้ามให้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติบางชนิด นอกจากนี้ยังต้องระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  2. Diuretics ยาขับปัสสาวะเป็นตัวแรกๆที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงยานี้จะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกายโดยมากมักจะใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นยาที่นิยมใช้ได้แก่ hydrochlorthiazide , furosemide ยาขับปัสสาวะที่ทำให้โปแทสเซียมสูงเช่น Spironolactone ,Amiloride,Trimterene ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ เกลือโปแทสเซียมต่ำ ไขมันในเลือดสูง เลือดเป็นด่าง เกลือโวเดียมต่ำ
  3. Calcium channel blockers ยากลุ่มนี้จะปิดกลั้นการไหลเข้าของเกลือแคลเซียมทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวลดลง ความดันโลหิตลดลงยาในกลุ่มนี้ได้แก่  nifedipine , fellodipine  nisoldipine ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ ใจสั่น บวมหลังเท้า ท้องผูก ปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ

  เอกสารอ้างอิง http://www.siamhealth.net/Disease/heart_disease/Hypertension/index.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22057เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนนี้คุณแม่ป่วยเป็นอัมพาตด้านซ้าย แต่กำลังทำกายภาพอยู่ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับรสอาหารของลิ้นจึงอยากปรึกษา เพื่อช่วยเหลือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท