พยาบาลกับการระบุตัวผู้ป่วบ


มีสิ่งระบุตัวผู้ป่วย 2 สิ่งคือ ชื่อสกุล ป้ายข้อผู้ป่วย และ/รูปถ่าย

   การระบุตัวผู้ป่วย (Patient  Identification) เป็นการบอก หรือยืนยันว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยจริง ซึ่งเป้าหมายของการระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง เป็นการเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้ป่วยในกระบวนการดูแลรักษา โดยมีจุดเน้นเหมือนกับการที่พยาบาลเคยถูกสั่งสอน และสั่งสมประสบการณ์มาว่า ในเรื่องของการให้ยา  ให้เลือด  เก็บสิ่งส่งตรวจ และการระบุตัวทารก ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งว่าต้องเป็นตัวผู้ป่วยจริง  ซึ่งตรงประเด็นกับสิ่งที่พรพ. เน้นพวกเราในปี 2549 นี้ ทั้งนี้ หากพยาบาลมีความรอบคอบ ความผิดพลาด ต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น การส่งตัวทารกผิดครอบครัว  การให้ยาผิด  การให้เลือดผิดคน เป็นต้น ดังนั้นหากพยาบาลมีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกัน คือ 

         1. ใช้สิ่งระบุตัวผู้ปวยอย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป คือ ชื่อ - นามสกุล กับป้ายชื่อที่ข้อมือผู้ป่วย หรือเปรียบเทียบกับรูปถ่าย เป็นต้น

        2. ใช้ระบบทวนซ้ำ  ตรวจสอบซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Double  Check) ก่อนการให้การดูแลรักษาพยาบาล

    ทั้งนี้หากพยาบาลหรือบุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติตามแนวทางที่ให้ไว้ ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ยอดเยี่ยม และลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22013เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอ่อ...โรงพยาบาลที่ไปใช้บริการระบุตัวคนไข้จากเบอร์เตียงที่นอนค่ะ

คุณหมอ "ขอช่วยส่งคุณ....ไปตรวจ.....ด้วยนะคะ"

คุณพยาบาล "คนไข้เตียงอะไรหมอ"

ญาติคนไข้ T_T (คิดในใจ เออ ญาติเราเปลี่ยนชื่อเป็นเบอร์เตียงไปซะแล้ว)

อ่านะ..ต้องเข้าใจว่าเบอร์เตียงก็ช่วยระบุตัวผู้ป่วยเหมือนกัน..อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท