เทคนิคการคุมเค็ม


หากคุณรู้ตัวว่าปกติทานเค็มมากหรือจากการที่มีคนบอก ก็ให้เริ่มดูแลเรื่องเค็มได้แล้วค่ะแม้ว่าสุขภาพปกติก็ตาม เกลือเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการน้อยๆแต่ต้องการประจำวันละ 1 ช้อนชา (6 กรัม)

          ฉบับที่แล้วเราคุยกันว่ากินหวานมากเกินไปนานเข้าอาจเป็นเบาหวาน แต่ถ้าลดหวานมากเกินสมดุลย์ขอร่างกายก็พบอาการ Hypoglycemiaได้ แล้วจะให้กินกันอย่างไรดูมันเป็นเรื่องซับซ้อน ยุ่งยากจนรู้สึกเบื่อที่จะเรียนรู้วิธีเลือกนำอาหารเข้าปากให้ถูกทั้งชนิดและปริมาณแล้วยังต้องเหมาะสมกับสภาวะร่างกายอีกจึงจะเกิดผลดีต่อสุขภาพ

          ดิฉันเองก็เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันค่ะ  แต่พอได้ค่อยๆยอมเปิดใจและทำความเข้าใจเรียนรู้ทีละน้อยจากตำราและได้คำชี้แนะจากทีมนักกำหนดอาหารเพื่อ confirm ว่าเราเข้าใจถูกต้องยิ่งทำให้เราเริ่มรู้สึกว่าไม่ยากหรอกค่ะ    จึงอยากบอกว่าแค่คุณเริ่มเรียนรู้ง่ายๆ ในเรื่องการมองรูปแบบของอาหารแต่ละประเภทให้ออก     ซึ่งก่อนอื่นอยากให้พวกเรารู้จักคำ 2 คำนี้ก่อนค่ะ

          อาหาร ( Food ) หมายถึง อาหารที่ผ่านปากลงสู่กระเพาะอาหารทุกชนิดอาจให้ทั้งประโยชน์และโทษได้

         โภชนาการ ( Nutrition ) หมายถึง อาหารที่ทานแล้วให้ประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเป็นยารักษาโรคภัยได้

          ซึ่งคนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่อายุมากประสาทการรับรสก็เสื่อมตามวัยทำให้ทานรสจัดขึ้นด้วยพอนานวันเข้าไตก็เสื่อมตามและจะยิ่งเป็นอันตรายสูงขึ้นอีกถ้าเป็นคนที่ชอบรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม การทานรสนี้ประจำเป็นการปลูกฝังนิสัยที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการรับรส   เพราะต้องเพิ่มให้จัดมากขึ้นเรื่อยๆ   ซึ่งไม่ว่าคุณจะติดรสใดมากก็มักจะเป็นแบบนี้เหมือนกัน  มีแนวโน้มทำให้ร่างกายต้องพยายามขับทิ้งผ่านทางไตทำให้ไตต้องทำงานหนักมาก  ส่งผลให้เกิด HT โรคหลอดเลือด โรคไต โรคหัวใจ ตามมาเป็นเพื่อนสนิทสนมกับคุณ  และถ้าคุณยังทานเค็มแบบเดิมขณะที่ไตเสื่อมลง  จะทำให้คุณอยากน้ำเพิ่มขึ้น   อาจพบอาการบวมน้ำตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพราะไตกรองได้น้อยลง    หากคุณรู้ตัวว่าปกติทานเค็มมากหรือจากการที่มีคนบอก    ก็ให้เริ่มดูแลเรื่องเค็มได้แล้วค่ะแม้ว่าสุขภาพปกติก็ตาม เกลือเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการน้อยๆแต่ต้องการประจำวันละ 1 ช้อนชา (6 กรัม)      

 เรามีเทคนิคการคุมเค็มแบบง่ายๆมาแนะนำค่ะ

            1. เลือกทานอาหารที่ปรุงสดๆ จากธรรมชาติ เลี่ยงอาหารแปรรูป ซึ่งมักมีความเค็มซ่อนอยู่ ได้แก่

                -  เลี่ยงของสดที่ทำให้แห้ง เพื่อถนอมให้เก็บได้นาน เช่น ปลาเค็ม หมูเค็ม ไข่เค็ม เนื้อเค็ม (Na = 1-4 กรัม/100 กรัม) 

                -  เลี่ยงอาหารบรรจุภัณฑ์ เช่นอาหารกระป๋อง ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ปลาเจ่า พวกนี้มี Na สูงถึง 10-23 กรัม/100 กรัม

                -  เลี่ยงขนมขบเคี้ยว อาหารสำเร็จรูปของเด็ก มักแฝงเค็มอยู่ด้วย ซึ่งจะสร้างนิสัยให้เด็กติด

           2. ระวังเรื่องการปรุงรสเค็ม เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้งให้เปลี่ยนมาเป็นกินก๋วยเตี๋ยวน้ำแล้วเปลี่ยนจากเติมน้ำปลาเป็นพริกไทยแทน

           3. พยายามลดปริมาณเค็มมากกว่าปกติให้มาอยู่ปริมาณปกติ คือ 1 ช้อนชา (6 กรัม) / วัน

           4. ถ้ายังลดได้น้อยมากให้ดื่มน้ำให้ได้วันละ 6-10 แก้ว

           5. การพักผ่อนให้เพียงพอจะทำให้ได้พัก เพราะร่างกายลดการใช้พลังงาน ของเสียก็เกิดน้อย ไตกรองน้อยลง

           6. ระวังสารพิษที่มีผลเสียต่อร่างกาย เช่นบุหรี่ เหล้า

             "อย่าลืมว่าโภชนาการที่ดี ในปริมาณที่ถูกต้องจะดีกับสุขภาพที่สุดค่ะ"

 ยุวดี     มหาชัยราชัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21990เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท