ปัญหาและแนวทางการช่วยเหลือของครอบครัวผู้ติดยาเสพติด


   ผลจากการทบทวนการบันทึกเวชระเบียนเกี่ยวกับการให้บริการปรึกษาครอบครัวผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอก  นอกจากพบว่าการบันทึกไม่สมบูรณ์แล้ว จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าปัญหาของครอบครัวผู้ติดยาเสพติดที่ควรได้รับการแก้ไขมีดังต่อไปนี้

1.เกิดความทุกข์และรู้สึกโกรธที่รู้ว่าลูกตนเองใช้ยาเสพติด

2.เกิดความไม่เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปขณะใช้ยาเสพติด

3.ขาดความไว้วางใจ เกิดความหวาดระแวง

4. เกิดความขัดแย้งระหว่างแม่กับหรือพ่อกับลูก

5. รู้สึกเสียใจที่ลูมีการเสพซ้ำ

6. เกดความท้อแท้ รู้สึกเบื่อหน่าย สุขภาพตนเองแย่ลง

7. แสดงพฤติกรรมหรือมีแนวคิดที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ข้อต่อรองกับลูกในการเลิกยาหรือยังให้เงินมาก ตามใจมาก

8. ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการฟื้นฟูที่ต้องใช้ระยะเวลานาน

9. ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการติดยาและการเลิกยา,แนวทางในการช่วยเหลือในการที่จะทำให้ลูกสามารถเลิกยาได้

10.ญาติรู้สึกผิดที่มีส่วนทำให้ผู้ป่วยใช้ยาเสพติด

11.ญาติทอดทิ้ง ขาดการดูแลผู้ป่วย

12. มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและญาติ

13. ญาติต้องการให้เป็นผู้ป่วยในแต่ผู้ป่วยปฏิเสธ

   นอกเหนือจาการให้บริการปรึกษาตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคลเพื่อให้ปัญหาได้รับการตอบสนองอย่างครบถ้วน ทางทีมงานศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกและทีมสหวิชาชีพร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยโปรแกรมการให้บริการปรึกษาครอบครัวผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกโดยมีวัตถุประสงค์เอสร้างและศึกษาโปรแกรมให้บริการปรึกษาครอบครัว ผลิตสื่อสำเร็จรูปในการสร้างความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะการปฏิบัติของครอบครัวผลถึงเจตคติที่ดีต่อผู้ติดยาเสพติด ครอบครัวเกิดการยอมรับ กลับมาให้กำลังใจเป็นแรงสนับสนุนของครอบครัว สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งของครอบครัวและตัวผู้ป่วย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21977เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อาร์มรักแม่ ภูมิใจในตัวแม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท