ศิลปะการนำเสนอเพื่อครองใจผู้ฟัง


Effective Presentation

ศิลปะการนำเสนอเพื่อครองใจผู้ฟัง

ในภาวะปกติ คนทั่วไปมักจะรู้สึกประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าผู้ฟังจำนวนมาก และมักจะมีคำถามมากมายสำหรับผู้ที่จะต้องออกไปนำเสนอ(Present) เช่น จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะวางท่าอย่างไรให้เหมาะสม จะจบอย่างไรให้สวย เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งถ้าเรามีความพร้อมทุกอย่างก็คงจะง่ายและคงผ่านไปได้ด้วยดี อะไรล่ะคือความพร้อม..... มันง่ายหรือยากกันแน่ ลองตามกันมาดูว่ารูปแบบการนำเสนอที่ดี เขาว่ากันอย่างไร ?

-การนำเสนอ หมายถึง กระบวนการถ่ายถอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด  ให้ผู้ฟังเชื่อและเกิดความเข้าใจในระยะเวลาจำกัด

-เมื่อผู้นำเสนอได้นำเสนออย่างชัดเจน ผู้ฟังก็จะมีความเข้าใจ เกิดความเชื่อถือ อันนำไปสู่การคล้อยตาม  และให้การสนับสนุนในที่สุด  ดังนั้นในการนำเสนอเรื่องใดๆ ในแต่ละครั้ง  ผู้นำเสนอจะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

-การควบคุมตนเอง

-การควบคุมผู้ฟัง

-การควบคุมโครงเรื่อง

-การควบคุมตนเอง(Speaker Control) ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ดังนี้

       การปรากฎตัว (Presence)

1.   การแต่งกาย เหมาะสมกับโอกาส  สถานที่  ถูกกาลเทศะ

2.   การวางตัว  เหมาะสมกับบุคคลที่พบ ทั้งการเดิน(ขึ้น/ลงจากเวที) การนั่ง(หลังตรง วางข้อมือบนโต๊ะ  เครื่อนไหวเมื่อจำเป็นและการยืน (วางเท้าเป็นรูปตัววี พร้อมจะเคลื่อนไหว)

3.   การใช้โสดทัศนูปกรณ์ ตรวจสอบก่อนเริ่มใช้ เพื่อเตรียมความพร้อม

       ท่าทีที่มั่นใจ  (Poise)

          ท่านกำลังจะขายความคิดอะไร

-        เพื่อการจูงใจ/โน้มน้าว

-        เพื่อการเสนอข้อคิด

-        เพื่อการเสนอขออนุมัติ

ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม  สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ

      เตรียมจุดเริ่มต้นและสรุปท้ายให้พร้อม

      -ทักทาย

      -แนะนำตัว

      -รู้สึกเป็นเกียรติและยินดี

      -หวังเป็นอย่างยิ่งว่า.........

      -มีความมั่นใจว่า.......

      -ถ่อมตัว ไม่พูดก้าวร้าว ไม่โอ้อวด

      -มีอารมณ์ขัน

      -ใช้ภาษาพูด

เสียง จังหวะการพูด

-เสียง/ ระดับเสียง ชัดเจน ควบคุมพลังเสียง

-ตัดคำไม่จำเป็น (เอ้อ.....   อ้า....) คำกำกวม หยาบคาย ทิ้ง

-อย่าค่อนแคะ ทับถมผู้อื่น

-รักษาเวลา (พอดี หรือหด / ขยาย เมื่อจำเป็น

อาการตื่นเต้น

-มักจะแสดงอาการคอแห้ง หายใจไม่สะดวก ตาลาย ความคิดสับสน ลืมเนื้อเรื่อง มือและเสียงสั่น สามารถแก้ไขได้โดย

1.ซักซ้อมก่อนขึ้นเวที

2.ห้ามนำเวทีจริงมาเป็นการซักซ้อมใหญ่

3.เมื่อขึ้นเวทีแล้วให้ทำเหมือนครั้งที่ซักซ้อมดีทีสุดก็เพียงพอ

การเคลื่อนไหว ท่าทาง

-ควบคุมการวางเท้าอย่างมีสติ

-ใช้ท่าทางประกอบคำพูด ให้เกิดความสอดคล้องในการเคลื่อนไหว

-ดึงดูดความสนใจ ให้สายตามีหน้าที่ติดต่อและควบคุมผู้ฟัง

อย่างไรก็ตาม การควบคุมตนเองจะมีพลังได้จะต้องมีความน่าเชื่อถือ ปัจจัยในการสร้างความน่าเชื่อถือ คือ หลักฐานอ้างอิงที่สำคัญ ประกอบด้วย

-ประสบการณ์ส่วนบุคคล

-การเสนอทางเลือก แนวทางการเปรียบเทียบ

-ข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

-ตัวอย่างที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจหรือมีความรู้เกี่ยวข้อง

-สถิติและข้อมูล

การควบคุมผู้ฟัง(Audience Control)

-ให้เกียรติผู้ฟัง

-พยายามสบตาผู้ฟังทุกคน เพื่อสร้างความสนใจตลอดระยะเวลาที่นำเสนอ

-ใช้ภาษาง่าย ๆ

-รู้พื้นฐานผู้ฟัง อาชีพ เพศ ความรู้ ฯลฯ

-รู้ความต้องการของผู้ฟัง

การควบคุมโครงเรือง(Material Control) มีหลัก 3 ขั้นตอน ดังนี้

-การจัดทำโครงเรื่อง จะต้องเตรียมบทสรุปก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้(ทำแล้วจะได้อะไร อย่างไร) จากนั้นจึงเตรียมเนื้อเรื่องและบทนำ ประกอบด้วย

-บทนำ        10 – 15 %

-เนื้อเรือง    70 – 80 %

-สรุป           10 – 15 %

หลักการทำ short note ต้องมีความเข้าใจในเรื่องที่จะนำเสนอให้มากที่สุด เรียงลำดับความสำคัญของหัวข้อให้ต่อเนื่อง มีการกำหนดหัวข้อย่อยไว้ในหัวข้อใหญ่ เพื่อช่วยในการขยายความ

โครงสร้างการนำเสนอ  ประกอบด้วย

-สถานการณ์ เวลาจะทำอะไรต้องมองสถานการณ์ก่อน

-ปัญหา  ดูว่าสิ่งที่เห็นมีปัญหาอะไร

-แนวทางการแก้ไข  ต้องนำหลักฐานอ้างอิงมาประกอบการนำเสนอ เพื่อความน่าเชื่อถือ ตอนท้ายสุด  ต้องนำเสนอ ประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรมด้วย

-ผลที่ได้รับ ต้องมีลักษณะเป็นนามธรรม ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ  ผู้ฟัง  ครอบครัว  องค์กร  สังคม  ประเทศชาติ

หลักการที่นำเสนอดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นเพียงพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำการนำเสนอ เท่านั้น  จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อ่านได้ก็ต่อเมื่อได้มีการไปปฎิบัติ ปรับปรุงให้สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องนำเสนอและบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ

                      จากสรุปการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร  หัวข้าเรื่อง   ศิลปะการนำเสนอเพื่อครองใจผู้ฟัง

 

 

 

 

               

หมายเลขบันทึก: 219257เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ

ขอบคุณที่นำมาให้อ่านจดจำและนำไปใช้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

***ขอขอบคุณและขอชื่นชม

***เป็นสิ่งที่นำไปใช้พัฒนาตนเองได้ดีค่ะ

ดีมากครับ โอกาสหน้าหาตัวอย่างให้ดูกันบ้าง

ขอบคุณค่ะ ครูอ้อยที่แวะมาอ่าน พิมพ์อยู่หลายวันมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณกิติยา ดีใจค่ะที่เป็นประโยชน์

ขอบคุณค่ะ คุณชนะที่แวะมาอ่าน เรื่องนี้ต้องนำแนวทางที่เสนอไปฝึกปฎิบัติอ่ะ

คุณBob ไม่ยอมอ่าน Blog วิชาการเลยนะ อุดซ่านั่งพิมพ์มาตั้งหลายวัน

สวัสดีครับน้าตุ๊ก Bob รายงานตัวในบล็อกวิชาการครับผม ขอสารภาพว่า ไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านบล็อกนี้เท่าไหร่ครับ เพราะว่ารู้สึกว่าต้องเป็นคนชำนาญเฉพาะเรื่องนั้นเท่านั้นที่จะแสดงความคิดเห็นได้ แต่พอมาเปิดเจอเรื่องนี้เข้า เห็นว่าน่าสนใจดี เลยอ่านดูครับ

ดีมากๆ เลยครับน้าตุ๊กครับ เรื่องนี้ "ศิลปะการนำเสนอเพื่อครองใจผู้ฟัง" เพราะการพูดให้คนหลายๆ คนฟังนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นะครับ ถ้าไม่มีศิลปะในการพูด ไม่มีการจูงใจด้วยอวัจนะภาษาแล้วล่ะก็ บอกได้คำเดียวว่า ตายครับ แค่ไม่มีใครสนใจฟังในเรื่องที่เรานำเสนอเราก็แย่แล้ว หน้าแตกหมอไม่รับเย็บแน่ๆ ครับ ตอนอั๋นเรียน ม.ปลายก็มีวิชาการพูดในที่ประชุมชน ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าจะเรียนตอน ม.๖ ครับ อาจารย์ท่านก็สอนอย่างนี้แหละครับ แต่ไม่ละเอียดเท่า เพราะมันเป็นการเรียนขั้นพื้นฐาน แล้วก็ให้ออกมาพูดหน้าชั้นทีละคน คนละ ๕ นาที เรื่องอะไรก็ได้ครับ ที่ตนเองถนัด เป็นการให้ฝึกตนเองโดยที่อาจารย์ก็จะแนะนำติงเตือนในข้อบกพร่องหลังจากที่แต่ละคนพูดจบ เพื่อให้ได้กลับไปฝึกตนเองตามคำแนะนำของอาจารย์ครับ พอมานั่งอ่านเรื่องนี้ เชื่อมั้ยครับว่า ภาพบรรยากาศสมัยเรียนตอนนั้นมันผุดขึ้นมาเลยครับ

ตอนที่น้าตุ๊กอบรมหลักสูตรนักบริหาร ก็มีวิชา Presentation สอนทฤษฎี แล้วก็ฝึกพูดบนเวที  แต่ต้องจับสลากว่าเราจะได้เรื่องอะไร แล้วไปทำการบ้าน พูดคนละ 15 นาที น้าตุ๊กเกือบจะจับได้เรื่อง พูดเรื่องตลก มีพวกพี่ ๆ เค้าอาสาว่าถ้าน้าตุ๊กได้เรืองพูดเรื่องตลกจะแลกให้  เค้าดูแล้วน้าตุ๊กคงตลกไม่ออกแน่ ๆ

สวัสดีครับน้าตุ๊ก น้าตุ๊กครับ ตอนนั้นมีสอบพูดหน้าชั้นด้วยนะครับ คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน และข้อเขียนอีก ๑๐ คะแนน รวมเป็น ๒๐ อั๋นได้เต็มครับ คะแนนพูดได้เต็ม แต่คะแนนข้อเขียนได้ ๙ ครึ่ง อาจารย์ท่านปัดให้เป้น ๑๐ เต็ม เพื่อนๆ ผู้ชายมันว่ากันใหญ่เลยครับ แหะ แหะ

ต้องขอบคุณคุณต๊กมากที่มีงานวิชาการที่ดีในการพัฒนาคน โดยเฉพาะคนในองค์กรให้เกิดความมั่นใจในการพูด และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการพูด "ศิลปะการพูดเพื่อครองใจผู้ฟัง"เป็น เรื่องที่หลายๆคนสนใจ

ขอบคุณ คุณตุ๊กที่นำเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟัง

ขอบคุณค่ะ คุณSarunya ดีใจนะค่ะที่เป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนค่ะ

ขอให้มีความสุขนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

พูดดีเป็นศีรแก่ปาก พูดมากปากมีสี หากพูดมากๆแล้วมันดี ปากเป็นศรีเพิ่มเสน่ห์เท่นักเอย....ชอบค่ะ ได้ความรู้ดีด้วย ขอบคุณนะคะ

สวัสดี ครับ คุณ P  tukky

 

เป็นบันทึก ที่สรุปประเด็น สาระ ได้ ชัดเจน ลงตัว ง่ายต่อการอ่าน

ทำความเข้าใจ และรำไปปฏิบัติ ครับ

ที่ผ่านมา ผมยังคงต้องปรับในหลาย ๆ สิ่ง เพราะ เวลาอยู่บนเวทีเนี่ย

ความเคอะเขิน....และการร้างเวทีไปนาน ๆ ทำให้เราลืมบางอย่างไป

บันทึกนี้....ช่วยเตือนได้มาก ครับ

ขอบคุณ ครับ

ด้วยความระลึกถึง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท