การจัดการความรู้ กับการศึกษา


การศึกษากับการจัดการความรู้ เป็นรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกัน ช่วยแก้จุดอ่อนของกันและกัน การศึกษาช่วยให้การจัดการความรู้มีระดับของความลุ่มลึกเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงได้กว้างขวางขึ้น และการจัดการความรู้ช่วยทำให้สามารถนำเอาความรู้ในคนออกมาใช้งานและยกระดับการเรียนรู้ได้สูงขึ้น
การจัดการความรู้ กับการศึกษา     
วิจารณ์   พานิช
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
          การจัดการความรู้เป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” กับการศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคนละ
หน้าของเหรียญเดียวกัน เพราะต่างก็เป็นเรื่องของ “การเรียนรู้” ของมนุษย์ แต่การศึกษากับการ
จัดการความรู้แตกต่างกันใน 3 ประเด็นใหญ่ ๆ ดังนี้
ความแตกต่างระหว่างการศึกษากับการจัดการความรู้

ประเด็น
การศึกษา
การจัดการความรู้
1. เน้นหนักความรู้ ชนิด :     
ความรู้ในกระดาษ     
ความรู้ในคน     
2. ความสัมพันธ์กับคน     
เน้นการเรียนรู้ของปัจเจก     
เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม     
3.ความสัมพันธ์กับงานและ
การดำรงชีวิต
มักแยกตัวออกจากงานและ
การดำรงชีวิต
ผูกพันอยู่กับงานและการ
ดำรงชีวิต
        นั่นคือ ทั้งการศึกษา และการจัดการความรู้ เป็นเรื่องของการเรียนรู้เหมือนกัน  แต่การศึกษา
ได้พัฒนาระบบมาก่อน อย่างน้อยก็ 2-3 พันปี ตั้งแต่สมัยอารยธรรมกรีก และมาเป็นระบบมากขึ้น
เมื่อเกิดเทคนิคการพิมพ์เมื่อ 500 ปีก่อน แต่การจัดการความรู้เพิ่งพัฒนาระบบขึ้นมาเมื่อประมาณ
15 ปีมานี้เอง ความแตกต่างที่สำคัญยิ่งระหว่าง 2 หน้าของเหรียญเดียวกันนี้ ก็คือ ยิ่งระบบการ
ศึกษายิ่งพัฒนาขึ้นเพียงใด การศึกษาก็ยิ่งแยกตัวออกจากงานและแยกตัวออกจากชีวิตจริง และ
ยิ่งศึกษาขั้นสูงขึ้นไปก็ยิ่งเรียนรู้เชิงนามธรรมยิ่งขึ้น จุดอ่อนนี้เองน่าจะเป็นต้นเหตุให้อีกหน้าหนึ่ง
ของเหรียญ คือการจัดการความรู้ได้รับการจัดระบบขึ้นเป็นศาสตร์หรือเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้
ขึ้นใหม่ เป็นการเรียนรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงานและชีวิตจริง และเป็นการเรียนรู้จากรูปธรรมการปฏิบัติ
จริงชีวิตจริง
ความสำเร็จของการศึกษา ในลักษณะที่เป็นความสำเร็จสูงส่ง คือ การสอบได้ที่ 1 หรือได้
ตำแหน่งสูงในชั้น การศึกษาจึงเน้นการแข่งขันมากกว่าความร่วมมือ การเรียนรู้ในระบบการศึกษา
จึงเน้นการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล ค่อนข้างขาดพลังของการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน
ร่วมกัน ซึ่งประเด็นนี้เป็นจุดเน้นของการจัดการความรู้ และมีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ มากมาย
ทั้งที่เป็นเครื่องมือเชิงสังคมศาสตร์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นใช้ในการจัดการ
ความรู้
เมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์เกิดขึ้นและก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ การศึกษาก็ยิ่งผูกพันอยู่กับ
“ความรู้ในกระดาษ” มากขึ้น ยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าอย่างในปัจจุบัน ความรู้ในกระดาษ
ก็ปรับไปเป็นความรู้ในรหัสอิเล็กทรอนิกส์ เป็นความรู้ที่สื่อสารแลกเปลี่ยนกันได้อย่างง่ายดาย
ที่เรียกว่า explicit knowledge หรือ codified knowledge การศึกษาในระบบก็ยิ่งผูกพัน
กับความรู้ตระกูล “ความรู้ในกระดาษ” จนละเลยหรือลืมความรู้อีกตระกูลหนึ่งคือ “ความรู้ในคน”
คืออยู่ใน หัว (สมอง ความคิด), ใจ(หัวใจ ความเชื่อ ค่านิยม), และมือ(ทักษะในการปฏิบัติ) ความรู้
เหล่านี้แลกเปลี่ยนถ่ายทอดได้ยาก การจัดการความรู้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เน้น
“ความรู้ในคน” เหล่านี้ แต่ก็ไม่ละเลยความรู้ในกระดาษ และจริงๆ แล้วต้องหมุน “เกลียวความรู้”
(knowledge spiral) ให้ความรู้ 2 ชนิดนี้ถ่ายกันไปถ่ายกันมาและเกิดการยกระดับความรู้
สรุปว่าการศึกษากับการจัดการความรู้ เป็นรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมเติมเต็มซึ่งกัน
และกัน ช่วยแก้จุดอ่อนของกันและกัน
การศึกษาช่วยให้การจัดการความรู้มีระดับของความลุ่มลึกเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงได้กว้างขวางขึ้น
และการจัดการความรู้ช่วยทำให้สามารถนำเอาความรู้ในคนออกมาใช้งานและยกระดับการเรียนรู้ได้
สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยลดปัญหา “การศึกษาเพื่อคนส่วนน้อย” และปัญหาการตราคนส่วนใหญ่
ว่าเป็น “ผู้ไม่มีความรู้” ได้ เพราะภายใต้หลักการของการจัดการความรู้ทุกคนที่ทำงานหรือดำรง
ชีวิตต่างก็มีความรู้ตระกูล “ความรู้ในคน” ทุกคน
การจัดการความรู้จึงน่าจะช่วยลดท่าทีกดขี่ของการศึกษาลงได้บ้างและช่วยเติมเต็มปัญญา
ของมนุษย์ จากมุ่งเพียงปัญญาเชิงทฤษฎี ให้นำปัญญาจากการปฏิบัติมาใช้ประโยชน์ด้วย
 
อ้างอิงจากเว็บไซต์ http://www.kmi.or.th/document/KM_Kcreation_HSRI.doc     
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21892เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท