เจ้าหน้าที่ตึกเพชร
พี่เอี้ยงตึกเพ็ชร นางพยาบาล และ บุรุษพยาบาล

การช่วยเหลือผู้ป่วยได้รับสารพิษ


 ขณะผู้ป่วยรู้สึกตัว
         5.1 ประเมินสภาพผู้ป่วย ซักประวัติการได้รับสารพิษ จำนวน ระยะเวลาที่ได้รับ
              5.2วัดสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัวและการเปลี่ยนแปลง
              5.3ให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ
              5.4 ล้างกระเพาะอาหารโดยใช้สายยางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ที่สุด และใช้น้ำสะอาดปริมาณไม่จำกัด ล้างจนกว่าน้ำทีล้างปราศจากสีและกลิ่นของสารพิษ
              (ถ้าเป็นพิษจากพาราควอท ใช้น้ำละลายดินเหนียวหรือน้ำโคลนหรือเบนโทไนท์ ให้ผู้ป่วยดื่มเข้าไปจนอาเจียน แล้วจึงล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำละลายดินเหนียวที่เจือจางต่อไป)
              5.5 ถ้าได้รับสารพิษทางผิวหนังให้ถอดเสื้อผ้าแล้วเช็ดตัวให้สะอาดโดยเร็ว เช่น
ยาฆ่าแมลง สารพิษปราบวัชพืชพวก พาราควอท
         5.6 พูดคุยเพื่อลดความวิตกกังวล
           5.7ติดต่อญาติเพื่อรับทราบและวางแผนการรักษาร่วมกันต่อไป
           5.8 บันทึกอาการเปลี่ยนแปลง

ขณะผู้ป่วยหมดสติ
            5.9 ระวังการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหยุดหายใจได้
            5.10 วัดสัญญาณชีพระดับความรู้สึกและอาการเปลี่ยนแปลง

ภาวะพิษจากการได้สารพิษต่างๆ
ภาวะพิษออร์กะโนฟอสเฟตหรือพาราไธออน
    อาการและอาการแสดง
·       รูม่านตาขยาย ชีพจรอาจเร็ว อีกไม่นานรูม่านตาจะหด ชีพจรช้าลง
·       เหงื่อและน้ำลายออกมาก
·       คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
·       ซึม หมดสติ หยุดหายใจและตายได้
 ภาวะพิษพาราควอท
อาการและอาการแสดง
·       ทำลายผนังเซลเป็นแผล เซลของอวัยวะถูกทำลายที่สำคัญได้แก่ ไต ปอด และตับ
ภาวะพิษParacetamal
      อาการและอาการแสดง
·       ผู้ป่วยที่ได้รับยา Paracetamal ในขนาดมากเกินไป จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างต่อเนื่องในวันแรก ไม่มีอาการรุนแรงร่วมด้วย
·       บางรายจะมีอาการไม่มากในระยะแรกเมื่อล้างกระเพาะอาหารแล้วแพทย์ให้กลับบ้านจะดีเกือบเป็นปกติดอยู่ระยะหนึ่ง หลัง 48 ชั่วโมงต่อมาจะมีคลื่นไส้อาเจีย
·       ตัวและตาเหลืองเกิดตับวายเป็นสาเหตุของการตาย
ข้อควรระวัง
1.ไม่ล้างกระเพาะอาหารในรายที่กินกรดหรือด้างอย่างแรง โดยเฉพาะหลังจากกินไปแล้วนานเกิน ครึ่งชั่วโมง เพราะอาจทำให้ทางเดินอาหารทะลุจากการใส่สายยางเข้าไป
2. ไม่ล้างกระเพาะอาหาร (หรือถ้าล้างต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยสำลัก) ในกรณีที่ผู้ป่วยกินสารพิษประเภทตัวทำละลาย ทินเนอร์ น้ำมันการ์ด น้ำมันเบนซิน เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบของปอดอย่างรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต
3.การล้างกระเพาะอาหารจะได้ผลดีต้องกระทำโดยเร็วหรืออย่างช้าไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง ยกเว้นพวกSalicylateอาจได้ผลถ้ากระทำภายใน 10 ชั่วโมง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21877เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้มาตรฐานในการล้างกระเพาะอาหารคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท