มาแล้วหลักสูตรแกนกลาง ฉบับปรับปรุง 2553


เรื่องนี้มาแรง แซงบันทึกเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นที่ยังเขียนค้างไว้

จากการเข้ามาติดตามบันทึกของ อ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ P เมื่อ พ. 22 ต.ค. 2551 @ 01:21 ทำให้ทราบว่า เค้าจะมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 (เล่มสีเขียวๆ) โดยจะนำร่องในโรงเรียน 555 แห่งทั่วประเทศ ในปี 2553 เลยหาอ่านข้อมูลจากข่าวบ้าง เว๊บไซต์ และกระทู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ พบเอกสารอยู่ 2 ไฟล์ เป็นข้อเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรเดิมกับหลักสูตรที่จะปรับปรุงขึ้นใหม่ อ่านแล้วน่าตกใจ สุดท้ายเขียนทำนองว่า "มีการปรับแนวทางการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่อิงมาตรฐาน (เน้น backward design)"

น่าคิด :::: ได้มีการทำวิจัย หรือศึกษาผลการนำกระบวนการแบบ backward design เข้าสู่โรงเรียนกันมากน้อยเพียงใด จะศึกษาในปัจจัยหรือประเด็นใดบ้าง ผลเป็นอย่างไร ถึงได้ออกมาเป็นแนวบังคับใช้ หรือจะพูดให้เพราะก็คือ ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนนี้กับการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาทั่วประเทศ QQ

ท่านผู้รู้ท่านใดมีข้อมูลขอความเมตตา กรุณา (มุทิตา อุเบกขา) เพิ่มเติมข้อความรู้ให้ด้วยเทอญ จักเป็นการทำทานบารมีอย่างยิ่งยวด

หมายเลขบันทึก: 218471เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2008 02:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เพิ่มเติมค่ะ ข้อมูลนี้พบจาก blog ของ ครูอภิชัย Pโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1

ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันนะคะ

http://gotoknow.org/blog/oodapichai/193909?class=yuimenuitemlabel

 

มาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน ใช้มาแล้ว 10ปี อาจจะตกรุ่น ตกสมัยแล้ว

สสวท กำลังปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรอิงมาตรฐานใหม่ ของ สาระวิทย์ คณิต คอมพิวเตอร์ใหม่ และกำลังนำออกมาใช้อีก คงไม่นาน

ขอพระคุณ P ว่าที่ พ.ต. ณัฏฐพล ตันมิ่ง  ค่ะ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรที่ปรับปรุง

สำหรับวิทย์ คณิต คอมพิวเตอร์ พวกวิทยาการใหม่ๆ เห็นด้วยที่ปรับปรุงค่ะ ทุกอย่างมันก้าวไปเร็วจนคนบ้านเราตามไม่ทัน ไม่ใช่ตามไม่ทันเทคโนโลยีนะคะ แต่ตามไม่ทันความคิด กระบวนการ และการมองภาพอนาคตอย่างที่คนคิด เค้ามองค่ะ เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะปรับปรุง ขอให้ดีกว่าเดิม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คล่องตัวมากยิ่งขึ้น จะได้เป็นประโยชน์กับนักเรียนจริง ค่ะ

อยากเห็นหลักสูตร ที่ สสวท. จะนำออกมาให้ยลโฉมเร็วค่ะ

สวัสดีค่ะ

ศึกษาผลการนำกระบวนการแบบ backward design เข้าสู่โรงเรียนกันมากน้อยเพียงใด จะศึกษาในปัจจัยหรือประเด็นใดบ้าง ผลเป็นอย่างไร ถึงได้ออกมาเป็นแนวบังคับใช้

ตอนนี้กำลังเขียนรายงานการใช้แผนการเรียนรู้โดยกระบวนการ Backward Design ภาษาอังกฤษ ชั้น ม.1 จำนวน 3 หน่วย (ภาคเรียนที่ 1/2551) ค่ะ

ครูที่โรงเรียนครูคิม  ...ฝึกออกแบบการเรียนรู้ด้วยกระบวนการBackward Design  ทุกคนค่ะ

  • ครูอ้อย ออกแบบ BD มา 1 ปีการศึกษาแล้วค่ะ  รู้สึกว่าจะเป็นรุ่นแรกของการอบรม  BD ในประเทศไทย
  • ได้เกียรติบัตรมาด้วย ที่ สถาบันวัดไร่ขิง
  • เรียนเชิญเข้ามาอ่านที่บล็อกครูอ้อยนะคะ .. แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ Backward Design

เลือกตามสบายเลยค่ะ ...ที่นี่

Backward Design คือการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ เป็นกระบวนการออกแบบที่มีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ

1. การกำหนดเป้าหมาย ก็คือ การกำหนดสิ่งที่จะให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจ หรือกำหนดความเข้าใจที่คงทนให้ฝังลึกอยู่กับผู้เรียน

2. หลักฐานการเรียนรู้ ในที่นี้ อาจจะเป็น ภาระงาน ชิ้นงาน เนื่องจากตรวจสอบได้ว่าสิ่งที่เด็รู้แล้วนั้นสามารถปฎิบัติได้

3. กิจกรรมการเรียนรู้ ครูจะออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีศักยภาพกับ

ผู้เรียน ดังนั้น 3 ขั้นตอนนี้สามารถที่จะสะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดกับผู้เรียนได้จริงๆ ค่ะ

ขอบคุณ

ว่าที่ พ.ต. ณัฏฐพล ตันมิ่ง

ครูคิม

ครูอ้อย แซ่เฮ

sirirat nakin

ที่กรุณาเข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับ BD นะคะ

เอ.... ลองนึกดูเล่นๆ ถ้าครูทั่วโลก เค้ามาดูงานการจัดการเรียนการสอนบ้านเรา แล้วพบว่า นโยบายการศึกษาเมืองไทยให้ครูใช้ BD กันถ้วนหน้า... เค้าจะคิดยังไงกันหน่อ... อยากรู้จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท