เรียนรู้จากชาวบ้าน..ผ่านงานวิจัย


การขับเคลื่อนกลุ่มพัฒนาอาชีพ..สู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน

      เราคงเคยสังเกตว่า..สาเหตุที่มนุษย์รวมตัวกันเพี่ือจัดตั้งกลุ่ม และนำพาตนเองไปเป็นสมาชิกกลุุ่มนั้ย เกิดจากปัจจัยหลาย ๆ ประการเช่น ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา สังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ

     เช่นเดียวกับการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาอาชีพต่างๆ ในชุมชน จากการที่พวกเราชาว กศน.เข้าไปร่วมทำงานกับกลุ่มเหล่านี้พบว่า1)  จัดตั้งกลุ่มเพื่อประโยชน์ทางเศรฐกิจ เพื่อร่วมคิดร่วมทำ ..หลายหัว ดีกว่าหัวเดียว   2) จัดตั้งกลุ่ม เพื่อที่จะรับผลประโยชน์จากองค์กรใด  องค์กรหนึ่ง  เมื่อได้สิ่งที่ต้องการ กลุ่มก็จะสลาย ทันที   ซึ่งก็ไม่สามารถไปตัดสินได้ว่า ใครผิด ใครถูก  แต่มีอยู่จุดหนึ่งที่เราเฝ้าติดตามผลและศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของกลุ่ม พัฒนาอาชีพ  พบว่ากลุ่มพัฒนาอาชีพที่เข้มแข็ง มีการทำงานอย่างต่อเนื่องนั้นมีลักษณะดังนี้

  •         มีการสื่อสาร  ในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม มีการสื่อสาร ทำความเข้าใจต่อกิจกรรมกลุ่มโดยสมาชิกในกลุ่มจะเจ้าใจสถานการณ์กลุ่มร่วมกัน ทำให้เกิดการร่วมทุกข์ร่วมสุข
  •         การมีส่วนร่วม  ในการดำเนินงานกลุ่ม ตั้งแต่เริ่มแรก จะมีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน  ร่วมทำและร่วมตรวจสอบ อย่างน้อยที่สุด ในกลุ่มแกนนำของกลุ่ม
  •         ความเป็นประชาธิปไตย คือมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น ยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม  ใช้มติเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์การตัดสินการดำเนินงานของกลุ่ม
  •         การสร้างแรงจูงใจ  มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและตรงต่อเวลา  รวมทั้งการสร้างจุดมุ่งหมายร่วมกัน
  •         การจัดโครงสร้างองค์กร  ทุกกลุ่มมีการจัดระบบความรับผิดชอบ ของแต่ละงานอย่าง ชัดเจน  มีเจ้าภาพในทุกกิจกรรมของกลุ่ม  มีมิติของการก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้   มีการไปศึกษาดูงาน  การเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้  และบางกลุ่มก็เข้มแข็งขนกระทั่งใช้เงินกองกลางของกลุ่มจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องมาให้ความรู้ในการพัฒนาสินค้าของกลุ่ม

                     นี่คือความรู้ดี ๆ ที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากชุมชน  ใครมีประสบการณ์ดี ๆ จามชาวบ้านเขียนมาเล่ากันบ้าง

 

หมายเลขบันทึก: 2183เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2005 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ลองยกตัวอย่างกลุ่มที่จัดว่าเข้มแข็ง  และเล่าว่ากลุ่มทำกิจกรรมอะไรบ้าง   เกิดผลอย่างไร   ส่วนไหนที่สำเร็จ ส่วนไหนไม่ค่อยสำเร็จ    เขาปรับปรุงส่วนที่ไม่ค่อยสำเร็จจนสำเร็จอย่างไร    เขาจดบันทึกอะไรไว้บ้าง ฯลฯ  ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติ
ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์
  1. ขอบคุณมากที่นำสาระดี ๆ จากการทำงานวิจัยมาเผยแพร่
  2. เมื่อได้อ่านผลจากการเฝ้าติดตามและศึกษาที่ชาว กศน.ได้เข้าไปร่วมทำงานกับกลุ่มพัฒนาอาชีพ ขอนำมาร้อยเรียงตามประสา "กระวีกระวาด" เอาไว้จำง่าย ๆ

    สื่อสาร
    เข้าถึงสุขทุกข์ของกลุ่ม
    เกิดการประชุมแบบมีส่วนร่วม
    ประชาธิปไตยกลไกภาพรวม
    โครงสร้างองค์รวมสร้างแรงจูงใจ
  3. อยากให้ชาว กศน.ขยายผลไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ที่ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวโยงกันไปได้ ได้แก่ เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดทุนทางสังคม


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท