บทบาทของมหาวิทยาลัยในสถานการบ้านเมืองปัจจุบัน


            (28 มี.ค. 49) เข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง “สานเสวนาหาทางออก : บทบาทของมหาวิทยาลัยในสถานการณ์ปัจจุบัน” จัดโดย สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และใช้ระบบการประชุมทางไกล (Tele Conference) เชื่อมโยงห้องประชุม 3 ห้อง ได้แก่ (1) ห้องประชุมเอนกประสงค์ ชั้น 2 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท ศาลายา (2) ห้องประชุมอารี วัลยะเสวี ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พญาไท (3) ห้องประชุมสุขุม ภัทราคม ตึกจุลชีววิทยา ชั้น 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บางกอกน้อย
            ในภาคเช้า (ซึ่งผมไม่ได้เข้าร่วม) เป็นการสานเสวนาเกี่ยวกับทางออกจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 และทิศทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง
            ในภาคบ่าย (ซึ่งผมเข้าร่วมด้วย) เป็นการระดมความคิดเกี่ยวกับ “บทบาทของมหาวิทยาลัยในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน” ซึ่งผมได้ให้ความเห็นว่า มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทสรุปได้ 3 ด้าน คือ (1) การสร้างความรู้ (2) การจัดการความรู้ (3) การส่งเสริมการเรียนรู้ และควรดำเนินการกับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย (2) นักศึกษา (3) ประชาชน (ที่มหาวิทยาลัยพึงเข้าถึงได้)
            ส่วนการที่อาจารย์คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะแสดงความคิดเห็นและหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนเห็นสมควรโดยไม่ผูกพันกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ก็น่าจะทำได้ด้วย

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
30 มี.ค. 49

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21806เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท