กล้วยหิน..กล้วยดียะลา


เนื้อแน่น ผลใหญ่ ผิวไม่สวย แปลกดี

              การปลูกกล้วยหินของเกษตรกรมีความหลากหลายในวิธีการปฏิบัติ  ไม่มีเทคโนโลยีในการปลูกที่ตายตัว  อาศัยประสบการณ์กับศักยภาพของพื้นที่  ทำให้ได้ปริมาณผลผลิตต่อไร่  มีความแตกต่างกันในการผลิตกล้วยหินให้ได้ปริมาณและคุณภาพ  ประกอบด้วย

 

1.  สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

                                กล้วยหินเจริญเติบโตได้ดีและตกเครือตลอดปีในสภาพอากาศแบบร้อนชื้น  อุณหภูมิ  23-32  องศาเซนเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์  30-89  เปอร์เซ็นต์  ปริมาณน้ำฝนประมาณ  2,280  มิลลิเมตรต่อปี  มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน  ดินร่วนปนเหนียว  หรือดินร่วนปนดินทราย  สีของเนื้อดินเป็นสีน้ำตาล  สีเหลือง  หรือสีแดง  เป็นดินลึก  มีความลาดชัน  5-20 %  การระบายน้ำดี  มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ  ค่าความเป็นกรด  ด่าง  (PH)  ประมาณ  4.5-5.5

 

2.  ฤดูปลูก

                                ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน  และพบว่าเมื่อเกษตรกรปลูกในเดือนสิงหาคม - กันยายน  มีเปอร์เซ็นต์รอดตายสูงมาก  การปลูกในช่วงต้นฤดูฝนกล้วยหินจะตั้งตัวได้เร็วและแตกยอดอ่อนได้ภายใน  1  เดือน

 

3.  การคัดเลือกพันธุ์

พันธุ์กล้วยหินที่เกษตรกรนิยมใช้ปลูก  มี  2  ชนิด

                1.  ชนิดผลสีเขียวเข้ม  มีเนื้อสีเหลือง  จะมีสีสวยชวนให้น่ารับประทาน  มีรสชาติหวานหอม เฉพาะตัว

                2.  ชนิดผลสีเขียวอ่อน  มีเนื้อออกสีขาวนวล  มีรสชาติหวานหอมเช่นเดียวกัน

                                สำหรับส่วนต่าง ๆ  ของกล้วยหินที่ใช้ขยายพันธุ์มีตั้งแต่หน่อใบกว้าง  หน่อใบแคบ  หน่ออ่อน  เหง้า  และตาเหง้า  แต่เกษตรกรนิยมปลูกด้วยหน่อที่มีอายุประมาณ  3-4  เดือน  ซึ่งเป็นหน่อใบแคบหรือ  หน่อดาบ  โดยคัดเลือกจากต้นกล้วยหินที่ให้ผลผลิตดี  ผลใหญ่  หวีดก

 

4.  การปลูก

                                โดยการขุดหลุมปลูกขนาด  50  เซนติเมตร  กว้าง x ยาวและลึก  ตากดินทิ้งไว้  15  วัน  จากนั้นใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต  หรือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอื่น ๆ  สัก  1  บุ้งกี๋  รองก้นหลุม  วางหน่อพันธุ์ลงหลุมให้ลึกประมาณ  25  เซนติเมตร  แล้วกลบดินที่เหลือให้เต็มปากหล  ระยะปลูกขนาด  5 x 8  เมตร  ระยะระหว่างแถวและระหว่างต้น  5 - 6  เมตร  แต่ถ้าปลูกแซมร่วมกับไม้ผล  ควรปลูกระหว่าง  7 - 8  เมตร  จะใช้หน่อกล้วยประมาณ  25 - 64  หน่อ/ไร่

 5.  การใส่ปุ๋ย

                                จะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร  15-15-15  อัตรา  1  กิโลกรัมต่อกอ  หรือใส่ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  3  บุ้งกี๋ต่อกอ  จะได้ผลผลิตประมาณ  1,200  หวีต่อไร่ต่อปี

 

6.  การตัดแต่งหน่อ

                                กล้วยหินแตกหน่อเป็นจำนวนมาก  โดยจะเริ่มแทงหน่อเมื่ออายุประมาณ  5 - 6  เดือน  แต่ละกอจึงไม่ควรเกิน  4  ต้น  ตัดแต่งหน่อปีละ  1 - 2  ครั้ง  พร้อมตัดแต่งใบที่แห้งหักลงมาออกเสียด้วย

 

7.  โรคและแมลงศัตรูกล้วยหิน

                1.  โรคตายพราย  เกิดจากเชื้อรา  ใบเหลือง  จะเหลืองไหม้  ตายนึ่ง  ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ

                2.  โรคเหี่ยว  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ทำให้ใบอ่อนเหี่ยว  หักตรงก้านใบ  หน่อกล้วยที่กำลังแตกยอดบิด  จึงควรใช้หน่อกล้วยที่ไม่เป็นโรคทำพันธุ์

                3.  โรคใบจุด  ลักษณะใบจุดและผลลามติดต่อกัน  ทำให้เกิดใบไหม้  ส่งผลให้มีหวีน้อย  ผลเล็ก ลง  จึงควรตัดใบที่เป็นโรคไปเผาไฟ

 

8.  การเก็บเกี่ยวผลผลิต

                                หลังจากปลูกประมาณ  8  เดือน  ก็เริ่มออกปลี  และใช้ระยะเวลา  3 - 4  เดือน  ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้  การเก็บเกี่ยวเครือที่แก่จัดสังเกตจากสีของผลเป็นสีเขียวเข้ม  อาจจะมีจุดสีดำปนเหลือง  จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

นี่เลยครับ

 http://gotoknow.org/blog/mitree-suk/113180

 

                                                                                                   นายหามะ  เจ๊ะดอมะ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร    ข้อมูล/เล่าเรื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 217998เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ตามมาดู
  • น่าสนใจดี
  • อันนี้เป็นของโปรดพี่ครูแอน
  • ที่บ้านผมไม่มี
  • ท่าทางจะปลูกภาคกลางได้ไม่ดี
  • ใช่ไหมครับ

ชอบทานกล้วย  ขอชมภาพหน่อย กล้วยหิน เพิ่งได้ยินชื่อ ขอบคุณ

สวัสดีครับ  อ.ขจิตP

  • มาติดตามอย่างเหนียวแน่น
  • กล้วยหินวันนั้นค่อนข้างจะแข็ง
  • เนื่องจากยังไม่งอมเท่าที่ควร
  • แถวจังหวัดอื่นปลูกขึ้นดีแต่ออกผลเล็กลีบ
  • ฮ่าๆๆ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ อ.ประจักษ์

P

 

  • เป็นกล้วยเฉพาะพื้นที่ครับ
  • ผมใหญ่ เนื้อเหนียวนุ่ม 
  • นำผลดิบมาแปรรูปดี
  • ผลสุก นึ่งหรือต้มจึงอร่อย
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ขอบคุณครับ
  • ที่นำความรู้ดีๆมาแบ่งปันกัน
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานต่อไปนะครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • ไม่มีภาพหรือคะ (ว้า)
  • ประโยชน์ของกล้วยหิน (ทางยา) เหมือนกล้วยทั่วไปไหม ?
  • ขอบคุณค่ะ
  • หวัดดีค่ะ...พี่ยาว
  • แวะมากินกล้วยหินต้มเจ้าค่ะ...
  • ไม่มีแจกกล้วยหินต้มหรอกหรือ...
  • หิวนะนี่ อิอิ

สวัสดีครับ พี่เขียว

P

 

  • กล้วยหินพูดกันมาหลายครั้ง หลายวิธี
  • แล้วแต่พื้นที่และความสนใจของเกษตรกร
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ lovefull

  • สรรพคุณทางยานั้นมี แก้อย่างกล้วยทั่วไปครับ
  • ส่วนรูป อยู่ใน comment ที่1

มีกล้วยหินขายทั้งหน่อและผล

ขอทราบจากผู้รู้ในเรื่องการรักษาโรคแต่ละชนิด ของกล้วยหิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท