การประเมินผู้ป่วยสุรา


ประโยชน์ของการใช้ AWS.เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยสุราได้อย่างถูกต้อง
    หลังจากการประชุมทีมสุราครั้งที่แล้ว ในที่ประชุมกำหนดให้น้องๆพยาบาลผู้ปฏิบัตินำแบบประเมินสภาพผู้ป่วยสุรา (Alcohol  Withdrawal Scale: AWS.) ที่ทีมสุราประยุกต์มาจาก CIWA Score (Clinical Institute Withdrawal  Assessment  Alcohol) มาใช้ประเมินผู้ป่วยสุราโดยยังไม่ต้องกังวลกับการให้ยา เพื่อระ งับอาการเพ้อคลั่ง (Delilium) ซึ่งประโยชน์ของการใช้ AWS. ก็เพื่อให้พยาบาลสามารถประเมินผุ้ป่วยสุราว่ามีอาการแทรกซ้อนทางสมอง คืออาการเพ้อคลั่ง(Delirium) มากน้อยเพียงไร จะได้ให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหลังจากการทดลองใช้พบว่ามีปัญหาอุปสรรค์ในการประเมิน ซึ่งผลสรุปคือต้องมีการอธิบายรายละเอียดของการใช้แบบประเมินใหม่ และแบบประเมินที่ประยุกต์มาจำป็นต้องนำมาปรับเปลี่ยนข้อความบางอย่างให้เข้าใจง่ายและสามารถประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งทีมสุราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แบบประเมินสภาพผู้ป่วย AWS. นี้เมื่อนำมาใช้แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผุ้ป่วยสุราต่อไป และสถาบันธัญญารักษ์จะเป็นผู้นำด้านการบำบัดรักษาและดูแลผู้ป่วยสุราของประเทศได้อย่างสมภาคภูมิ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21759เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไดรับผู้ป่วยที่มีอาการถอนสุรา และ เห็นภาพหลอน กระโดด ตึก แต่ยังไม่มีแนวทางในการประเมินผู้ป่วยในการดูแล หรือประเมินความเสี่ยง และเครื่องมือในการผูยึด ต้องการคำแนะนำหรือแบบประเมิน ปฏิบัติงานโรงพยาบาลหนองแค จังหวัดสระบุรี

ที่แผนกรับผู้ป่วยท่มีประวัติดื่มสุราหนัก พอรับใว้แล้วมีปัญหาวุ่นวาย อาละวาดหนัก ต้องมัดแขน

มีผู้รู้แนะนำว่าต้องมีการประเมินที่ก่อนที่ผู้ป่วยที่จะมีอาการ แต่เจ้าปน้าทีที่Wardกลัวท่าจะใช้ยาตาม Scale ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาตาม Scaleแล้วเกิดอาการดังกล่าว อยากขอคำแนะนำ

ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท