สมุทัย


สมุทัย

สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ซึ่งตัวสำคัญได้แก่ ตัณหา ที่มี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แต่นอกจากนี้ยังมีข้อที่เป็นเหตุแห่งทุกข์อีกมากมาย ได้แก่ อกุศลมูล อกุศลกรรมบท 10 นิวรณ์ 5 มลทิน 9 อุปกิเลส 10 ทุจริต 3

 

 

 

 

กิเลสอันเป็นตัวการทำให้เกิดความคิดปรุงแต่ง ยืดเยื้อพิสดารเหินห่างจากความเป็นจริง และเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า ปปัญจธรรม มีอยู่ 3 ประการ คือ

1. ตัณหา อันได้แก่ ความอยากมี อยากเป็น และความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

2. ทิฏฐิ ได้แก่ ความคิดเห็น ความเชื่อทฤษฎีอุดมการณ์ต่างๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงาย หรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นเท็จ เป็นต้น ทำตัวให้คับแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการบีบคั้นให้ผู้อื่นเชื่ออย่างตน

3. มานะ ได้แก่ ความถือตัวถือตนว่าเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากเด่นอยากดังชูตนให้ยิ่งใหญ่

ในปปัญจธรรม 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ทิฏฐิน่าจะถือได้ว่าสำคัญที่สุด เพราะถ้ามีความเห็นผิดหรือที่เรียกว่ามิจฉาทิฐิแล้ว การพูดและการทำก็จะผิดตามมา

อีกประการหนึ่ง ทิฏฐิเป็นตัวกำหนดการแบ่งบุคคลออกเป็นฝ่ายเป็นนิกาย หรือแม้กระทั่งเป็นพรรคเป็นพวก โดยที่มีความเห็นเหมือนกันอยู่ร่วมกัน และความคิดเห็นต่างกันอยู่ตรงข้ามกัน หรือพูดง่ายๆ คนที่คิดเห็นต่างกันจะขัดแย้งและเป็นศัตรูกัน นี่คือความเป็นจริงที่ปรากฏในสังคมของปุถุชนคนมีกิเลสที่ซื่อสัตย์และยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งตนในลักษณะคิดอย่างไร พูดและทำอย่างนั้น

 

วัฏฏะ 3 คือ การเยนว่ายตายเกิดของคน ประกอบด้วยปัจจัย 3 ปัจจัย ดังนี้
1. กัมมัง เขตตัง เปรียบเสมือนที่นา กรรมดีกรรมชั่วที่คนกระทำเปรียบเสมือนที่นาที่แตกต่างกัน คือ กรรมดีเหมือนนาที่อุดมสมบูรณ์ กรรมชั่วก็เปรียบเสมือนทีนาที่แห้งแล้ง
2. วิญญาณัง พีชัง วิญญาณ เปรียบเสมือนเมล็ดข้าว ที่หว่านลงในนา ถ้าทำกรรมดีไว้มากวิญญาณที่สะสมกรรมดีก็เหมือนเมล็ดข้าวที่หว่านลงในนาที่อุดมสมบูรณ์ ย่อมเจริญงอกงามดี ถ้าทำกรรมชั่วไว้มากก็เหมือนเมล็ดข้าวที่หว่านลงในนาที่มีสภาพแห้งแล้งก็ไม่มีความเจริญงอกงงาม
3.ตัณหา สิเนโห ตัณหาเปรียบเสมือนเนื้อในของเม็ดข้าว ถ้ายังดีอยู่ ไม่มีสัตว์กัดกินเมื่อว่านลงในนาย่อมงอกงาม แต่ถ้าเนื้อในของเมล็ดข้าวถูกทำลายไป ก็ย่อมไม่เจริญงอกงาม

คำสำคัญ (Tags): #สมุทัย
หมายเลขบันทึก: 217418เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2008 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับอาจารย์...แวะเวียนเข้ามาเรียนรู้ครับ...ขออนุโมทนาในวิทยาทานของอาจารย์ด้วย ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท