เกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


เกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วยนอกศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก กรณีผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

   เกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วยกรณีผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

1. ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน

2.ประเมินความพร้อมหลังการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วพบว่าผู้ป่วยและญาติ สามารถดูแลตัวเองต่อที่บ้านได้(จากการทำแบบประเมินผู้ป่วยก่อนจำหน่าย)

3.ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบสารเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 30 วันก่อนการจำหน่าย

4.กรณีผู้ป่วยติดแอลกอฮอล์มีการลดปริมาณการดื่มลง(วัดจาการบันทึกข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัว ลงในบันทึกแต่ละครั้งที่พบกับนักบำบัด)

 

                                            แบบประเมินผู้ป่วยก่อนจำหน่าย

คำชี้แจง: ผู้บำบัดเป็นผู้กรอกแบบสรุปนี้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังการจำหน่ายผู้ป่วยหรือสิ้นสุดการบำบัด

สถานบำบัด.............................................................................

ชื่อผู้รับการบำบัด.......................................................................

ชื่อผู้บำบัด...............................................................................

วันที่เริ่มต้นการรักษา..................................................................

วันที่พบกันครั้งสุดท้าย................................................................

1.สถานภาพการจำหน่าย(ใส่เครื่องหมาย / เพียง 1 ช่อง)

............ผ่านโครงการบำบัดโดยสมบูรณ์

............หยุดการบำบัดรักษาก่อนกำหนด

2.สาเหตุของการหยุดการบำบัดรักษาก่อนกำหนด

.............1.ไม่มาร่วมกิจกรรมบำบัดรักษานานกว่า 3 สัปดาห์

.............2.ขาดแคลนทุนทรัพย์

.............3.ถูกส่งต่อไปยังการรักษาอื่นๆ

.............4.มีการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย

.............5.ผู้จ่ายค่ารักษาขอให้หยุดการบำบัดรักษา

.............6. ปัญหาการเดินทาง

.............7.ถูกให้ออกจากกระบวนการบำบัด

.............8.ถูกจับกุม

.............9.ไม่ต้องการรักษา

............10.อื่นๆ(ระบุ)

               ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม..................................................................................

3.การใช้ยาบ้าและสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(30วัน ก่อนพบกันครั้งสุดท้าย)

ยาบ้า                                        ใช้...........................ไม่ใช้............................

สารเสพติดผิดกฏหมายอื่น              ใช้..........................ไม่ใช้............................

สุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์         ใช้...........................ไม่ใช้............................

4.ผลการตรวจปัสสาวะ

พบสารเสพติด..................................ไม่พบสารเสพติด.................................

ตรวจวันที่..................เดือน............................พ.ศ............................

5.การประเมินผลภาพรวมของผู้รับการบำบัด

คำชี้แจง:กรุณาวงกลมรอบตัวเลขที่แสดงถึงสภาพ

        1. การเสพยาบ้า

ก) เสพทุกวัน

ข) เสพมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์

ค) เสพมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 1 เดือน

ง) เสพไม่ติดต่อกัน น้อยก่วา 3 ครั้งใน 4 เดือน

จ) ไม่เสพเลย

          2. การใช้สุรา สารเสพติดผิดกฏหมายอื่นนอกจากยาบ้า

ก) เสพทุกวัน

ข) เสพมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์

ค) เสพมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 1 เดือน

ง) เสพไม่ติดต่อกัน น้อยก่วา 3 ครั้งใน 4 เดือน

จ) ไม่เสพเลย

           3. สุขภาพทางกาย

ก) ทรุดโทรมมาก

ข) เจ็บป่วยบ่อย

ค) เจ็บป่วยบ้าง

ง) สุขภาพดี

จ) สุขภาพดีและสนใจดูแลสุขภาพตนเอง

            4. ปัญหาทางจิตเวช

ก) มีอาการทางจิตตลอดเวลา

ข) มีอาการทางจิตบางเวลา

ค) มีความเครียด และไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้

ง) มีความเครียดและสามารถจัดการกับความเครียดได้

จ) มีความเครียดและสามารถจัดการกับความเครียดได้ดี

              5. สัมพันธภาพของครอบครัว

ก) มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งบ้าง

ข) ต่างคนต่างอยู่ ไม่ใส่ใจกัน

ค) ไม่ปฏิสัมพันธ์กัน แต่ให้การช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

ง) มีปฏิสัมพันธ์กันบ้าง

จ) มีปฏิสัมพันธ์กันดี

              6. การงาน/การเรียน

ก) ว่างงาน/ไม่ได้เรียน

ข) มีปัญหาในการทำงาน/การเรียนมาก

ค)  มีปัญหาในการทำงาน/การเรียนบ้าง

ง) มีความรับผิดชอบต่องาน/การเรียนพอใช้

จ) มีความรับผิดชอบต่องาน/การเรียนดี

              7. ปัญหาทางกฏหมาย

ก) มีความผิดในคดีอาญาโดยถูกจำคุก

ข)  มีความผิดในคดีอาญาโดยไม่ถูกจำคุก

ค)  มีความผิดเกี่ยวกับการเสพยา แต่ไม่เป็นผู้ค้ายา

ง) รอลงอาญา

             8. การวางแผนในชีวิตประจำวัน

ก) ไม่มีจุดมุ่งหมาย และขาดการวางแผนในการดำเนินชีวิต

ข) มีจุดมุ่งหมาย แต่ขาดการวางแผนในการดำเนินชีวิต

ค) มีการวางแผน แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้เลย

ง) มีการวางแผน และสามารถปฏิบัติตามแผนได้บ้าง

จ) มีการวางแผน และสามารถปฏิบัติตามแผนได้ดี

            9.ภาพรวมขององค์ประกอบทั้งหมดข้างต้น

ก) แย่กว่าก่อนเข้ารับการบำบัด

ข) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ค) มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง

ง) มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น แต่ยังต้องการความช่วยเหลือ

จ) สามารถรับผิดชอบตนเองได้ดี

   ** เกณฑ์การให้คะแนน  ก เท่ากับ 1 คะแนน

                                   ข เท่ากับ 2 คะแนน

                                   ค เท่ากับ 3 คะแนน

                                   ง เท่ากับ 4 คะแนน

                                   จ เท่ากับ 5 คะแนน

การแปลผลในแต่ละช่วงคะแนน หมายถึง

1-9     คะแนน หมายถึง ต้องปรับปรุง

10-18 คะแนน หมายถึง อยู่ในเกณฑ์พอใช้

19-27 คะแนน หมายถึง อยู่ในเกณฑ์ดี

28-36 คะแนน หมายถึง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก

37-45 คะแนน หมายถึง อยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม....................................................................................

* GAF (Global Assessment of Function) ขณะเข้าสู่การรักษา..............ขณะจำหน่าย...........

6. การมีส่วนร่วมของครอบครัว

.........0 = ไม่มีเลย .........1= เล็กน้อย.........2= ปานกลาง........3= มาก........4= มากที่สุด

7.แผนการของผู้ให้คำปรึกษาและการส่งต่อ..................................................................

8.ลายเซ็นต์ผู้ให้คำปรึกษา..................................วันที่..........เดือน.................พ.ศ.........

*Global Assesment of Function (GAF)Scal

        ให้พิจารณาประเมินโดยถือว่าความเจ็บป่วยทางจิตใจ ส่งผลต่อการทำหน้าที่ทางด้านจิตใจ สังคม และหน้าที่ การงาน ทั้งนี้ การประเมินจะไม่รวมถึงความบกพร่องในหน้าที่ต่างๆซึ่งเกิดจากข้อจำกัดจากสภาพร่างกายหรือสิ่งแวดล้อม

92- 100  ทำหน้าที่ได้สูงสุดในกิจกรรมต่างๆสามารถจัดการกับปัญหาทั่วไปในชีวิตได้ดี

91          ไม่มีอาการผิดปกติทางจิตใดๆ

82-90     ไม่มีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น  ความวิตกกังวลเล็กน้อย ก่อนสอบ ทำหน้าที่ได้ดีในกิจกรรมทุกด้าน มีความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลาย มีประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมทางสังคม มีความสุขในสภาพชีวิต

81          มีเพียงปัญหาในชีวิตประจำวันเล็กๆน้อยๆ เช่น การขัดแย้งกับสมาชิกในครอบครัวเป็นครั้งคราว

71-80     มีอาการทางจิตใจเพียงครั้งคราวและสามารถคาดการณ์ได้ เช่น สมาธิไม่ดีหลังการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว มีความบกพร่องเล็กน้อยในการทำหน้าที่ทางสังคม อาชีพ หรือการเรียน เช่นการเรียนตกต่ำลงชั่วคราว

61-70     มีอาการทางจิตเล็กน้อย เช่น อารมณ์ซึมเศร้าและนอนไม่หลับเล็กน้อย หรือมีความยุ่งยากเล็กน้อยในการทำหน้าที่ทางสังคม อาชีพหรือการเรียน เช่นเกเร เป็นครั้งคราว มีการลักขโมยในครอบครัวของตนเองแต่ยังสามารถทำหน้าที่โดยทั่วไปได้พอควร มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นในทางที่ดีได้บ้าง

51-60      มีอาการทางจิตใจปานกลาง เช่น ไร้อารมณ์และพูดจาอ้อมค้อม มีอาการวิตกกังวลรุนแรงเป็นครั้งคราว หรือมีความยุ่งยากปานกลางในการทำหน้าที่ทางสังคม อาชีพ หรือการเรียน เช่น มีเพื่อนน้อย มีความขัดแย้งรุนแรงกับเพื่อนฝูงหรือผู้ร่วมงาน

41-50      อาการรุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ย้ำคิดย้ำทำรุนแรง ลักขโมยข้าวของผู้อื่นบ่อยๆ หรือมีความบกพร่องรุนแรงในหน้าที่ทางสังคม อาชีพ หรือการเรียน เช่น ไม่มีเพื่อนเลย ถูกให้ออกจากงาน

31-40      มีความบกพร่องในการรับรู้ความจริง(reality testing)หรือการสื่อสาร เช่น  พูดจาไม่สมเหตุสมผล ไม่ได้ใจความ หรือมีความบกพร่องอย่างเด่นชัดในส่วนต่างๆ เช่นการทำงานหรือการเรียน สัมพันธภาพในครอบครัว การตัดสินใจ ความคิดหรืออารมณ์ เช่นผู้เป็นโรคซึมเศร้าที่หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนฝูง ทอดทิ้งครอบครัว ไม่สามารถทำงานได้ เด็กที่รังแกเด็กอื่นที่อายุน้อยกว่า เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว อันธพาลในบ้านและเรียนตก

21-30      พฤติกรรมที่ได้รับผลกระทบขัดเจนจากความคิดหลงผิด(Delusion)หรือประสาทหลอน หรือความบกพร่องร้ายแรงในการสื่อสารหรือการตัดสินใจ เช่น บางครั้งพูดขาไม่ต่อเนื่อง แสดงออกไม่เหมาะสมอย่างชัดเจน หมกมุ่นกับความคิดฆ่าตัวตาย หรือไม่สามารถทำหน้าที่ได้ในเกือบทุกกิจกรรมของชีวิต เช่น นอนเกือบตลอดทั้งวัน ตกงาน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีเพื่อน

11-20      ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นบ้าง เช่น พยายามฆ่าตัวตายโดยไม่มีความตั้งใจที่จะทำลายชีวิตตนเองชัดเจน รุนแรงบ่อยๆ ตื่นตระหนกจากอารมณ์ แปรปรวนชนิดแมนิค หรือไม่สามารถดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตนได้เป็นครั้งคราว เช่นเล่นอุจจาระ หรือบกพร่องในการสื่อสารอย่างเด่นชัด เช่นพูดจาสับสน ไม่ต่อเนื่อง หรือไม่พูดเลย

1-10        ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นรุนแรงตลอดเวลา เช่น ภาวะก้าวร้าวรุนแรงซ้ำๆ หรือไม่สามารถดูแลสุขอนามัยส่วนตนได้เป็นการถาวร หรือมีพฤติกรรมฆ่าตัวตายที่รุนแรง และแสดงถึงเจตนาต้องการทำลายชีวิตอย่างชัดเจน

0             ไม่มีข้อมูลเพียงพอ



ดด

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21713เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 05:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบว่าศูนย์นี้อยู่ที่ไหนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท