แหล่งเรียนรู้ การจัดการความรู้


            แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ มีหลากหลาย ทั้ง หนังสือ เอกสาร ตำรา เว็บไซต์ แต่ที่ดีที่สุด คือประสบการณ์ความรู้ในบุคคลที่ได้ผ่านการปฏิติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ทั้งหลาย แต่ยากที่จะสัมผัสได้ ยากที่จะอ่าน หรือสะกัดออกมาให้ย่อยได้ง่าย ดังนั้น ถ้าจะหาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่อง การจัดการความรู้ แล้ว คงหนีไม่พ้น แหล่งเรียนรู้ที่มีราคาถูก พกพาง่าย นั่นก็คือหนังสอ

          หนังสือเกี่ยวกับการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (KM) ฉบับขับเคลื่อน LO
หนังสืออ่านสนุก ว่าด้วย KM (Knowledge Management) หรือ การจัดการความรู้ ผลงานของผู้เขียนหนังสือขายดี "การจัดการความรู้" เนื้อหากลั่นและกรอง "ความรู้" จากการปฏิบัติ จากการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก และจากประสบการณ์กว่า ๓ ปี ในการดำเนินการขับเคลื่อน "การจัดการความรู้" ในสังคมไทยของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) สำหรับนักปฏิบัติการ KM เพื่อใช้ในการยกระดับความเข้าใจ และยกระดับวิธีการปฏิบัติ KM ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน ผลต่อการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กรไปสู่องค์การการเรียนรู้ และสำคัญที่สุด ช่วยแนะแนวทาง "ทำ KM ให้สนุก" ทุกคนที่ร่วมกันทำเกิด "ความสุข" และไม่เป็นการเพิ่มภาระ
   หนังสือเล่มนี้จะมีทั้งเนื้อหาในเชิงทฤษฎี และตัวอย่างของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง การจัดหมวดหมู่ภายในหนังสือจะแบ่งออกเป็น 6 บท โดยมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย พื้นฐานการจัดการความรู้ โครงสร้างและปัจจัยประกอบ เกณฑ์การประเมินผลการจัดการความรู้ แนวปฏิบัติการจัดการความรู้ ตัวอย่างการประยุกต์การจัดการความรู้ และผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ ซึ่งจะมีการจัดลำดับไว้ ช่วยให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการนำเอาความรู้ที่ได้รับในแต่ละบทไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ การจัดการความรู้ภายในองค์กรของผู้อ่านได้อย่างเหมาะสม
   ชุมชนแนวปฏิบัติ : การจัดการความรู้สายพันธุ์ใหม่/ Etienne Wenger, Richard McDermott, Willam, M. Snyder
   การจัดการความรู้/ , โทมัส เอส.ดาเวน
   การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้/ ผศ.น้ำทิพย์ วิภาวิน
   การจัดการความรู้ กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพและความสุข
ประเวศ วะสี
   ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ ผู้แต่ง/แปล : ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
   นานา เรื่องราวการจัดการความรู้ ผู้แต่ง/แปล : ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 

          บทที่  1  ปฐมบท  ซึ่งในบทนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของการจัดการความรู้ที่ถูกต้อง  ทราบว่าการริเริ่มการจัดการความรู้เริ่มอย่างไร  ใน

          บทที่  2  ความสำคัญของการจัดการความรู้  ในบทนี้จะทำให้ทราบว่าคุณเอื้อ  คุณอำนวย  คุณกิจ  คุณประสาน  คุณลิขิต  และคุณวิศาสตร์  คือใคร  มีบทบาทอย่างไร  ใครคือผู้เสริมพลังความรู้/นายหน้าความรู้   นอกจากนี้  สรุปท้ายบทนี้ชี้ให้เห็นว่า  คนสำคัญที่สุดในระบบการจัดการความรู้  คือ  ผู้บริหารหมายเลข 1 ขององค์กรหรือหน่วยงาน  เนื้อหาใน

          บทที่  3  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดระบบการจัดการความรู้    อะไรคือทฤษฎีขนมเปียกปูน  ทฤษฎีขนมชั้น  ในบทนี้จะทำให้ทราบว่าการจัดการความรู้นั้นต้องมีระบบอะไรบ้าง  

          บทที่  4  การฝึกอบรม  ในบทนี้ผู้เขียนได้เขียนไว้ว่า  การฝึกอบรมเพื่อเริ่ม “การเดินทาง” จัดการความรู้  (ผู้รู้กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็น  journey  ไม่ใช่  destination)  ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการบรรยาย  กล่าวคือ  ไม่มีความจำเป็นต้องแยกการฝึกอบรมออกจากการปฏิบัติ  สามารถบูรณาการการปฏิบัติกับการฝึกอบรมไปด้วยกันได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่า  การฝึกอบรมนั้นจะอบรมแก่ใคร  เพื่อเป้าหมายอะไร  อีกสิ่งที่น่าสนใจ
ในบทนี้คือ  การจัดตลาดนัดความรู้  เมื่ออ่านถึง

           บทที่  5  ผู้อ่านจะได้ทราบถึงการเริ่มต้นการจัดการความรู้  มีประเด็นที่น่าสนใจที่ผู้เขียนได้เขียนไว้  อาทิ  วางแผนการดำเนินการโดยเริ่มจากเล็กไปใหญ่จากง่ายไปยาก  ใช้พลังความสำเร็จเล็กๆ เป็นพลังขับเคลื่อน   นำทุนปัญญาในตัวบุคคลมาสร้างคุณค่า/มูลค่าเพิ่ม    เมื่ออ่านจบบท  ผู้อ่านจะทราบว่าจะต้องเริ่มต้นการจัดการความรู้ได้อย่างไร 

          บทที่  6  การดำเนินการจัดการความรู้  ในบทนี้ผู้เขียนได้เขียนถึงองค์ประกอบของการดำเนินการจัดการความรู้ไว้อย่างชัดเจน  โดยเริ่มจากสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้  การสร้างทีมจัดการความรู้ขององค์กร  เริ่มจาก “ทุนปัญญา”  ที่มีอยู่แล้วหรือหาจากภายนอกได้โดยง่าย  สร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเข้มข้นในกลุ่มพนักงานระดับล่าง   จัดการความรู้ควบไปกับกิจกรรมพัฒนาสินค้าหรือรูปแบบการทำงานใหม่ๆ  เน้นการจัดการองค์กรแบบ  “ใช้พนักงานระดับกลางเป็นพลังขับเคลื่อน” หลัก  เปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเป็นแบบ  “พหุบท”  (Hypertext)   สร้างเครือข่ายความรู้โลกภายนอก  สร้างวัฒนธรรมแนวราบ  การสื่อสารอย่างอิสระทุกทิศทาง  สร้างวัฒนธรรมการจดบันทึก  ประเมินผลการดำเนินการจัดการความรู้  นอกจากนี้  ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ  อะไรคือช่วงฝึกกับช่วง “บินได้”  ชุมชนแนวปฏิบัติ  การจัดพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เครือข่ายการจัดการความรู้

          บทที่  7  เครื่องมือ  บทนี้ผู้อ่านจะได้ทราบถึงเครื่องมือการจัดการความรู้  อะไรคือ  โมเดลปลาทู   โมเดลปลาตะเพียน  “หัวปลา”  “ตัวปลา”  “หางปลา”  คืออะไร  อะไรคือการเล่าเรื่อง (Story telling)  ผู้อ่านจะทราบถึงวิธีการและขั้นตอนการเล่าเรื่อง  ซึ่งผู้เขียนได้เขียนไว้ว่า  “เป้าหมายสำคัญที่สุดคือการเล่าเรื่อง  คือ  ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ)  ในส่วนลึกของสมอง  (ความคิด)  และส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ)  ออกมาเป็นคำพูด  และหน้าตาท่าทาง  (Non Verbal Communication)  การเปลี่ยนความรู้จากการปฏิบัติ  ผู้เปลี่ยนจะมีสภาพที่มีทั้งจิตใต้สำนึกและจิตสำนึก  (Subconscious &  Conscious)”  นอกจากนี้  ผู้อ่านจะทราบและเข้าใจเทคนิคการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก  (Tacit Knowledge)  และวิธี  “สกัด”  ความรู้จากการปฏิบัติ  ผู้เขียนได้เขียนไว้ว่า  “แปลกแต่จริง  ความรู้ฝังลึกนี้มันขี้อาย  ถ้าไม่มีการสร้างบรรยากาศเชิงบวก  เชิงชื่นชมยินดี  มันจะไม่ค่อยโผล่ออกมา  นอกจาก “ขี้อาย” แล้ว  ความรู้ฝังลึกยัง “ระเหยง่าย”  อีกด้วย  ถ้าไม่ “ไล่ตะครุบ”  และจดบันทึกให้ดีเพียงชั่วประเดี๋ยวเดียว  เมื่อบรรยากาศช่วงนั้นหายไป  ความรู้ฝังลึกที่โผล่ออกมาก็หายตัวไปเสียแล้ว”  อะไรคือเครื่องมือของธารปัญญา  วงจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยกกำลังสาม  บวกคว้าและบันทึก  เรียนรู้ก่อน -  เพื่อนช่วยเพื่อน  (Peer Assist)  เรียนรู้ระหว่าง – AAR  เรียนรู้ภายหลัง – Retrospect  ชุมชนแนวปฏิบัติ  การสร้างความรู้จากลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ  และการตรวจสอบความรู้

       บทที่  8  ฐานข้อมูลความรู้  บทนี้เป็นบทที่แสดงให้เห็นว่า  การจัดการความรู้ต้องมีฐานข้อมูลความรู้  (Knowledge Base)  ทราบว่า สิ่งที่บรรจุอยู่ในฐานข้อมูลความรู้มีอะไรบ้าง  มีคำที่น่าสนใจที่จะทำความเข้าใจ  อาทิ  หน้าเหลือง (Yellow Page)  ชุมชนแนวปฏิบัติ  (Cop – Communication of Practice)  เรื่องเล่า  (Storytelling)  ขุมความรู้  (knowledge  Assets)  แก่นความรู้  (Core Competence)  ตารางแห่งอิสรภาพ  (Self – Assessment table)  บล็อก  (Blog หรือ Webblog)

       บทที่  9  เครือข่ายการจัดการความรู้  บทนี้ผู้อ่านจะได้ทราบถึงวิธีการสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้  เครือข่ายการจัดการความรู้ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  พื้นที่ประเทืองปัญญาของเครือข่าย  ทั้งพื้นที่จริง  (Real Space) เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ F 2 F (Face to Face)  และพื้นที่เสมือน  (Virtual Space)   เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ  B 2 B  (Blog to Blog)

          บทที่  10  ทางแห่งความล้มเหลว  และบทที่  11  ทางแห่งความสำเร็จ  ใน  2  บทนี้  ผู้เขียน    ได้เขียนให้เห็นถึงทางแห่งความล้มเหลวไว้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  อาทิ  หลงของปลอม  หลงใช้ทฤษฎี “ขนมชั้น”  ภาวะผู้นำที่บิดเบี้ยว  วัฒนธรรมอำนาจ  ไม่เปิดโอกาสให้ทดลองวิธีใหม่ๆ  ไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงภายนอก  ไม่คิดพึ่งตนเองด้านความรู้  เป็นต้น  และแนวทางของความสำเร็จ  อาทิ  สร้างนวัตกรรมใหม่   สร้างวิสัยทัศน์ร่วม  เรียนลัด  จัดพื้นที่หรือเวที  พัฒนาตน  ระบบให้คุณให้รางวัล  จัดทำขุมความรู้  เป็นต้น

          และบทสุดท้ายคือ  การจัดการความรู้ในสังคมไทย : กรณีความสำเร็จ  ในบทนี้ผู้อ่านจะเห็นตัวอย่างความสำเร็จของการจัดการความรู้ของหน่วยราชการ  ภาคประชาสังคม  และภาคเอกชน  ที่ผู้อ่านสามารถศึกษา  วิเคราะห์  และนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการความรู้ในหน่วยงานหรือองค์กรของตนเองได้
ที่มา http://gotoknow.org/blog/ed-nuqakm/47581

 

การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้สร้างองค์กรอัจฉริยะ 
MEASURENT ANALYSIS KNOWLEDGE MANAGEMENT
ผู้แต่ง/แปล :  ยุทธนา แซ่เตียว
ISBN : 974-7781-91-3

 

   

 องค์กร แห่งการตื่นรู้ Awakening Organization
ผู้แต่ง/แปล : ดร.เกศรา รักชาติ
ISBN : 974-94064-2-7

   สิ่งดี ๆ ที่หลายหลากสไตล์ Km  
Best Practice - km style 
ผู้แต่ง/แปล : สถาบันส่งเสริมการจัดการความความรู้
   การจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ 
ผู้แต่ง/แปล : ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ISBN : 978-974-7628-31-9
 

 Part I : Overview
1 Setting the Content
   What the book is about and how the book is set out to enable you to navigate the knowledge quickly
2 What is Knowledge Management?
   It is about capture, creating, distilling, sharing and using know-how. it's more than what's writing down.
3. The Holistic Model - It's More Than The Sum of the Parts
   The Model describes how to turn business objectives into results by learning before, learning during and learning after.
4 Getting the Environment Right
   Setting the enviroment up - leardership, technology, culture - so that it's OK to ask for some help form peers.
5 Getting Started - Just Do It
   We learned to get started by just working on something simple.

Part II : Tools and Techniques
6 Connecting Sharers with Learners - Using Self-Assessment
   Creating a common language makes it easy to share ; using self-assesment creates the desire to connect and learn
7 Learning from Your Peers - Somebody Has Already Done It
   Peer assists are a technique to learn early on in the doing pahse, a kind of project design meeting.
8 Learning Whilst Doing - Time to Reflect
   Learing from the last event so that it can be applied to the next.
9 Learning After Doing - When It's All Over
   
10 Finding the Right People - If Only I Know Who
    Key to learning what others have done is to know who to ask and being able to reach them easy
11 Networking and Communities of Practice
    People with common interests or discipline practices form networks or communities of practice to share their know-how.
12 Leveraging What We Have Leaned - Capturing Knowledge

Part III : Today and Tomorrow
13 Embedding it in the Organization - Preparing to Let Go
14 Review of Book - What Did We Set Out To Do

ที่มา http://www.prachasan.com/kmcorner/Learning2fly.htm

   
   
   
   
   
หมายเลขบันทึก: 217111เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ดีทุกเล่ม น่าสนใจมาก
  • เป็นประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ของผมพอดีเลยครับ
  • ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง...

  • หนังสือดังกล่าว หาซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬา มน. ได้เปล่าครับ
  • ผม กิตติเชษฐ์ (ชรินทร์) อักษร ครับ อาจารย์

บางเล่มที่ศูนย์หนังสือจุฬามีขายครับ แต่ที่แน่ๆ ที่ห้องสมุดมอนอมีครับ

หนังสือแต่ละเล่มของอาจารย์น่าอ่านมากเลยครับ

หนังสือที่อาจารย์ได้ให้ข้อมูลมาเป็นหนังสือที่ดีและน่าสนใจมากๆครับ น่าที่จะซื้อเก็บไว้อ่านจะได้มีความรู้เรื่องของการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

สวัสดีค่ะ อาจารย์หนึ่ง

ห้องสมุดต้องตรวจสอบแล้วค่ะว่ามีหนังสือ KM ครบถ้วนหรือยัง

ที่อาจารย์แนะนำมาช่วยให้การคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

   สวัสดีครับ อ.พงษ์เอก แล้ว อ.พงษ์เอกล่ะครับสนใจหนังสือเล่มไหน

          ห้องสมุดอย่างสะสมหนังสือ KM อย่างเดียวนะครับ ถ้าได้เรียนรู้แล้วนำไปใช้ด้วยก็จะดีมากครับ คุณวันเพ็ญ และต้องขอโทษด้วยที่ลิเวอร์พูลทำให้เชลซี ตกรอบเมื่อคืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท