รายงานผลการทำงาน เกาหลีศึกษา การใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย


แผนภาพความรู้ที่ได้จากการทำงาน เกาหลีศึกษา การใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย พบว่ามีชุดความรู้๕ ชุด ก็คือ การบริหารจัดการภายใต้แผนแม่บทหลักระยะยาว ไม่แปรผันตามการเมือง (๒) การส่งเสริมวัฒนธรรมใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ ลดช่องว่างของการเข้าถึง ทำจริงจัง (๓) การใช้โอกาสจากไอซีทีในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกมคอมพิวเตอร์ (๔) การพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็ก ก่อน กลาง หลัง การใช้ไอซีที (๕) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งหมดมีกฎหมาย นโยบาย องค์กรที่ทำงานล้อกันอย่างเป็นระบบ

หลังจากกลับมาจากการเดินทางไปศึกษาแนวทางการพัฒนาไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑

เริ่มต้น นำภาพการเดินทางมาให้ทุกคนได้เห็นภาพการทำงานในเกาหลี วันแรกของการเดินทาง วันที่สองของเดินทาง วันที่สามของการเดินทาง และ วันสุดท้ายของการทำงานอย่างเป็นทางการ

ต่อจากนั้น ก็เริ่มเขียนภาพนำเสนอกับทางแผนงาน TGLIP เพื่อนำเสนอ "ภาพความรู้" ที่ได้จากการทำงาน ติดตามที่นี่ >> ดาวน์โหลด รายงานฉบับสมบูรณ์ >>

หมายเลขบันทึก: 216512เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เยี่ยมยอดจ๊ะ อ.โก๋

ต้องเชิญมาบรรยายให้โต๊ะวิจัยที่ มธ. สักวัน

  • เย้ๆๆ
  • เปลี่ยนรูปแล้ว
  • หมายถึงเดือนอะไร
  •  ระหว่างวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
  • งง งง
  • ดูนะครับ
  • กันยายนใช่ไหมครับ
  • อาจารย์เก่งจริงๆๆ
  • มาเขียนอีกนะครับ

อาจารย์ค่ะ krutoi ตามมาหาความรู้ อาหารสมอง โดยใจ เมื่อเข้าไปอ่านภาพความรู้ค่ะ องค์ความรู้ที่ 2 ICT in Education และแผ่นภาพความรูที่ 4 มาตราการกลไกและความคุ้มครอง 3 ระยะ สุดยอดค่ะ เด็กๆจะได้ปลอดภัยจากสื่อ

ขอบคุณความรู้ และแนวคิด เดินหน้าลุยเลยนะคะ อาจารย์ที่เคารพ

เปลี่ยนรูปเพราะแรงบันดาลใจจากการกระเซ้าของอาจารย์ขจิตเลยนะเนี่ย

ขอบคุณ krutoi มากครับที่ติดตามอ่านงาน ทำให้ผมขยันเขียนงานมากขึ้นเลยครับ

ถ้าจะให้ว่าไปแล้ว ผมว่าแนวทางของที่พวกเรากำลังดำเนินการกันอยู่ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากแนวทางของประเทศเกาหลีใต้เลย แตกต่างกันตรงที่พื้นฐานทางทัศนคติของคน(ผู้ใหญ่)บ้านเรา ยังมองว่าไอซีทีเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ เป็นเรื่องของวัยรุ่น เป็นเรื่องของการเล่นเกม ... เป็นเรื่องไร้สาระ

ด้วยเหตุผลนี้ จึงไม่ได้มีหน่วยงาน หรือองค์กรไหนเข้ามาแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เพราะยังคงมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ แค่ออกกฎหมายควบคุมเฉยๆก็พอ ไม่ต้องหาทางพัฒนาอะไรให้ดีขึ้น และระบบสังคมในบ้านเรา ยังคงยึดติดกับความเป็นไปทางการเมือง นโยบายหรือแนวทางล้วนถูกเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการเมือง ไม่มีความเป็นเอกภาคในการดำเนินงานเหมือนที่เกาหลีใต้ (ยิ่งตอนนี้คงไม่ต้องพูดถึงครับ รมต.วธ. ท่านล่าสุดเป็นใคร มาจากไหน ผมยังไม่รู้จักท่านเลย)

สรุปคือผมยังมีความเชื่อว่าแนวทางของพวกเรายังไม่หลง แต่ประเด็นคือไม่มีผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองมาใส่ใจในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ครั้นจะดำเนินการด้วยตัวเองก็ประสบปัญหาในเรื่องการสนับสนุนทั้งทุนและการให้ความร่วมมือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท