อริยสัจคืออะไร?


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

 อริยสัจคืออะไร? 

ขอนำใจความ  -  ความหมายของอริยสัจมาเรียงไว้ย่อ ๆ   อีกดังนี้


ก. โดยคำแปล  อริยสัจคือ

1.ของจริงอย่างประเสริฐ
2.ของจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยเจ้า
3.ของจริงแห่งพระอริยเจ้า


ข. โดยจำแนก  อริยสัจ  คือ

1.  ทุกข์-ความไม่สบาย
2.  สมุทัย  หรือเรียกทุกขสมุทัย   เหตุให้ทุกข์เกิด
3.  นิโรธ   หรือเรียกทุกขนิโรธ ความดับทุกข์
4.  มรรค   หรือเรียกนิโรธคามินีปฏิปทา   ทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


ค.  โดยเหตุผล  อริยสัจ  คือ

1.  เหตุผล  เรื่องทุกข์               ประกอบกัน
2.  เหตุผล เรื่องความดับทุกข์      


อริยสัจไม่ใช่มองในแง่ร้าย

บางท่านอาจเข้าใจว่า  ธรรมเรื่องอริยสัจเป็นเรื่องการมองโลกในแง่ร้าย (Pessimistic)  คือไม่ว่านามหรือรูปส่วนไหน  ล้วนถูกชี้ให้เห็นว่าเป็นทุกข์ไปสิ้น   แต่พึงสังเกตว่า  อริยสัจได้ชี้แง่ดีไว้ในที่สุด  ไม่ได้สอนให้สิ้นหวังแต่ประการใด   ทั้งข้อปฏิบัติที่ให้ไว้เพื่อบรรลุความสุข  อย่างแท้จริงนั้น   ก็ประกอบด้วยเหตุผลและปฏิบัติตามได้


ถ้ากล่าวอีกอย่างหนึ่ง  อริยสัจสอนคนให้ประสบบรมสุข   ด้วยให้ขุดรากความทุกข์ทั้งปวงทิ้งเสียนั้นเอง  เหมือนการทำให้คนไข้เป็นปกติสุข   ก็ต้องค้นหาสมุฏฐานของโรคแล้วกำจัดเสียฉะนั้น

ขยายความอริยสัจ


ทุกข์


คำว่าทุกข์   แม้จะเป็นภาษาบาลี  แต่เราก็ใช้เป็นภาษาไทยเสียจนชิน   พอพูดก็เข้าใจความทันที   กล่าวโดยความหมาย   ทุกข์ก็คือความไม่สบายกายไม่สบายใจหรือความบีบคั้นให้ลำบาก   ในธรรมจักรกัปปวัตนสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกทุกข์ไว้  11  อย่าง  คือ


1.ความเกิด

2.ความแก่

3.ความตาย



ทั้ง 3  ประเภทนี้  ท่านเรียกว่า  สภาวทุกข์   ทุกข์โดยสภาพหรือทุกข์ประจำ


4.ความเศร้าใจ

5.ความระทมใจ

6.ความไม่สบายกาย

7.ความไม่สบายใจ

8.ความคับแค้นใจ

9.พบเห็นสิ่งที่ไม่น่ารัก-น่าพอใจ

10.พลัดพรากจากของรัก-ของชอบใจ

11.ปรารถนา   แล้วผิดหวัง


ทั้ง  8  ข้อนี้  ท่านเรียก  ทุกข์จร



กล่าวถึงความทุกข์  โดยสรุปแล้ว  “การเข้าไปยึดถือ  ขันธ์  5   เป็นทุกข์” เพราะทุกข์ทั้ง 11
อย่างข้างต้นนั้นไม่เกิดนอกเหนือไปจากขันธ์  5

ทุกข์ทั้ง  11 ข้อนั้น  เมื่อ  พิจารณาดูแล้ว   ก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ   และเป็นที่รู้ดีกันอยู่แล้ว   ที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะข้อที่เห็นว่าน่าคิดเท่านั้น   เช่น  ข้อที่ว่าความเกิดนั้นเป็นทุกข์อย่างไร?

ความเกิด   ในข้อแรก   หมายถึงความปรากฏเกิดขึ้นของสัตว์ที่อยู่ในขอบเขตแห่ง  กำเนิดทั้ง 4  คือ  พวกเกิดในครรภ์มารดา,  พวกเกิดในฟองไข่,  พวกเกิดในที่โสโครก  เช่น หนอน  และเกิดขึ้นทันทีทันใด  เช่น  เทวดา,  พรหม,  และสัตว์นรก  “อุปปาติก”

สัตว์ที่ยังเวียนว่ายตายเกิด  ย่อมอยู่ในเกณฑ์ที่จะถือกำเนิดเหล่านี้ทั้งสิ้น    เพราะฉะนั้นเทวดาก็ดี   พรหมก็ดี   ไม่ใช่จุดประสงค์ที่พระพุทธศาสนามุ่งหมาย   เพราะยังไม่พ้นไปจากทุกข์ได้

ความเกิดจัดว่าเป็นทุกข์  เพราะเป็นความวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น   ด้วยเหตุที่ว่า  เราไม่สามารถจะเกิดขึ้น   โดยไม่พ่วงเอาทุกข์อื่น ๆ    ติดมาด้วยได้  ความแก่,  ความตาย,   ความโศก, และ ความทุกข์กายทุกข์ใจ   อีกเป็นอันมาก   จะมีได้ก็เพราะมีความเกิดมาก่อน   ดังนั้นความเกิดจึงเป็นประตู   ความทุกข์ทั้ง  10  ข้อ ต่อ ๆ  ไป   คนฉลาดกลัวความเกิด  ไม่ใช่กลัวความตาย     เพราะความเกิดนั้นเองเป็นเหตุให้ต้องตาย   ถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียวก็ไม่ต้องตาย  ซ้ำยังไม่ต้องลำบากในการเป็นทาส  ต่อสู่กับมรสุมชีวิตเพื่อหาเลี้ยงดูร่างกายและบุตรภริยาจนกว่าตัวเองจะเปื่อยเน่าแตกสลายไปอีกด้วย

ในกรณีที่ว่า “ การเข้าไปยึดถือขันธ์  5”  ที่บาลีใช้ว่า  “อุปาทานักขันธ์”  นั้น   เป็นข้อที่น่าคิดอยู่มาก   เพราะอุปาทานก็ไม่ใช่ทุกข์,  ขันธ์เฉย ๆ  ก็ไม่ใช่ทุกข์  ที่ประสงค์ในอริยสัจ  โดยพระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า   “อุปาทานขันธ์ 5  เป็นทุกข์”   ไม่ได้ตรัสแยกเลยว่า   ขันธ์เฉย ๆ  หรือ  อุปาทานเฉย ๆ เป็นทุกข์ในอริยสัจ

คำว่า  “อุปาทานขันธ์”   หมายถึงขันธ์ที่บุคคลยึดถือ หรือพูดง่าย ๆ   ว่าขันธ์ของปุถุชนคือคนยังไม่สิ้นกิเลส  ขันธ์เช่นนี้เป็นทุกข์แท้  ส่วนขันธ์ของพระอรหันต์ซึ่งอุปาทานขันธ์   คือขันธ์ที่มิได้ยึดถือนั้น  แม้จะเชื่อว่าเป็นทุกข์ด้วยเหตุทนอยู่ไม่ได้   ต้องแก่,  เจ็บ,  ตาย   แปรปรวนไป  แต่พระอรหันต์ท่านหาได้ทุกข์ไปตามขันธ์นั้นไม่   ในเมื่อขันธ์อันเป็นวิบาก  คือผลของตัณหาที่แล้ว ๆ  มายังมีอยู่   ขันธ์นั้นก็ตกอยู่ในสภาวทุกข์ตามสภาพของมัน  แต่เมื่อท่านไม่มีความยึดถือ ไม่พลอยทุกข์ไปด้วย  เพราะดับเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว  ก็ไม่จำต้องกล่าวถึง  อุปาทานขันธ์หรือขันธ์ของพระอรหันต์  รวมเข้าในทางอริยสัจ

ส่วนขันธ์ของปุถุชน เป็นขันธ์ที่รวมทุกข์ทั้งโดยสภาพและทุกข์โดยยึดถือด้วยตัณหาอุปาทาน  นอกจากนั้นยังเป็นขันธ์ที่ทำให้เกิดกิเลส   กรรม  และวิบาก   คือ  วงกลม    3  เปลาะ อันเต็มไปด้วยความเกิด  แก่  เจ็บ  และตาย

หมายเลขบันทึก: 215817เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2008 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สมุทัย

คำว่า “สมุทัย” ซึ่งแปลว่า เหตุให้ทุกข์เกิด เหตุให้ทุกข์เกิดนั้นท่านว่า ได้แก่ “ตัณหา” คือความอยากได้ ตัณหาทำให้เกิดทุกข์ต่าง ๆ ในชีวิตนี้แล้ว ยังเป็นเหตุให้คนเวียนว่าย ตาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย และ เสวยทุกข์อื่น ๆ ต่อไปไม่สิ้นสุด ท่านจึงกล่าวว่า “เป็นตัวก่อภพ-ก่อชาติ ไม่รู้จักจบ” ตัณหานั้นมี 3 คือ

1. กามตัณหา ความอยากในกามคุณ มีรูป เสียง เป็นต้น

2. ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น

3. วิภวตัณหา ความอยากไม่มีหรือไม่เป็น

กามตัณหา

ความอยากเห็นอยากฟัง อยากสูดกลิ่น อยากลิ้มรส อยากสัมผัส สิ่งที่ดีงาม ถูกอกถูกใจ หรือที่ตนเกิดความต้องการที่เจือ ด้วยกามารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ความอยากที่เป็นผู้มีชีวิตอย่างสามัญชนทั่ว ๆ ไป ก็จัดเป็นกามตัณหา

ภวตัณหา

ความอยากเป็นเจ้าของ หรืออยากมีอารมณ์ คือ รูป เสียง เป็นต้น ก็ดี ความอยากมีอยากเป็นอื่น ๆ ก็ดี ซึ่งเป็นความปรารถนาของปุถุชนโดยทั่ว ๆ ไป แม้ เคยดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานใดก็อยากอยู่ในสภาพนั้น ๆ ไม่อยากจากไปก็เป็นภวตัณหา เหมือนกัน

วิภวตัณหา

ความอยากไม่ให้สิ่งที่ตนมีอยู่ หรือเป็นอยู่นั้น ๆ เสื่อมสิ้นไปก็ดี ความไม่อยากมี หรือ เป็นดังที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ก็ดี แม้การเบื่อหน่ายในภาวะของตน เช่น กรณีของหนุ่มที่เห็นสาวคนรักกินยาฆ่าตัวตาย ก็สังหารตัวเองตายไปด้วย ถือว่า อยู่ในภาวะนั้น ๆ หาความสุขไม่ได้จึงอยากตายเสีย ในบางกรณีเขาเสนอตำแหน่งฐานะให้ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น ก็ดี ล้วนแต่เป็นวิภวตัณหา

เมื่อจำแนกตัณหาออกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นได้ชัดดังนี้แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่สัตว์มนุษย์ ขึ้นไปจนถึงเทวดาและพรหม ต่างพากันเวียนว่ายอยู่ในสาครคือตัณหาอันเป็น “สมุทัย” เหตุเกิดทุกข์ อย่างน่าสลดสังเวชใจ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้หวังความหลุดพ้นจากทุกข์ จะควรหลงใหลใฝ่ฝันในเรื่องสวรรค์วิมานกันอยู่หรือ? ในเมื่อแม้แต่เทวดาและพรหมทั้งหลายเมื่อจุติจากภพนั้น ๆ แล้ว อาจจะไปเกิดเป็นสัตว์นรก หรือสัตว์ดิรัจฉานก็ได้ ถ้าถึงคราวที่กรรมชั่วที่ตัวทำไว้ในภพก่อนมีโอกาส อำนวยผล ดังพระพุทธวจนะตรัสไว้ ยืนยันว่า

“คนผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมท่องเที่ยวสู่ความเป็นอย่างนี้ และอย่างอื่นสิ้นกาลนานไม่ล่วงสังสารวัฏไปได้”

นิโรธ

นิโรธ เรียกเต็ม ๆ ว่า “ทุกขนิโรธ” แปลว่า ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ กล่าวคือ “นิโรธ” เป็นการแสดงผลเสียก่อน เท่าที่รู้เหตุผล เรื่องทุกข์มาแล้วว่า ทุกข์เป็นอย่างไรและเกิดขึ้นเพราะอะไรนั้น มิใช่ว่าจะมีแต่ทุกข์ไปเสียทั้งหมดโดยไม่มีความสิ้นทุกข์บ้างเลยความจริงเมื่อมีทุกข์แล้ว ความดับทุกข์ก็ย่อมมีเป็นของคู่กัน แต่การดับทุกข์นั้น ต้องดับเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์จึงจะดับได้ อยู่ดี ๆ ทุกข์ดับไปเองไม่ได้ ถึงดับได้ก็กลับเกิดมาอีกไม่รู้จักจบจึงชื่อว่าไม่ดับอยู่นั้นเอง

ความดับทุกข์ในที่นี้ หมายถึงความดับได้อย่างเด็ดขาด ด้วยการกระทำของผู้ปฏิบัติจัดเป็นผลอันสูงสุด ตามที่มุ่งหมายในทางพระพุทธศาสนา การเสวยกามสุขด้วยความเป็นมนุษย์หรือเทวดาก็ดี การเสวยปีติสุขหรือฌานสุข ด้วยความเป็นพรหมก็ดี ก็ยังมีโอกาสได้ชั่วครั้งชั่วคราว บางทีก็มีทุกข์อื่นมาสลับเสีย หรือสุขนั้นแปรปรวนไปเสีย และบางทีสิ้นบุญที่จะได้เสวยสุข ถึงคราวที่จะเสวยผลของบาปบ้าง ก็ต้องไปทนทุกข์ทรมานเสวยทุกข์ วนเวียนสับเปลี่ยนกันไปไม่แน่นอน เพราะผู้ที่เกิด ๆ ตาย ๆ อยู่เสมอ ย่อมทำทั้งกรรมดี และกรรมชั่วไม่โดยความจำเป็นบังคับก็โดยหลงใหลมัวเมา

ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่ยกย่องกามสุข ไม่ยกย่องสวรรค์ว่าเป็นสภาวะสูงสุดหากสอนให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสุขที่สุดแท้จริง คือ “ความดับทุกข์ได้” อันเรียกตามศัพท์ว่า “นิโรธ”

มรรค

คำมคธ เป็น มคฺค สันสกฤต เป็น มารฺค ภาษาไทยนำมาใช้เป็น “มรรค” แปลว่า ทาง มรรคนั้นเป็นเพียงคำเรียกย่อ ๆ คำเต็มคือ “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” แปลว่าข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายว่า มีทางอยู่ 3 สาย คือ

สายที่1 หย่อนเกินไป เรียกว่า “กามสุขลิกานุโยค” แปลว่า การประกอบตนให้มัวเมาอยู่กับกามสุข

สายที่ 2 ตึงเกินไป เรียกว่า “อัตตกิลมถานุโยค” แปลว่า การประกอบตนไว้ในความลำบาก หรือการทรมานตน ได้แก่การกระทำของพวกที่ทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุสิ่งที่ประสงค์

ทางที่ตึงเกินไป และหย่อนเกินไปทั้ง 2 สายนี้ เป็นทาง “สุดโต่ง” เป็นทางที่ไม่ควรดำเนิน

มีทางสายกลางอยู่ทางหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างสุดโต่งทั้ง 2 นั้น ที่ควรดำเนินคือมรรค 8

ทางสายกลางซึ่งมีข้อปฏิบัติ 8 ประการ ที่จะกล่าวนี้ แบ่งส่วนย่อยในการอบรมขัดเกลาเป็น 3 คือ

1. ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า ศีล มี 3 ข้อ

2. ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า สมาธิ มี 3 ข้อ

3. ส่วนที่อบรมทิฏฐิความเห็น เรียกว่า ปัญญา มี 2 ข้อ

ส่วนที่อบรมกายกับวาจา

ข้อที่ว่า ส่วนที่อบรมกายกับวาจาเรียกว่า ศีล มี 3 ข้อ คือ

1.สัมมาวายามะ-พยายามชอบ

2. สัมมากัมมันตะ-การกระทำชอบ

3.สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ

ส่วนที่อบรมจิต

ข้อที่ว่าส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า สมาธิ มี 3 ข้อ คือ

1. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ

2. สัมมากัมมันตะ-ระลึกชอบ

3. สัมมาสมาธิ -ตั้งใจมั่นชอบ

ส่วนที่อบรมทิฏฐิ

ส่วนที่อบรมทิฏฐิ ความเห็น เรียกว่า ปัญญา นั้นมี 2 ข้อ คือ

1. สัมมาทิฏฐิ-ปัญญาอันเห็นชอบ

2. สัมมาสังกัปปะ-ดำริชอบ

ดังนั้น มรรค 8 ก็สรุปลงในสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเอง และมรรค 8 นี้ ไม่พึงเข้าใจว่าทาง 8 สาย แท้จริงมันเป็นทางสายเดียว แต่มีส่วนประกอบ 8 ช่อง เหมือนเชือกเส้นเดียว แต่มี 8 เกลียว หรือแกงถ้วยเดียว แต่มีเครื่องประกอบถึง 8 อย่าง ฉะนั้น

นายณรงศักดิ์ แสนทวีสุข

เนื้อหาจับใจความได้ดีมากๆครับ

Very valuable lessons. Thank you.

อริยสัจ = อริยะ [ariya] + สัจจะ [sacca]

Perhaps, we should understand the term 'ariyasacca' in details. From Digital Pali Reader dictionary:

Ariya (adj. -- n.) [Vedic ārya, of uncertain etym. The other Pāli forms are ayira & ayya] 1. ;(racial) Aryan D ii.87. <-> 2. (social) noble, distinguished, of high birth. -- 3. (ethical) in accord with the customs and ideals of the Aryan clans, held in esteem by Aryans, generally approved Hence: right, good, ideal. [The early Buddhists had no such ideas as we cover with the words Buddhist and Indian Ariya does not exactly mean either. But it often comes very near to what they would have considered the best in each]...

Sacca (adj.) [cp. Sk. satya] real, true D i.182; M ii.169; iii.207; Dh 408; nt. saccaŋ truly, verily, certainly Miln 120; saccaŋ kira is it really true? D i.113; Vin i.45, 60 J i.107; saccato truly S iii.112. -- (nt. as noun) saccaŋ the truth A ii.25, 115 (parama˚); Dh 393; also: a solemn asseveration Mhvs 25, 18. Sacce patiṭṭhāya keeping to fact, M i.376. -- pl. (cattāri) saccāni the (four) truths M ii.199; A ii.41, 176; Sn 883 sq.; Dhs 358. -- The 4 ariya -- saccāni are the truth about dukkha, dukkhasamudaya dukkha -- nirodha, and dukkha -- nirodha -- gāminipaṭipadā. Thus e. g. at Vin i.230; D ii.304 sq.; iii.277 A i.175 sq.; Vism 494 sq.; VbhA 116 sq., 141 sq. A shortened statement as dukkha, samudaya, nirodha magga is freq. found, e. g. Vin i.16

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท