Blueprint for Change


การทำ Blueprint for Change ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง กองใดกองหนึ่ง หรือของคณะทำงานฯ เท่านั้น งานนี้คิดแยกส่วนไม่ได้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ข้อมูลที่จำเป็น การให้ความคิดเห็น สร้างหลักประกันว่าทำแล้วชีวิตจะดีขึ้น เป็นโจทย์การทำงานในเชิงรุก

            เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ระยะที่ 2 ตามกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2549  โดยในช่วงเช้าได้เรียนเชิญ ดร.อรัญ โสตถิพันธุ์  ที่ปรึกษา กพร. มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดทำข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้บริหาร และบุคลากรในองค์กร  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเพื่อการเปลี่ยนแปลงของกรมฯ ให้มากขึ้น   โดยสรุปสาระสำคัญของการบรรยาย ได้ดังนี้   

        เหตุผลที่ Blueprint for Change ยังต้องทำต่อ

        1. มีกฎหมาย 2 ฉบับ  ที่ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนเข้ามาเป็นรัฐบาล จะต้องยึดกุม และผลักดัน กม. 2 ฉบับนี้อย่างแน่นอน คือ

             - ร่าง พรบ.ข้าราชการพลเรือน ฉบับใหม่  - ทำให้ชีวิตข้าราชการดีขึ้น  มีการจัดทำ Career Path (ความก้าวหน้าสายงานอาชีพ)  และ จัดทำ Income Structure (โครงสร้างเงินเดือนใหม่)

             - ร่าง พรบ. วิธีการงบประมาณแบบใหม่  - ทำให้ส่วนราชการ ตั้งงบประมาณคุ้มค่าขึ้น   ต้องมีการทำบัญชีต้นทุน

         2. Blueprint for Change - เป็นเรื่องของการปรับกระบวนการทำงานให้ไฉไลขึ้น   มีผลต่อคนทำงาน  2  ด้าน

             - ด้านความรู้ความสามารถ - ที่ต้องใช้ในการทำงานตามกระบวนการใหม่

             - ด้านอัตรากำลัง - ต้องมีเท่าไร จึงจะ Fit ต่อกระบวนงานใหม่  และควรมี Job Rate หรือ ค่างาน เท่าไร  และเป็นตัวบอกว่า ใครควรจะได้รับเงินเดือนมากกว่ากัน

             ร่าง พรบ.ข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ จะให้หน่วยงาน มีการจัดสรรคนลงเอง  ทำ Job Rate เอง ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงาน หรือ การทำ  Blueprint for Change  ของหน่วยงาน

         ทำ Blueprint for Change แล้ว ได้ประโยชน์อะไร

         - เป็นการตัดสินอนาคตของตัวเอง  - เป็นการทำ Job Rate ของตัวเอง และลูกน้อง   

         - การทำ Blueprint for Change ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง กองใดกองหนึ่ง หรือของคณะทำงานฯ เท่านั้น งานนี้คิดแยกส่วนไม่ได้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทำ  มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ข้อมูลที่จำเป็น การให้ความคิดเห็น  สร้างหลักประกันว่าทำแล้วชีวิตจะดีขึ้น  เป็นโจทย์การทำงานในเชิงรุก

         Strategy Focused Organization

         - การบริหารราชการแนวใหม่  มีการปรับให้หน่วยราชการ เป็นองค์กรที่ยึดยุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลาง  ความจริงส่วนราชการยึดยุทธศาสตร์มานานแล้ว แต่เรียกว่า นโยบาย

         -คำว่า "ยุทธศาสตร์"  รัฐบาลชุดที่ผ่านๆ มา และต่อไป จะมีมิติของการค้าขายมากขึ้น จากนี้ไป ส่วนราชการจะต้องเป็นองค์กรที่ยึดยุทธศาสตร์เป็นศุนย์กลาง

         - "ยุทธศาสตร์"  - ศาสตร์แห่งการยุทธ  หมายถึง หลักที่หากยึดตามนี้แล้ว จะรบชนะ  รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง 

         - ส่วนราชการ หลักที่ต้องยึดไว้ คือ เป้าประสงค์ของประเด็นยุทธ จะเปลี่ยนกลยุทธ แผนอย่างไรก็ได้ แต่ต้องบรรลุเป้าประสงค์  นำเป้าประสงค์มาหา เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ หรือ Critical Success Facter (CFS) 

          - ต่อไป ภาคราชการจะต้องคิดในมิติของการค้ามากขึ้น

          -Tactic - เป็นกลยุทธ์ที่ไม่อยากบอกใคร บอกแล้วเป็นเรื่อง เปิดเผยไม่ได้  แต่ Strategy - เป็นเรื่องที่เปิดเผยได้ 

          -ในโลกของความเป็นจริง  - ใน 1 กลยุทธ์  มีทั้ง Strategy และ Tactic

          -การทำ Blueprint for Change เป็นการปรับปรุงการทำงานของส่วนราชการให้ไฉไลขึ้น  ถ้าเป็นภาพยนตร์ก็จะมีด้วยกัน 4 ภาคด้วยกัน

           ภาค 1  - เป็นการปรับปรุงงาน  มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ โดยกำหนดจาก CSF  ภาคนี้จบไปแล้ว เป็นการให้ความคิดเห็นว่า ยุทธศาสตร์ที่ทำมานั้น ถูกต้อง เดินได้จริงๆ โดยเอายุทธศาสตร์มาหางานที่ต้องทำ และปรับปรุงงานเพื่อเสริมส่งให้กลยุทธ์บรรลุผลสำเร็จ นั่นคือ การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ

           ภาค 2 -  ปรับปรุงคน   เป็นการหาสมรรถนะ หรือ Competency ของคนทำงาน ที่สามารถทำงานแบบใหม่ได้

           ภาค 3 - การ Support เรื่องข้อมูล หรือ การจัดการความรู้  การที่คนจะทำงานดังกล่าวได้ จะต้องมีฐานข้อมูลอะไร ในการทำงาน  องค์กรที่เรียนรู้ หัวใจอยู่ที่คน ถ้ามีข้อมูลอยู่ตรงหน้า แต่คน ไม่รู้จักเรียนรู้ ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อให้มีข้อมูล Database ดีอย่างไร ก็สูญเปล่า  วันนี้เรื่อง KM อย่าเคร่งครัดว่าจะต้องทำให้เกิด LO ( Learning Organization) เลย การทำ KM อยู่ที่จริตคน การบ่มเพาะจริตคน เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา  การจัดเก็บความรู้ จะต้องสนับสนุนกระบวนการทำงานที่ปรับปรุงใหม่  การทำ KM  ต้องตอบให้ได้ว่า ความรู้อะไรจำเป็นต้องจัดเก็บ จัดเก็บในรูปไหน  ใครบ้างที่ควรเข้าถึงได้ และคนเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องอะไรได้บ้าง

          ภาค 4 - การทำเรื่องวัฒนธรรมองค์กร (Culture)  วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง พฤติกรรมรวมหมู่ ที่ปฏิบัติกันจนปกติ มีความเชื่อบางอย่างร่วมกัน เป็นค่านิยมร่วมกันในองค์กร

          โดยสรุป การจัดทำข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง  คือ  เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน  เปลี่ยนแปลงสมรรถนะของคนทำงานให้สอดคล้องกับวิธีการทำงาน  เปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดการความรู้ ที่สนับสนุนการทำงาน  และเปลี่ยแปลงในเรื่อง วัฒนธรรมการทำงานขององค์กร.....

 

            

         

 

            

          

             

 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21581เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

- ขอบคุณ สําหรับการสรุ ปบทเรียนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทํางานภาครัฐแนวใหม่  ขอเป็นกําลังใจให้ทําต่อไปนะคะ

 

ดีครับ แต่น่าเสียดายมาก เดินขึ้นไปแอบดูมีคนไม่มากเลย ไม่ทราบว่าแจ้งกันทั่วหรือไม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท