ผลงานวิชาการ ชุด พัฒนาภาษาไทย


คำเป็นคำตาย

คำเป็น คำตาย  จัดทำเป็นผลงานวิชาการ 

เอกสารประกอบการเรียน

ชุด  พัฒนาหลักการใช้ภาษาไทย

เล่ม    คำเป็น คำตาย 

 

 

 

 

 

 


โดย   นางเดือนฉาย   นิลสวิท

ครูชำนาญการพิเศษ    โรงเรียนบ้านทุ่งขาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง  เขต 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

การอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง

คำเป็น  คำตาย

 

 

 


                   ลักษณะของคำเป็นและคำตาย 

คำตาย  เป็นลักษณะของภาษาไทยที่กล่าวไว้ในตำราอักขรวิธีว่า    เป็นพยางค์หรือคำที่ประสมเสียงสั้นในมาตราแม่   กา  เช่น  กะ  จิ  ดุ  ฯลฯ  และเป็นพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงในมาตราแม่  กก  กด  และกบ  เช่น  กัก  จิก  โปรด  รอบ  ภาพ  และอื่น ๆ

            พยัญชนะท้ายคำเหล่านี้เราเรียกว่า  ตัวสะกด  การออกเสียงพยัญชนะตัวสะกดที่อยู่ท้ายคำนี้  เราจะใช้วิธีกดเสียงไว้ไม่ให้ระเบิดเสียงออกมาอย่างพยัญชนะต้น  คือเวลาออกเสียง ลมหายใจที่พุ่งออกมาจากหลอดลมจะถูกกักไว้ในปาก คำใดที่มีเสียงพยัญชนะในมาตราแม่  กก กด และกบ เป็นตัวสะกด  เราเรียกว่า  คำตาย เพราะเสียงเหมือนตายนิ่งอยู่ในปาก ไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้เลย เช่น รก  รัด  รบ  แต่ถ้าเป็นคำที่มีพยัญชนะในแม่  กง  กน  หรือกม  เป็นตัวสะกด  เราเรียกว่า  คำเป็นเพราะมีเสียงเล็ดลอดออกมาทางจมูกได้บ้าง

            คำตายนั้น  เรานำมาใช้ประโยชน์ในการผันเสียงวรรณยุกต์  เพื่อกำหนดเสียงให้แน่นอนว่าพยัญชนะต้นเสียงนั้น ๆ  เมื่อมีเสียงพยัญชนะท้ายเป็นเสียงคำตาย  เราควรจะออกเสียงเป็นเสียงใด  เช่น 

            อักษรกลางคำตาย  จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้เพียง ๔ เสียง คือ เสียงเอก  โท  ตรี  และจัตวา  เช่น  กัก  กั้ก  กั๊ก  กั๋ก  กาก  ก้าก   ก๊าก   ก๋าก 

            อักษรสูงคำตาย  จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้เพียง ๒ เสียง คือ เสียงเอก  และโท  เช่น  ขัด  ขั้ด  ขาด  ข้าด 

            อักษรต่ำคำตายเสียงสั้น  จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้ ๓ เสียง คือ  โท  ตรี  และจัตวา  เช่น  ค่ะ  คะ   ค๋ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                   สรุปลักษณะของคำเป็นและคำตาย 

คำเป็นและคำตาย  มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังนี้

 คำเป็น  มีลักษณะ ดังนี้

.  ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่   กา  ไม่มีตัวสะกด  เช่น  ปูนา   ตาดี   ปีจอ  พอใจ    เป็นต้น

. คำที่มีตัวสะกดในมาตรามาตราแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว  เช่น   เสียงดัง   เวียนเทียน   โครมคราม  บ่ายคล้อย   เขียวขาว   เป็นต้น

. คำที่ประสมด้วยสระ  อำ   ใอ   ไอ   เอา  เพราะมีเสียงตัวสะกดแม่กม  เกย   เกอว  เช่น  ใจดำ   น้ำไหล  เกาเหลา   ใบไม้  เป็นต้น

คำตาย  มีลักษณะ ดังนี้

. ประสมด้วยสระเสียงสั้นในมาตราแม่   กา   ไม่มีตัวสะกด  ยกเว้นสระ  อำ  ไอ  ใอ   เอา  เช่น   กะทิ   เฉอะแฉะ   มะลิ  เกะกะ  เป็นต้น

.  คำที่มีตัวสะกดในมาตรามาตราแม่  กก  กด  กบ  เช่น   บวกลบ   อึดอัด   ซุบซิบ   ผักกาด  สกปรก  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

                อักษรต่ำคำตายเสียงยาว  ผันเสียงวรรณยุกต์ได้   เสียง คือ  เอก  โท  และจัตวา  เช่น  คาด   ค้าด  ค๋าด     

            เราสามารถนำคำตายซึ่งเมื่อฟังทีละคำจะรู้สึกติด ๆ  ขัด ๆ ไม่รื่นหู     มาเรียงร้อยเป็นถ้อยประพันธ์ที่ไพเราะได้  ดังบทกลอนจากศิลาจารึก   วัด  พระเชตุพน ฯ ซึ่งจารึกไว้ที่เสาต้นที่ ๑๖  นับจากพระวิหารทิศเหนือ  ไปทางทิศตะวันออก  ที่มีชื่อว่า  กลอักษรกลอนตาย  ซึ่งใช้เป็นแบบอย่างของ        คำประพันธ์กลบท  ดังนี้

                                                            เจ็บจิตคิดวิตกอัดอกอึด

เทวศนักรักจะหยุดสุดจะยึด                คิดเคียดขัดฮัดฮึดประพฤติมุ

พิโรธรักฉะยักยอกฉิกลอกกลับ           เถิดจะลับมีดเชือดคิดเดือดดุ

ผิดก็มอดชีพหน๋ะเพราะงะงุ                 กับติดตรุตรากยากวิบากซัด

จะพรากรักชักมิตรประดิษฐ์พูด          อกจะครากปากจะบูดจะบอกรหัส

ชาติมหิตผิดก็แหลกแตกสักนัด           ประมาทระมัดละเมิดเถิดลูกละ

วิตกเกลือกนุชนาฏจะมาดจิต              ยกหยิบผิดผูกพิโรธโกรธนักหนะ

เหตุรักญาติอาจคิดจิตมะนะ                กลับสละสัตย์สะบัดสิเฉียดชวด

จะสุดฤทธิ์เงียบแงบแทบปัดสวาท      ชีพจะขาดโศกรักตกคลักดวด

ระลึกนุชสุดวิตกอกออกงวด               จิตเจ็บปวดเปรียบพระจักรหรัดราช

ทศพักตร์ลักขนิษฐ์ปลิดจากหัตถ์        พระพรากพลัดอัครเรศเทวษสวาสดิ์

ยกพยุหประชิดคิดพิฆาต                     สัตยาปราบวินาศประสบนุช

ถูกกับอกตกจะละมะนะดึก                เกียรติตริตรึกขนิษฐ์นาฏจะขาดหลุด

ชอบปลุกเสกอิทธิฤทธิ์คิดประทุษ      สารสมมุติชื่อ  อักษรกลอนตาย  เอย   

อ่านคำประพันธ์กลอักษรกลอนตาย แล้ว  คงเห็นความสำคัญของคำตายแล้วนะคะ เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์รักษาภาษาไทยไว้ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นคนไทยนะคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เข้าใจดีแล้ว  ไปฝึกวิเคราะห์คำ

หรือพยางค์ว่าคำใดเป็นคำตาย

 เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

แบบฝึกเล่ม  ๗/๑

วิเคราะห์ลักษณะคำเป็นคำตาย แล้วบอกว่าใช่หรือไม่ใช่ พร้อมบอกเหตุผล

                ศึกษาเนื้อหาเข้าใจดีแล้ว  ก็ให้นักเรียนตอบคำถาม เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ โดยอ่านและวิเคราะห์คำถามให้เข้าใจแล้วจึงค่อยตอบ  ไม่ต้องรีบร้อน ค่อย ๆ ตอบเป็นช่วง ๆ ไป จะตอบถูกหรือตอบผิดไม่ต้องกังวลใจ  หากไม่เข้าใจให้กลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่อีกครั้ง  ครูจะเป็นกำลังใจให้นะคะ

การวิเคราะห์คำแต่ละพยางค์ว่าเป็นคำเป็นหรือคำตาย

“เป็นคนไทยควรฝึกพูดภาษาไทยให้ชัดเจน”

 

คำว่า                เป็น      เป็นคำเป็น  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กน

คำว่า    คน       เป็นคำเป็น  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กน

คำว่า    ไทย     เป็นคำเป็น  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่เกย

คำว่า    ควร     เป็นคำเป็น  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กน

คำว่า    ฝึก       เป็นคำตาย  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กก

คำว่า    พูด       เป็นคำตาย  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กด

คำว่า    ภา        เป็นคำเป็น  เหตุผล    ประสมสระ  อา  เสียงยาว

คำว่า    ษา       เป็นคำเป็น  เหตุผล    ประสมสระ  อา  เสียงยาว

คำว่า    ให้       เป็นคำเป็น  เหตุผล    ประสมสระ  ใอ  ออกเสียงตัวสะกดมาตราแม่กม

คำว่า    ชัด       เป็นคำตาย  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กด

คำว่า    เจน      เป็นคำเป็น  เหตุผล    ตัวสะกดมาตราแม่กน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 215440เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท