นิยามศัพท์การวิจัยที่ควรทราบ


นักวิจัยต้องทำความเข้าใจความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ในการวิจัย เพื่อนำไปใช้ในการเขียนรายงานวิจัยที่ถูกต้อง รวมทั้งสื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจมาขึ้นครับ
1. แนวคิด    หมายถึง คำ วลี ที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก การตีความขึ้นกับความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่าน คำเหล่านี้ ได้แก่ สุขภาพดี ความเจ็บปวด ภาวะไข้ เป็นต้น

2. คำนิยามปฏิบัติการ (Operational definition)  เป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี ตัวอย่างเช่น

คำว่า “ภาวะไข้” ในการวิจัยนิยามปฏิบัติการจะให้ความหมายว่า หมายถึง “ภาวะที่อุณหภูมิกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส โดยการวัดอุณหภูมิทางทวารหนักเป็นเวลา 2 นาที สอดเทอร์โมมิเตอร์ลึกประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร จะเห็นว่าจากตัวอย่าง การตีความ ภาวะไข้จะได้ขอบเขตความหมายชัดเจน และการจะระบุว่ามีไข้หรือไม่จะระบุตรงกัน

3. ตัวแปร (Variables)    หมายถึงสิ่งที่เปลี่ยนค่าได้เป็นหลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งสนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ และแจกแจงได้หลายค่า ในการทำวิจัย เมื่อนำแนวคิดมาระบุนิยามปฏิบัติการแล้ว จะกลายเป็นรูปของตัวแปร เช่นความเจ็บปวด มีการแปรค่าได้เป็น เจ็บน้อย ปานกลาง เจ็บมาก หรือให้ค่าเป็นตัวเลข 1 ถึง 3 หรือภาวะไข้ อาจแปรค่าเป็นไข้สูง ไข้เล็กน้อย ไม่มีไข้ หรือระบุค่า อุณหภูมิของกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส. ลงไปก็ได้ หรือแม้แต่ค่าความคิดเห็น แปรค่าเป็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง จนถึงไม่เห็นด้วยเป็นต้น โดยทั่วไปตัวแปรมี 3 ชนิด คือตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม และตัวแปรภายนอกหรือตัวแปรแทรกซ้อน

4. ค่าสังเกต (Observation)   หมายถึง ค่าที่วัดได้ของตัวแปร วัดได้จากตัวอย่างแต่ละหน่วย เช่น การศึกษาน้ำหนักแรกเกิดของทารกเพศหญิงจากการผสมเทียม น้ำหนักแต่ละคนที่วัดได้ เรียกว่าค่าสังเกต

5. ข้อมูล (data)    หมายถึง ชุดของค่าสังเกตที่วัดได้ จากกลุ่มตัวอย่าง ชุดหนึ่ง ๆ เช่นการวิจัยมีตัวอย่าง 100 คน ค่าน้ำหนักแต่ละคน 100 คนที่วัดได้คือชุดของค่าสังเกต เรียกว่า ข้อมูล

6. หน่วยวิจัย (Subject)    หมายถึง หน่วยเบื้องต้นมีลักษณะที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา อาจเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ เช่น การสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชวิถี หน่วยวิจัย คือผู้ป่วยที่ได้รับการเลือกขึ้นมาศึกษา

7. ตัวอย่าง (Sample)   หมายถึง ลักษณะที่ผู้วิจัยศึกษา ได้มาจากการเลือกมาเพียงบางส่วนของประชากร โดยมุ่งหมายว่าตัวอย่างที่เลือกมาจะเป็นตัวแทนของประชากร ตามตัวอย่างใน ข้อ 6 ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการในหอผู้ป่วยหนักเฉพาะคนที่เลือกขึ้นมาเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม เรื่องความพึงพอใจ บางกรณีตัวอย่างกับหน่วยการวิจัยเป็นสิ่งเดียวกันได้

8. ประชากร (population)   หมายถึง หน่วยทั้งหมดที่มีลักษณะที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษา จากงานวิจัยเรื่อง สำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารักษาที่หอผู้ป่วยหนัก ในโรงพยาบาลราชวิถี ประชากรคือ ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลราชวิถี

9. ประชากรเป้าหมาย (target population)    หมายถึงประชากร ที่ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตหรือคุณสมบัติขึ้น โดยมีความมุ่งหมายจะให้ผลการวิจัยสามารถนำมาสรุปรวมกลุ่มประชากรเป้าหมายนี้ด้วย เช่นการสำรวจสัตว์น้ำในอ่าวไทยประชากรเป้าหมาย คือสัตว์น้ำทุกชนิดในทะเลเฉพาะอ่าวไทยเป็นต้น

10. การเลือกตัวอย่าง (sampling)   เป็นวิธีการเลือกบางส่วนของประชากรขึ้นมาศึกษา ซึ่งทำได้หลายวิธี เป็นต้นว่ากำหนดลงไปเลยว่าต้องการหน่วยใด ของประชากรบ้าง หรือใช้การจับฉลาก หรือการกำหนดโควต้า เป็นต้น

11. การเป็นตัวแทน (representativeness)    ในการวิจัยหมายถึง การที่ตัวอย่างหรือหน่วยวิจัย มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับคุณสมบัติของประชากร การจะเป็นตัวแทนประชากรได้นั้น การเลือกตัวอย่างจะต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสม ซึ่งการจะใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบใด ขึ้นกับลักษณะของประชากร และคุณสมบัติที่ต้องการจะศึกษา

12. การสุ่ม (randomization)  เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ของการที่แต่ละหน่วยของประชากรจะถูกเลือกมาเป็นตัวอย่าง และ/หรือแต่ละหน่วยของตัวอย่างจะถูกจัดเข้าไว้ในกลุ่มหรือของการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอคติที่จะเกิดขึ้นจากการเลือก วิธีการดังกล่าวอาจใช้การจับฉลาก ทอดลูกเต๋า หรือใช้ตารางเลขสุ่ม

13. ตัวอย่างสุ่ม (random sampling)    หมายถึงตัวอย่างที่ถูกเลือกมาจากประชากร โดยวิธีแต่ละหน่วยของประชากร มีโอกาสในการถูกเลือกเท่าเทียมกัน

14. การออกแบบการวิจัย (research design)    เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยนักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเพื่อมุ่งในการหาคำตอบที่จะตอบ วัตถุประสงค์การวิจัยที่ดีที่สุด

15. โครงการวิจัย (research proposal)    เป็นแผนการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียดถึงขั้นตอนของการทำวิจัย – ทุกขั้น โครงการวิจัยจะสื่อถึงปัญหาวิจัย ความสำคัญและประโยชน์ในการศึกษา การเขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการขออนุมัติทำการศึกษา หรือเขียนขอทุนในการทำวิจัย และเป็นแม่แบบในการดำเนินการวิจัย

16. การจัดกระทำ (Manipulation)   หมายถึง สภาพการณ์หรือการกระทำที่ผู้วิจัยจัดขึ้น เพื่อการควบคุม หรือการกำหนดค่าตัวแปรอิสระ ในการวิจัยแบบทดลองหรือกึ่งทดลอง เพื่อวัดค่าจะมีผลใดเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ

17. สิ่งทดลอง (Treatment)    หมายถึง สิ่งที่ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทดลอง เพื่อเป็นการควบคุมหรือกำหนดค่าตัวแปรอิสระในการวิจัยทดลองหรือกึ่งทดลอง

18. ความเที่ยง (reliability)    หมายถึง ระดับความสม่ำเสมอ หรือความคงที่ที่เครื่องมือวิจัยวัดค่าของสิ่งที่ต้องการวัด

19. ความตรง (Validity)   หมายถึง ระดับความสมารถในการวัดที่เครื่องมือวิจัยจะวัดค่าของสิ่งต้องการได้ตรงความเป็นจริง

20. ระดับความมีนัยสำคัญ (The level significant)    หมายถึงระดับที่สามารถยอมให้มีการคลาดเคลื่อนได้ คิดเป็นร้อยละเท่าไร เช่น การเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และการเช็ดตัวด้วยแอลกอฮอล์ ช่วยทำให้ไข้ลดได้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่าในการทดสอบการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น และแอลกอฮอล์ 100 ครั้ง ยอมให้หรือจะเกิดความไม่แตกต่างกันเพียง 1 ครั้ง

คำศัพท์ต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นนะครับ ผู้วิจัยควรทราบและศึกษาให้เกิดความเข้าใจ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการเขียนรายงานการวิจัยได้อย่างไม่ผิดพลาด ผมยกตัวอย่างเพียงคำศัพท์วิจัยที่ใช้บ่อยเท่านั้นนะครับ

หมายเลขบันทึก: 214527เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีคะ น้องคนพลัดถิ่น

ขอบคุณนะคะที่มาประมวลทบทวนความรู้ให้พี ๆ

สวัสดีรับ พี่ประกาย และท่านผอ.ประจักษ์ สบายดีนะครับ

ความรู้เป็นสิ่งที่หอมหวานเสมอครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • สาระล้วนๆเลยค่ะ  ขอบคุณค่ะ ถ้าได้ทำวิจัยต้องมาปรึกษาแน่ๆ..อิอิ

ยินดีครับ ยินดี

ขอบคุณครับ ที่แวะมาเยี่ยมเยือนกัน

สวัสดีค่ะ

* ขอบคุณที่นำความรู้มาฝากค่ะ

* เป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

 

ขอบคุณครับ ครูพรรณา

สบายกาย สบายใจ นะครับ

รักษาสุขภาพด้วยครับ

สวัดดีค่ะคนพลัดถิ่น

ขอบคุณนะค่ะที่มามอบความรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้

- ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ

- เคยจะส่งวิทยฐานะ ประเมินผ่านไปแล้ว 2 ขั้นตอน แต่ต้องมาสะดุดแล้วก็ตัดสินใจไม่ส่ง ตรงงานวิจัยเนี่ยแหละคะ ทำไม่เป็นจริงๆ ( ยอมรับ อย่างหน้าไม่ชื่น พร้อมอกระบม)

 - หากตัดสินใจจะส่งผลงานอีก(กลับใจใหม่) จะกลับมาศึกษาและปรึกษาอีกรอบนะคะ

 

 

- พิมพ์ๆไป ได้ยินเสียงกระดิ่งที่ไหนดัง อ้อ...ที่หัวบล็อกนี่เอง

อิอิ ขอบคุณครับ ยินดีให้คำปรึกษาครับ

ตามมาขอบคุณที่นี่ด้วยนะคะ

blog หลากหลาย เส้น สี เสียง สีสัน ค่ะ

ไว้จะมาขอคำปรึกษาบ้างน

ขอบคุณค่ะ คุณคนพลัดถิ่นสำหรับความรู้เกียวกับงานวิจัย ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกแล้ว

  • ขอบคุณคุณอินและคุณพี่ครูลี่ด้วยนะครับ
  • พอดีเพิ่งจะกลับมาจากช่วยญาติขายของน่ะครับ
  • มาเจอแล้วก็ดีใจครับ ที่พอมีประโยชน์กับทุกคนบ้างครับ

สวัสดีค่ะคนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย)

  • ติดตามมาอ่านเรื่องหนักสมองหน่อย....ได้รับความรู้เยอะๆ    จะได้หลับสบาย.....อ่านแล้วง่วงพอดีค่ะ...โถก็ดึกมากแล้วจ้ะอยู่ได้นานนะนี่คืนนี้
  • ขอบใจคนรุ่นใหม่มากๆนะลูกที่นำความรู้ดีๆมาให้เสมอ
  • คุณครูได้ทบทวนและเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ
  • สวัสดีครับ
  • ยินดีครับ หากความรู้ที่ผมพอจะมี ได้เกิดประโยชน์กับพี่น้องชาว โกทูโนว บ้าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยินดีครับ
  • ขอบพระคุณครับ

คัดลอกคนอื่น มาหรรือเปล่า ว่ะ

ประวัต ก็ไม่บอกเป็น.......... อะไร ว่ะ กลัว เขารู้ หรอ ว่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท