เรื่องบางเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้...เกี่ยวกับสมอง


ในสมองของเรามีเซลสมองถึงราว 1 แสนล้านเซล ไม่มีใครเกิดมาแล้วมีเซลเพียงจำนวนหมื่น ทุกๆเซลในสมองรอให้เรา “เรียนรู้” กล่าวคือ เซลในสมองต้องการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันเอง เพื่อให้เกิด “วงจร” ขึ้นจำนวนมาก วงจรและเครือข่ายของเซลในสมองเรานี่เอง คือสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้

เรื่องบางเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้...เกี่ยวกับสมอง

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เอกสารประกอบการนำเสนอ “กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเขตพื้นที่อำเภอปางมะผ้า อำเภอ ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน”ภายใต้โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย”ดำเนินการโดย    มูลนิธิรักษ์เด็ก  (The Life Skills Development Foundation)สนับสนุนโดย      บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และองค์การ เชฟ เดอะ ซิลเดร็น(สหรัฐอเมริกา)

                    

บรรดานักวิจัยและนักพัฒนาที่แม่ฮ่องสอนเราคุยกันมากเรื่องของการพัฒนาศักยภาพคน เพื่อก้าวไปสู่การเรียนรู้และสร้างสรรค์ชุมชน  แต่ค่อนข้างจะพัฒนายาก อาจเป็นเพราะ พื้นฐานการพัฒนาทางด้านสมองของคนแต่ละคนแตกต่างกัน พอมาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสมองแล้ว ทำให้คิดว่า หากจะพัฒนาคน คงต้องเริ่มที่การพัฒนาสมอง ตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพที่คุ้มค่าที่สุด แม้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ประกอบกับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมสนใจเป็นทุนเดิม ก็เลยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดประชุมวงเล็กๆกันภายในอำเภอ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมไปถึงการดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ตามที่กล่าวมาข้างต้น เวทีเรียนรู้ที่ว่า น่าสนใจ ทุกภาคส่วนที่ได้มาเรียนรู้ร่วมกัน  ได้เรียนรู้ความมหัศจรรย์ของสมอง ตรงนี้เองเป็นพื้นฐานให้ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ต้องตระหนัก และเริ่มต้นการพัฒนาสมองของคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวมาเป็นสมาชิกในชุมชน ของชาติในอนาคต เรามาเรียนรู้เรื่องของสมองไปพร้อมๆกัน นะครับ

  • ความโง่ หรือความฉลาดของคนเรา ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แม้ว่าเราจะมีกรรมพันธุ์มาต่างกันแต่  “การเรียนรู้จากการฟัง คิด ถาม เขียน อ่าน และลงมือทำสิ่งต่างๆนั่นต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด”
  • ในสมองของเรามีเซลสมองถึงราว 1 แสนล้านเซล ไม่มีใครเกิดมาแล้วมีเซลเพียงจำนวนหมื่น ทุกๆเซลในสมองรอให้เรา “เรียนรู้” กล่าวคือ เซลในสมองต้องการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันเอง เพื่อให้เกิด “วงจร” ขึ้นจำนวนมาก วงจรและเครือข่ายของเซลในสมองเรานี่เอง คือสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้
  • สมองของเราเป็นระบบทางสรีรวิทยาที่ออกแบบเพื่อการเรียนรู้ ต้องการที่จะเรียนรู้และสมองเองรู้ดีโดยธรรมชาติว่าจะเรียนรู้อย่างไร เด็กทุกคนเริ่มหัดลืมตา คว่ำ คลาน นั่ง ยืน เดิน หัดเลียนเสียง กิน เคี้ยว กลืน (แรกๆ จะกลืนยังไม่เก่ง) กระบวนการเหล่านี้ได้พิสูจน์แล้วว่า สมองรู้จักวิธีการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากประสาทอัตโนมัติ ที่ทำได้ทั้งหมดก็เพราะเจ้าของชีวิตเรียนรู้ที่จะ “ทำ” ด้วยตัวเอง หน้าที่ของคุณครูและผู้ปกครองก็คือ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ของเขา
  • สมองเรียนรู้จากการลงมือทำ การลงมือทำหมายถึงว่า เราอาจเริ่มจากการผิด   แก้ไขที่ทำผิดนั้น เรียนรู้จากที่ผิดแล้วพยายามใหม่จนพบว่าอะไรที่เรียกว่าถูกต้อง สมองจะใช้งานชุดความรู้ที่ถูกต้องและจัดการลบแบบแผนที่ผิดทิ้งไป ลองคิดเทียบเคียงกับการหัดขี่จักรยานอย่างไร ในความรู้ที่ซับซ้อนมากๆ อาจต้องการการแนะนำ ช่วยเหลือบางอย่าง เพื่อให้สมองเรียนรู้เร็วขึ้นก็ได้
  • สมองเรียนรู้จากการฝึกฝน เพราะว่าการฝึกฝนเป็นกระบวนการที่เซลสมอง 2 เซลขึ้นไปเชื่อมโยงกับเดนไดรต์ซึ่งเป็นแขนงประสาทจะค่อยๆงอกสายใยประสาทออกไปโดยรอบ และเชื่อมโยงกับแอ็กซอนของเซลสมองอื่นๆ เรียกว่า ซินแนปส์ (Synapse) กระบวนการเช่นนี้แหละ คือสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้ ดังนั้น การฝึกฝนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การเรียนรู้อยู่ตัว
  • การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา เพราะการเรียนรู้เกิดจากการเติบโตและการเชื่อมโยงกันของโครงข่ายร่างแหเซลสมอง เกิดเป็นวงจรหรือ pathway เมื่อวงจรหนาแน่นอยู่ตัว ความรู้ความชำนาญก็เกิดขึ้น เด็กทุกคนเรียนรู้ด้วยอัตราความเร็ว (rates) และจังหวะ (rhythm) ต่างกัน เด็กอายุเท่าๆกันไม่จำเป็นต้องเรียนได้ในอัตราความเร็วเท่ากัน เด็กทุกคนย่อมมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการเรียนรู้หรือชอบวิธีเรียนรู้ต่างกัน (different style of learning) ไม่ควรคิดว่าเด็กอายุเท่ากัน จะมีพัฒนาการเท่ากัน ไม่ควรคิดว่าเด็กอายุเท่ากันต้องบรรลุผลการเรียนรู้เท่ากัน พร้อมกันเสมอไป เด็กที่เรียนรู้เร็วไม่ได้แปลว่ามี ความสามารถ สูงกว่าเด็กที่เรียนรู้ในอัตราความเร็วที่ช้ากว่า การประเมินการเรียนรู้ของเด็กเป็นได้ทั้งประโยชน์และก่อให้เกิดปัญหา เพราะเด็กมีลีลาการเรียนรู้ต่างกัน มีหรือสนใจวิธีการสื่อสารต่างกัน ดังนั้น การประเมินอาจได้สะท้อนภาพที่แท้จริงของเด็ก
  • ถ้าเซลสมองหรือนิวรอนในสมองของเราไม่ถูกใช้งาน เช่น ถ้าเราไม่ใช้หรือไม่ได้ฝึกฝนความรู้ที่เรารับมา นิวรอนก็จะฝ่อไป เดนไดรต์ (dendrite) และซินแนปส์จะค่อยๆหายไปถ้าเราเลิกใช้มัน ลองคิดดูว่าถ้าเราเรียนรู้วิธีขับรถยนต์ ฝึกสัก 10 วัน จนขับได้ แสดงว่าสมองได้จัดการเข้ารหัส (encode) สร้างกระบวนแบบ (pattern) ของวิธีขับรถยนต์ไว้ในสมอง เซลสมองชุดที่เกี่ยวข้องกับการขับรถได้เชื่อมโยงกันแล้ว แต่ถ้าเราไม่ได้ขับรถเลยในเวลาต่อมา ในไม่ช้าแบบแผนและสิ่งที่เชื่อมโยงไว้นี้ก็จะถูกลบทิ้งจากสมอง เว้นแต่ว่าการฝึกนั้นเราได้ทำจนชำนาญมากก็ยากที่จะลบข้อมูลนี้ออกจากสมองได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความโง่ก็คือภาวะงอมือเท้าและไม่ทำอะไรเลยเท่านั้นเอง
  • อารมณ์ มีบทบาทมากที่สุดต่อความสามารถที่จะเรียนรู้ คิด และสร้างความทรงจำ ความข้องใจต่อสิ่งที่ทำอยู่ ความกลัว ความเกลียดชัง ความเบื่อหน่าย จะกีดกัน การเรียนรู้
  • ศิลปะและดนตรี เป็นเครื่องมือหรือเป็นกระบวนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเซลสมองที่ช่วยในการพัฒนาสมอง ทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดวุฒิภาวะทางอารมณ์ และทำให้รู้จักตนเอง การเข้าใจตนเองและพัฒนาอารมณ์ เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ เป็นความรู้ที่ละเลยไม่ได้ มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า เมื่อเล่นดนตรีหรือฟังดนตรี สมองส่วนที่ใช้คิดคำนวณจะทำงานดีขึ้น เราทุกคนไม่ได้วาดรูปและเล่นดนตรีเพื่อจะไปเป็นศิลปิน แต่เราต้องการใช้ประโยชน์จากสองสิ่งนี้ การวาดช่วยให้เด็กๆระบายสิ่งที่อยู่ภายในใจออกมา ช่วยให้เด็กรู้ตัวว่าตัวเองรู้อะไร หรือไม่รู้เกี่ยวกับสิ่งที่วาดอยู่ การฟังดนตรีช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียด ฝึกสมาธิให้จดจ่อนิ่งอยู่กับเสียงเพลง รวมทั้งหัดสร้างจินตนาการ นอกจากนี้การค้นพบใหม่ๆ ชี้ว่า ดนตรีช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดคำนวณ งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า ดนตรีที่มีจังหวะเร็วและรุนแรงมากจะมีผลตรงข้าม คือ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว และไม่มีสมาธิ
  • สมองกีดกันไม่ให้เกิดความคิด และกีดกันการสร้างความทรงจำความเชื่อมั่น ความสนใจ ความตื่นเต้น ความอยากรู้ เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่กระตุ้นให้เซลในสมองเชื่อมโยงกันได้ง่าย ทำให้สมองเรียนรู้ คิด และสร้างความทรงจำ
  • คนทุกคนเกิดมาล้วนมีธรรมชาติแห่งการเรียนรู้แต่กำเนิด การที่สมองสร้างเซลขึ้นมาถึงแสนล้านเซล ก็เพื่อเตรียมรองรับการเรียนรู้ที่เป็นไปได้ทั้งหมด
  • เราคิดว่าอาหารมีหน้าที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่ที่จริงมันมีผลต่อการพัฒนาสมองเด็กอย่างมากเพราะสมองต้องการสารอาหารหลายชนิด และยังเป็นอวัยวะที่ใช้พลังงานมากที่สุดของร่างกาย  สมองหนักเพียง 8% ของน้ำหนักตัวเราแต่ใช้พลังงานถึง 20% ของร่างกาย นอกจากนี้สารอาหารต่างๆ ยังมีผลต่อสมดุลเคมีที่กระตุ้นการทำงานของสมองให้ปกติ การขาดสารอาหารบางชนิดถึงกับทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุล และมีผลให้เด็กง่วงเหงาหาวนอน ก้าวร้าว ซึมเซา เป็นต้น การรับประทานอาหารแป้งน้ำตาลเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะในช่วงเช้ามีผลให้สมองหย่อนประสิทธิภาพ ง่วง และเซื่องซึมลงในตอนสาย การจัดสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาไม่อาจละเลยความสำคัญของการจัดการด้านอาหารสำหรับเด็ก
  • การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่การออกกำลังกายเป็นการสร้างภาวะสมดุลให้แก่ระบบไหลเวียนของโลหิต และเป็นการส่งออกซิเจนไปสู่สมอง สมองต้องการสนับสนุนจากทั้งสองระบบนี้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายทำให้สมองหลายส่วนทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากข้อความเหล่านี้ เราเชื่อว่า “การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมย่อมสามารถช่วยให้เด็กก้าวไปสู่การพัฒนาเต็มศักยภาพของตนเองได้” แต่จะก้าวไปสู่รูปแบบการพัฒนาเด็ก จำเป็นต้องได้รับความร่วมและมือจากทุกส่วนนับตั้งแต่คู่สามีภรรยาที่กำลังวางแผนมีบุตร พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนบุคลากรองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ว่าจะให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาเด็กหรือไม่   อย่างไร  มองอนาคตพัฒนาการของเด็กอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันคิดและวางแผนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 21416เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เป็นบทความที่มีข้อมูลครบถ้วนดีมากเลยค่ะ ขอขอบคุณคุณจตุพรที่นำมาเผยแพร่ให้ได้อ่าน เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดระบบการพัฒนาเด็ก ทั้งในระดับย่อยเล็กที่สุด คือบ้าน ไปจนถึงระดับประเทศ หากเราผู้ใหญ่คำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้อยู่เสมอ ให้ความสมดุลในการส่งเสริมพัฒนา เราคงได้เด็กที่มีความสุขกับการเรียนรู้ สุขภาพกายใจดี รู้จักคุณค่าของตนเอง

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความรู้สึกดีๆที่รู้ว่า ประเทศของเรามีทรัพยากรบุคคลดีๆที่กำลังทำงานเพื่ออนาคตของชาติของเรา คนเมืองแบบดิฉันรู้สึกชื่นชมมากค่ะ อยากได้ทำอะไรแบบนี้บ้างจัง

คุณโอ๋

ผมอยากให้ทุกคนให้ความสนใจ ประเด็นนี้ให้มากครับ ช่วงก่อนผมนั่งฟังรัฐมนตรี เจ้ากระทรวงท่านหนึ่ง พูดคุย เกี่ยวกับ การพัฒนาเด็กปฐมวัย ในศูนย์เด็กเล็ก ก็รู้สึกดีครับ ที่มีผู้ใหญ่ให้ความสนใจ และถูกทิศถูกทางมากขึ้น เข้าใจว่า ประเด็นนี้ เป็นประเด็นสร้างชาติ เลยนะครับ ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนนะครับ

มีเรื่องที่อยากจะต่อยอด ลปรร.เกี่ยวกับสิ่งที่คุณจตุพรเขียนในบันทึกนี้ จะเก็บไปเขียนในบล็อกของตัวเองในวันต่อๆไปค่ะ หวังว่าคุณจตุพรจะใช้เวทีนี้เป็นที่เล่าสู่กันฟังถึงความเป็นไปจากการใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับสมองนี้ ในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปางมะผ้าอย่างสม่ำเสมอ ดิฉันเชื่อว่าถ้าเราเริ่มจากสิ่งที่เราพอจะทำได้ เราจะสามารถชักจูงให้คนอื่นนำไปใช้ประโยชน์บ้าง โดยใช้ผลงานของเราเป็นตัวประชาสัมพันธ์ค่ะ หยดน้ำเล็กๆก็จะรวมกันเป็นมหาสมุทรได้

คุณโอ๋

ยินดีและพร้อมที่จะ ลปรร. ครับ ผมเองก็เรียนรู้ไปพร้อมกับทีมงานที่ทำงานด้วยกันครับ แต่เป็นที่น่าดีใจพอสมควรที่ พื้นที่ที่ผมทำงาน บรรดาคุณครู พ่อแม่เด็ก และ ผดด.(ผู้เลี้ยงดูเด็ก) ให้ความสนใจประเด็นนี้กันมาก เรียกว่าตื่นตัวและรู้ส่าสิ่งนี่เองเป็นพื้นฐานของคนที่เราจะสร้างเขาในอนาคต ทางกลุ่มที่ทำงานด้วยกัน ทำงานกับทุกภาคส่วนเลยครับ ที่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่งอบรมพ่อแม่อาสา (เตรียมที่จะเป็นพ่อแม่ในอนาคต) ก็มีประเด็นของ การดูแลระหว่วงตั้งครรภ์ เป้นเรื่องของอาหาร การปฏิบัติตัว จนกระทั่งสร้างสิ่งแวดล้อม ให้แม่ที่ตั้งครรภ์ ที่เราทราบกันดีว่ามีผลต่อลูกในครรภ์ของแม่เอง งานนี้สนุกดีครับ ไว้ผมจะนั่งเขียนบันทึกแลกเปลี่ยนกับคุณโอ๋สม่ำเสมอนะครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และอยากที่จะเรียนรู้ครับ เรียนรู้พร้อมกับปฏิบัติจริงในงานพัฒนา ส่วนหนึ่งก็เชื่อมประสานด้วยครับ

ขอขอบคุณ คุณจตุพร มากๆครับ ที่กรุณาเข้าร่วมกับ ชุมชน: ศูนย์รวมความรู้องค์กรพัฒนาเอกชน
ได้นำบันทึกของคุณจตุพรไปพูดถึงไว้ในบล็อกที่ดิฉันเขียนเรื่องเกี่ยวกับลูกๆ เผื่อจะมีใครมาช่วยกันลปรร.ค่ะ
         ต้องขอบคุณมากๆเลยที่ให้ความสนใจครับ ทำลิงค์มาที่ Blog ของผมและผมเองก็พยายามเขียนBlog เรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาสมอง ไปเรื่อยๆนะครับ เพราะสนใจอยู่แล้ว เดือนหน้า ก็จะมีอบรมเกี่ยวกับการ "เล่านิทาน" ให้แก่เด็ก สำหรับพ่อแม่อาสา ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย งานนี้น่าสนใจมากครับ เพราะว่า "นิทานทำให้ลูก ฉลาดจริงๆ" ลองเอาข้อความที่น่าสนใจมาฝากให้คุณโอ๋และท่านอื่นๆได้อ่านและ ลปรร.กันครับ

        คุณธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์ เลขาธิการสมาคมไทสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า สมาคมไทสร้างสรรค์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยในชนบทด้วยการเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ระหว่างปี 2546-2549 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พื้นที่ อำเภอภูเวียง อ.หนองเรือ และกิ่งอำเภอหนองนาคำ จ.ขอนแก่น และทำการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน 2 ปีแรก พบว่า ครูพี่เลี้ยง 77.9% มีความรู้เกี่ยวกับการเล่านิทานอ่านหนังสือและหนังสือภาพในระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเล่านิทานให้เด็กฟังทุกวัน โดยใช้หนังสือนิทาน 66.3% เล่าปากเปล่า 41.1% เล่านิทานประกอบสื่อ 37.9% ส่วนผู้ปกครองเห็นว่า บุตรหลานช่างสังเกตมากขึ้น กล้าพูดกล้าถาม พูดภาษาไทยหรือภาษากลางได้ชัดขึ้น เด็กเชื่อฟังมากขึ้น อารมณ์ดีขึ้น ส่วนพัฒนาการของเด็ก พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3-6 ขวบ มีการพัฒนาระดับสูง ทางสติปัญญา เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.56% เด็กกลุ่มอายุ 1-3 ขวบ มีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 11.0%

          รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลังกิจกรรมการอ่านนิทานให้เด็กฟังดังกล่าว พบว่า ไอคิวของเด็กเพิ่มขึ้น 10 กว่าจุด หรือขึ้นมาอยู่ในระดับปกติคือ 90-100 จึงอยากให้กระทรวงศึกษาธิการขยายโครงการนี้ไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะ อบต.จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการจัดการศึกษาให้กับเด็ก ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปแย่งชิงโรงเรียนกับใคร ศธ.ควรซื้อหนังสือดีที่ผ่านการคัดสรรจาก สสส.เข้าห้องสมุดเด็กเล็ก และจัดกิจกรรมการเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ส่วนระดับประถมศึกษาก็ควรจัดกิจกรรมการอ่าน เพื่อสมองของเด็กจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง.

มาเพื่อร่วม ลปรร.

ก่อนอื่นเราเชื่อ...ในสมองน้อยๆ ของเขา(เด็กๆ) ก่อนนะคะ

ว่า...เขามี "สมอง" ที่สามารถจะคิด..เท่าเทียม "เรา" ผู้ใหญ่ได้

จากนั้น...ค่อยเอื้ออำนวยให้เขา..ได้เกิดการเรียนรู้...อย่างที่ใคร่รู้...โดยปราศจากการครอบ..

เน้นนะคะ..."เอื้ออำนวย...ไม่ครอบงำ"

 

เพิ่งรู้ว่า สมอง มหัศจรรย์มากมายเพียงใด ก็คราวนี้

 

แต่ ..สมองเด็กจะพัฒนาได้ ก็ต้องพึ่งพาปัจจัย

ด้านอาหารและ สภาพแวดล้อมด้วย ..ใช่ไหม

เราคิดว่าสมองจะพัฒนาและมีกระบวนการทำงาน

เพื่อทำให้มนุษย์อย่างพวกเรามีประสิทธิภาพ

ก็ต้องมีอุปกรณ์เสริมดีๆ และ สถานที่ สภาพแวดล้อม

ที่เป็นกองอำนวยการ และมีความพร้อมที่จะสนับสนุน

ไปบำรุงสมองกันดีกว่า....

เห็นด้วยกับข้อมูลที่อ.จตุพรนำเสนอ  และจากที่ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับ BBL  (Brainbased  Learning)  มีกระบวนการพัฒนาสมองที่น่าสนใจ สมองจะเจริญเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง  อาทิเช่น  อาหาร  สภาพแวดล้อม  การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู ผู้ปกครอง  สื่อต่างๆ  ซึ่งในปัจจุบันดิฉันเองได้พยายามนำหลักการและแนวคิดของ BBL  มาใช้อย่างไม่เป็นทางการ  ค่อยๆแทรกซึมและใช้ดนตรีเข้ามาช่วยด้วย  เห็นผลชัดเจนค่ะ

ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมก็หาซื้อหนังสือที่หนูดีเขียนนะคะ

สุดยอดจริงๆ

สวัสดีครับ คุณ
ไม่มีรูป
Dr.Ka-poom
ไม่มีรูป
Trust..is..fower
ไม่มีรูป
ครูน้ำตาล
ไม่มีรูป
อยากออกความเห็น
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ........

ความลึกล้ำของสมองกับความตั้งใจจริงที่ถ่ายทอดออกมา ชื่นใจและชื่นชม จะติดตามต่อไปครับ

สวัสดีค่ะ น้องจตุพร

พี่เคยอ่านหนังสือเลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่ง ของ ดร.ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง (หาหนังสือเล่มนี้ไม่เจอ)เขาบรรยายคล้ายๆอย่างนี้ วิธีการสังเกตว่าเด็กเก่งหรือไม่ให้ดูที่เด็กคนนั้นสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เช่น สามารถสวมเสื้อผ้า รับประทานอาหารได้เอง (อายุประมาณ 1*2 ขวบ) สนใจและมีสมาธิในการทำงาน เช่นเขียน วาดรูป ประดิษฐ์สิ่งของ โดยทำได้สำเร็จและสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานๆ

ดร.คนนี้ ในวัยเด็กอายุเพียง 5 ขวบ เขาสามารถประดิษฐ์เครื่องบินร่อนได้เองค่ะ โดยมีพ่อแม่ให้คำแนะนำแต่ไม่ได้ทำให้ลูก สังเกตดูถ้าเลี้ยงลูกแบบคุณหนู เด็กจะเก่งสู้คนที่พ่อแม่ปล่อยให้เผชิญกับปัญหา แก้ปัญหาเองไม่ได้ เพราะเขาคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เด็กที่พ่อแม่แก้ปัญหาให้ทุกอย่างมักอ่อนแอ ค่ะ

สนใจเรื่องนี้มานานแล้ว และได้ทดลองปฏิบัติจึงแต่งงานมีลูก 2 คน สำหรับลูกอีกคนที่โตสุด

เขาฝากมา ยิ่งแก่ ยิ่งดื้อ แถมขี้บ่นอีกตะหากค่ะ

ความรู้ดี ๆ จ้า

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท