ทฤษฏีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ


ทฤษฎีการเรียนเป็นครูในการออกแบบ

ทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  เป็นทฤษฏีที่เชื่อว่า  จิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์  และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตุได้จากพฤติกรรมภายนอก  นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งเชื่อว่า  การตอบสนองกับสิ่งเร้าของมนุษย์  จะเกิดขึ้นควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม  นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็ยพฤติกรรมแสดงอาการกระทำ  ซึ่งมีการเสริมแรง

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีนี้จะมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง  โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนิเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว  ซึ่งเป็นลำดับที่ผู้สอนได้พิจารณาแล้วว่าเป็นลำดับการสอนที่ดีและผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2.  ทฤษฎีปัญญานิยม  ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นจากแนวความคิดของชอมสกี้  ที่ไม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์  บิดาของพฤติกรรมนิยม  ในการมองพฤติกรรมว่าเป็นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ชอมสกี้เชื่อว่า  พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องภายในจิตใจมนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายป็นสีนั้น  มนุษย์มีความนึกคิด  มีอารมณ์  จิตใจและความรู้สึกภายในแตกต่างกันออกไป 

ทฤษฎีปัญญานิยมนี้ส่งผลต่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคนั้น  และทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา

3.  ทฤษฎีการเรียนรู้โครงสร้างความรู้  ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่  การที่มนุษย์เรียนรู้อะไรใหม่ๆนั้น  มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ที่ได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

สำหรับที่กล่าวมานั้นกลุ่มของข้าพเจ้าเลือกใช้โครงสร้างในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบในลักษณะสาขา  เพราะจะทำให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้นในการควบคุมการเรียนของตนเอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอิสระมากขึ้นในการเลือกลำดับของการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนที่เหมาะสมกับตน  โดยเนื้อหาที่ได้รับการนำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถ  ความถนัดและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21281เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท