การใช้น้ำหมักควบคุมวัชพืชในนาข้าว ตอนจบ


น้ำหมักจากผลไม้ สามารถใช้ทดแทนสารเคมีควบคุมการงอกของวัชพืชในนาข้าวได้

จากผลที่ได้จากการทดลองครั้งที่แล้ว   ต้องทดลองต่อ เพื่อความแน่นอน    โชคดีมากที่มีแปลงนานักเรียนชาวนาอีกท่านที่ยังไม่ได้หว่านข้าว    อยู่ในช่วงการไถหมักดินไว้   นั้นคือ พี่เสวก มาลัย   ที่อยู่บ้านไผ่แขก  ตำบลดอนโพธิ์ทอง   จึงรีบชักชวนให้ร่วมทดลอง   พี่เสวก ยินดี และแบ่งนานาให้ทดลองเปรียบเทียบประมาณ  1  งาน    โดยพี่เสวกเลือกที่บริเวณที่มีหญ้าขึ้นมากที่สุดให้ทดลอง  
ทดสอบขั้นที่2 เพิ่มความมั่นใจ
    น้ำหมักจากผลไม้ควบคุมการงอกของเม็ดหญ้า   จากการทดลองครั้งที่  1  ซึ่งใช้สาร ทดลองทั้งหมด  5  ชนิดนั้น  ได้ผลพบว่าสารจากน้ำหมักจากผลไม้  เมื่อนำไปฉีดพ่นสามารถ ควบคุมการเจริญเติบโตของหญ้าได้   จึงทำการทดลองครั้งใหม่อีกครั้งโดยใช้ฉะเพราะน้ำหมักจากผลไม้  ซึ่งใช้แปลงนาของคุณเสวก  มาลัย  นักเรียนชาวนา บ้านไผ่แขก ต.ดอนโพธิ์ทอง  มีขั้นตอนดังนี้
          1. หว่านข้าววันที่    1  ก.พ.  2549
          2. ฉีดยาคุมหญ้าเคมี  วันที่   3  ก.พ.  2549  (ข้าวอายุ  2  วัน)  ในแปลงเคมี
          3. ฉีดยาฮอร์โมนน้ำหมักผลไม้   7 ก.พ.   2549  (ข้าวอายุ  6  วัน)  ในอัตรา  80  
              ซีซี  น้ำ  15 ลิตร    (  5.3 ซีซี / 1 ลิตร )  ในแปลงน้ำหมัก
          4. ฉีดยาเคมีคุมฆ่าหญ้าครั้งที่  2  วันที่  14  ก. 2549   (ข้าวอายุ  13  วัน)  ในแปลงเคมี
          5. ฉีดยาน้ำหมักผลไม้ครั้งที่  2  วันที่  14 ก.พ.  2549   (ข้าวอายุ  13 วัน)  ใน
              อัตรา  30 ซีซี  ต่อน้ำ  1 ลิตร  )  ในแปลงน้ำหมัก
          6.ปล่อยน้ำเข้านา วันที่  17 ก.พ. 49 (ข้าวอายุได้  16 วัน)

 ส่วนผสมน้ำหมักผลไม้
            เนื่องจากน้ำหมักที่ใช้ในการทดลองครั้งที่  1 ที่ทดลองกับน้านคร นั้นหมด  จึงต้องหมักน้ำหมักสูตรผลไม้ขึ้นมาใหม่    ซึ่งทำการหมักในวันที่  30  มกราคม  2549  โดยมีส่วนผสมดังนี้
          1. มะละกอสุก     1   ส่วน   ( 1 กก.)
          2. กล้วยสุก        1  ส่วน    ( 1 กก.)
          3. ฟักทองแก่      1  ส่วน     ( 1 กก.)
          4. กากน้ำตาล      1  ส่วน     ( 1 กก.)
          5. สัปปะรด      ¼    ส่วน    ( 0.25 กก)
          6.  น้ำจุลินทรีย์       100  ซีซี
         หั้นวัสดุทุกชนิดให้เป็นชิ้นเล็ก   ๆ        หมักรวมกันในถังพลาสติก  ควรหมักไว้อย่าน้อย  7 -15   วัน   ไม่ควรหมักไว้นาน 
ขั้นตอนการทดลอง
      หลังจากที่หว่านข้าวในวันที่ 1 ก.พ.  และคุณเสวก  ได้ทำการฉีดยาคุมเคมีในแปลงทั่วไปในวันที่  3  ก.พ.  ซึ่งข้าวมีอายุได้  2  วันนั้น   เป็นการฉีดเพื่อไม่ให้เมล็ดหญ้างอก   ในตอนแรกตั้งใจว่าจะฉีดน้ำหมักผลไม้ ในวันที่ฉีดยาคุมเคมี     แต่ต้นข้าวที่หว่านต้นข้าวยังเล็กมาก สูงประมาณ   1   เซนติเมตร  เนื่องจากกลัวว่าน้ำหมักจะทำให้ยอดต้นข้าวไหม้        จึงเลื่อนการฉีดน้ำหมักผลไม้อออกไป     และฉีดในวันที่  6 ก.พ.    ข้าวมีอายุได้  5  วัน  และมีความสูงประมาณ  5  เซนติเมตร      คุณเสวกได้ใช้น้ำหมักในอัตรา  80  ซีซีต่อน้ำ  15  ลิตร  เนื่องจากคุณเสวกกลัวยอดข้าวไหม้      ผลจากฉีดเมื่อข้าวอายุได้  9  วัน  เมื่อตรวจแปลงนา    พบว่ามีหญ้าขึ้นน้อยมาก    เมื่อเทียบกับแปลงที่ใช้สารเคมีคุมหญ้า  ซึ่งจะมีหญ้าขึ้นมากกว่า        และพบว่าแปลงนาที่ฉีดพ่นสารน้ำหมักผลไม้ต้นข้าวมีต้นที่เขียวและสูงกว่าแปลงนาที่ฉีดยาคุมยาเคมี   ต้นข้าวเจริญเติบโตได้เร็วกว่า


                               แปลงนาข้าวอายุได้   6  วัน ฉีดน้ำหมักผลไม้
        ในวันที่    14 ก.พ   ซึ่งต้นข้าวมีอายุได้    13  วัน    คุณเสวกได้ทำการฉีดพ่นสารเคมีฆ่าและคุมหญ้าในแปลงนาเคมีอีกครั้งเนื่องจากมีหญ้าขึ้นจำนวนมาก      คุณเสวก เล่าว่า สารคุมหญ้าที่ฉีดไปครั้งแรกนั้น    ยาเคมีที่ฉีดนั้นจะไปปกคลุมที่ผิวดิน  เพื่อไม่ให้หญ้างอก   ยาจะมีฤทธิ์อยู่ประมาณ  5-7  วัน   เมื่อหมดฤทธิ์สารเคมีเมล็ดหญ้าก็จะงอกขึ้นมาได้      ตามรอยดินที่แตกระแหงจะพบหญ้างอกออกมา   แต่แปลงที่ฉีดด้วยน้ำหมักผลไม้นั้น ตามรอยดินแตกไม่มีหญ้างอก      มีหญ้าขึ้นบาง ๆ และมีใบประมาณ 2 ใบ  สูงไม่ถึง  1   เซนติเมตร     ในวันที่ 14  คุณเสวกจึงฉีดพ่นน้ำหมักผลไม้อีกครั้ง  ในอัตรา  30  ซี ซี ต่อน้ำ  1   ลิตร
ตารางเปรียบเทียบการฉีดการกำจัดวัชพืช

กครั้ง  ในอัตรา  30  ซี ซี ต่อน้ำ  1   ลิตรตารางเปรียบเทียบการฉีดการกำจัดวัชพืช
ฉีดพ่นสารเคมี
ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ
-   มีปริมาณหญ้าขึ้นมากกว่า
-   มีปริมาณหญ้าขึ้นน้อยกว่า
-  ต้นข้าวมีสีเหลืองปลายใบไหม้
-  ต้นข้าวมีสีเขียว ต้นข้าวแข็งแรง
-  ต้นข้าวเตี้ยกว่า
-  ต้นข้าวสูงกว่า
          คุณเสวก ปล่อยน้ำเข้านาในวันที่  17  ก.พ.  49   น้ำจะท่วมหญ้าที่มีจำนวนที่น้อยมาก    ทำให้หญ้าเน่าตาย   ไม่มีหญ้าในแปลงนาเลย    ไม่แตกต่างกับแปลงเปรียบเทียบที่ใช้สารเคมี     ต้นข้าวที่ฉีดด้วยน้ำหมักผลไม้ยังคงเขียวและเจริญเติบโตดีกว่าแปลงเคมี      สังเกตุเห็นแปลงนาเพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเคียงกัน มีการใช้ยาเคมีทั้งคุมหญ้าช่วงแรกและคุมฆ่าช่วงที่ 2   แปลงนาไม่สามารถคุมระดับน้ำได้น้ำไม่ขัง   จึงทำให้หญ้าที่ขึ้นมาแล้วนั้นไม่ตาย  และยาเคมีที่ฉีดคุมฆ่าหญ้าช่วงที่สองก็ไม่สามารถทำลายหญ้าได้    ทำให้หญ้าเจริญเติบโตแข่งกันต้นข้าว      

                           แปลงนาที่ฉีดยาคุมและฆ่ายาเคมี ข้าวจะเหลืองปลายใบไหม้

 


                            แปลงนาที่ฉีดน้ำหมักผลไม้  ต้นข้าวจะเขียวและสูงกว่า

สรุปผลการทดลอง
          ผลที่ได้แปลงนาข้าวที่ทดลองใช้น้ำหมักผลไม้ฉีดพ่นนั้น ไม่มีหญ้าขึ้นในแปลงนา   น้ำหมักจากผลไม้สามารถใช้ฉีดพ่นคุมการเกิดของหญ้าในแปลงนาได้  ทดแทนการใช้สารเคมีคุมฆ่าหญ้า     โดยภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติในเรื่องการดูแล  การเอาน้ำเข้านาข้าว เพื่อควบคุมการขึ้นของหญ้าด้วย   สภาพแปลงนาต้องสามารถเก็บน้ำได้   แปลงนาจะต้องไม่แห้ง  เพราะถ้าหากแปลงนาไม่มีน้ำขึ้นหญ้าก็จะสามารถงอกขึ้นมาได้      จนกว่าข้าวจะเริ่มแตกกอ ใบข้าวปกคลุมพื้นดินไม่มีช่องว่างที่แสงสามารถส่องถึง    ซึ่งข้าวจะอายุประมาณ 45  วัน   
     
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21269เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท