ความมหัศจรรย์ของแคลเซียม


สาระสำคัญและประโยชน์จากการรับประทานแคลเซียมนั้น น่าจะเป็นเรื่องรอบตัวของคุณๆทุกคน ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าหากคุณรับประทานแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ แคลเซียมก็จะเป็นส่วนหนึ่งให้จะช่วยดูแลสุขภาพของคุณให้แข็งแรงต่อไป

        

        แคลเซียมเป็นแร่ธาตุหนึ่งทีสำคัญของร่างกายและเป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ให้พลังงาน  แต่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้    ประโยชน์ของแร่ธาตุที่มีต่อร่างกายมีดังนี้
  -     เป็นส่วนประกอบของอวัยวะบางอย่าง  เช่น  กระดูก  ฟัน  กล้ามเนื้อ  เซลล์ประสาท  เป็นต้น
  -     เป็นส่วนประกอบของสารต่างๆในร่างกาย  เช่น  เลือด  น้ำในเซลล์  เป็นต้น
  -     ช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆให้ทำหน้าที่เป็นปกติ
  -      ร่างกายของคนมีความต้องการแร่ธาตุต่างๆ  หลายชนิดและต้องการในปริมาณที่แตกต่างกัน
         แหล่งอาหารของแร่ธาตุแคลเซียม (Ca) ได้แก่  ปลาไส้ตัน  กุ้งแห้ง  เนยแข็ง  นมสด  ไข่ งาดำ ผัก(แครอท คะน้า ตำลึง)  ผลไม้ (มะละกอ ส้มเขียวหวาน แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่  แตงโม กระเจี๊ยบแดง  แคนตาลูป กล้วยหอม ฝรั่ง)และประโยชน์หลักๆ ที่สำคัญได้แก่ เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือดและการทำงานของกล้ามเนื้อ  เกี่ยวกับการถ่ายทอดกระแสประสาท       
          นอกจากนี้ ธาตุแคลเซียมที่ร่างกายได้รับจากการดื่มนมสดจะไปรวมตัวกับกรดแลคติกที่บริเวณปลายประสาท ทำให้กรดแลคติกไม่สามารถก่อความระคายเคืองต่อระบบประสาทได้ จึงทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดความเครียดน้อยลง ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันคือ 1,000 มิลลิกรัม เทียบได้ง่ายๆ คือ การได้ดื่มนมวันละ 1 แก้ว ก็เพียงพอแล้ว หรือถ้ากลัวอ้วน ให้ดื่มนมพร่องมันเนยหรือรับประทานโยเกิร์ตแทนก็ได้
เมื่อขาดแร่ธาตุธาตุแคลเซียมจะเกิดอาการอันได้แก่  โรคกระดูกอ่อน  (ricket) การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็ง ชักกระตุก และเลือดแข็งตัวยาก
         แคลเซียม อาจจะเป็นแร่ธาตุที่หลายคนคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับกระดูกเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงยังมีคุณสมบัติอีกหลายประการที่โดดเด่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ตีพิมพ์มากมายที่แสดงถึงความสำคัญของแคลเซียม เราลองมาดูกันว่าแคลเซียมนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
1.  Weight Loss
   Dr. Robert Heaney จาก Creighton University ใน Omaha ได้แสดงถึงงานวิจัยในสตรี 575 คน พบว่า กลุ่มที่รับประทานแคลเซียมสูงจะมีภาวะน้ำหนักตัวเกินน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานแคลเซียม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Dr. Michael Zemel จาก University of Tennessee ที่กล่าวถึงแคลเซียมว่า ธาตุอาหารชนิดนี้จะส่งผลต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึมที่จะทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ ขณะเดียวกันนักวิจัยจาก Purdue University ใน West Lafayette, Ind. ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 18-31 จำนวน 54 คน พบว่า หากมีการรับอาหารที่มีแคลเซียมสูงถึง 780 mg./ วัน จะไม่ทำให้เกิดการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น แต่หากรับแคลเซียมต่ำกว่า 780 mg./ วัน จะให้ผลตรงกันข้าม
2.  Premenstrual Syndrome
   แพทย์ระบบต่อมไร้ท่อจาก St. Luke Roosevelt Hospital ได้ทำการศึกษาภาวะทางร่างกายและอารมณ์ ในสตรี 497 คน ซึ่งรับประทานแคลเซียม 1,200 mg./ วัน พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง มีอาการของภาวะสตรีวัยทองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า กังวล กระวนกระวาย หรือภาวะทางกายอื่นๆ เช่นคัดเต้านม รู้สึกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร หรืออาการเจ็บปวดทางกายอื่นๆ
3.  Controlling Blood Pressure
   พบว่าหากมีการรับประทานแคลเซียมสูงถึง 1,300 mg./ วัน จะช่วยลดความเสี่ยงของการมีความดันโลหิต สูงได้ถึง 12 % และหากเป็นผู้ที่อายุต่ำกว่า 40 จะช่วยลดความเสี่ยงได้ถึง 25 % เมื่อเทียบกับผู้ที่ทานแคลเซียมต่ำ
4.  Lowering Blood Cholesterol
   พบว่าสูตรอาหารที่มีแคลเซียมสูงจะช่วยลด Total Cholesterol ได้ 6 % ขณะที่ LDL- Cholesterol จะลด ได้ถึง 11 % ส่วน HDL-Lipid Profile ไม่เปลี่ยนแปลง
5.  Preventing Stroke
   การศึกษาความสัมพันธ์ของสตรีที่รับประทานแคลเซียมสูง จำนวน 85,767 คน ซึ่งอยู่ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 35-59 ปีกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน พบว่าแคลเซียมสามารถป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคได้สูงถึง 32 % เลยทีเดียว
6. Fighting Osteoporosis
   แคลเซียมถือว่าเป็นธาตุอาหารหลักที่มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรี ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดกระดูกพรุน การแตกหักของกระดูกบริเวณต่างๆของร่างกาย เช่นสะโพก หากมีการรับประทานร่วมกับวิตามิน D จะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้
7. Colon Cancer
   นักวิจัยได้ค้นพบความสัมพันธ์ของการรับประทานแคลเซียมกับแนวโน้มของการเกิดมะเร็งลำ ไส้ใหญ่ พบว่าแคลเซียมสามารถป้องกันการเจริญของเนื้อเยื่อที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
8.  Pregnancy
   นอกจากแคลเซียมจะช่วยในเรื่องความแข็งแรงของกระดูกแล้ว แคลเซียมยังส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการ ต่างๆรวมถึงสุขภาพและความสมบูรณ์ของทารกได้ และยังรวมถึงคุณแม่ด้วย เนื่องจากมีความจำเป็น ในการเสริมสร้าง กระดูกของทารกให้แข็งแรง โดยเฉพาะในระยะไตรมาสสุดท้าย (3 เดือนก่อนคลอด) และยังช่วยเพิ่มกำลังให้กล้ามเนื้ออีกด้วย วันหนึ่งร่างกายของแม่ต้องการแคลเซียม 0.8-2.0 กรัม
    สาระสำคัญและประโยชน์จากการรับประทานแคลเซียมดังที่กล่าวมาแล้วนั้น น่าจะเป็นเรื่องรอบตัวของคุณๆทุกคน ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าหากคุณรับประทานแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ แคลเซียมก็จะเป็นส่วนหนึ่งให้จะช่วยดูแลสุขภาพของคุณให้แข็งแรงต่อไป

ที่มา:
http://nurse.hcu.ac.th/t6.html
http://health.allrefer.com/health/calcium-in-diet-sources.html
นิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 21 ฉบับที่ 318 สิงหาคม 2541
หนังสือผักและสุขภาพ (Vegetatble & Health) นิดดา หงษ์วิวัฒน์ และสุภาพรรณ เยี่ยมชัยภูม
หน้า 131

หมายเลขบันทึก: 21266เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์จ๊ะจ๋า...
  • เรื่องนี้น่าสนใจครับ
    คนไทยอ่านเรื่องของอาจารย์แล้วคงจะตื่นตัวกับการกินอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้นเยอะเลย

ขอบคุณงับ มีบันทึกการอ่านส่งครูพอดีเลย อิอิ - -

ขอขอบคุณสำหรับวิธีดูแลสุขภาพหลากหลายของอาจารย์มาก

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์สูงสุด

เพราะการมีสุขภาพดี เพิ่มกำไรชีวิต

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ เกี่ยวกับแคลเซียมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท