สรุปโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1


สรุปโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1

บทนำ

1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ

                ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  มาตรา 6 , 22 , 23 และ 24  กล่าวไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน สถานศึกษาต้องการกิจกรรมการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ยังมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ

ปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ก้าวไกลไปมาก ผลของความเจริญดังกล่าว ส่งผลให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาเปลี่ยนไป  คนที่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขได้ แต่ถ้าวิ่งตามกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้มองพื้นฐานของตัวเองนั้น จะทำให้เกิดปัญหาในการดำรงชีวิตแน่นอน การสอนให้นักเรียนมีความรู้เท่าทันความเจริญทางเทคโนโลยีบนพื้นฐานของคำว่าพอเพียง   จะสามารถพัฒนานักเรียนให้ดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบันนี้ได้   กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เป็นอีกกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้นักเรียน เรียนรู้ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา      

สถานศึกษาต่าง ๆ ที่ดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ. 2544 พบว่าคุณภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์ นั้นค่อนข้างประสบปัญหาเป็นอย่างมาก กล่าวคือนักเรียนขาดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม และผลิตทางด้านวิทยาศาสตร์นั้นก็เป็นปัจจัยสะท้อนความเจริญก้าวหน้าของสังคมได้เป็นอย่างดี

การแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกฝังเจตคติ ค่านิยมของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แก่ผู้เรียนหรือเยาวชน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงควรตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว โดยต้องมีการกระตุ้นและจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลายโดยวิธีการต่าง ๆ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 จึงได้บรรจุกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์เข้าไว้ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนทุกปี เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะ เจตคติทางวิทยาศาสตร์แก่ผู้เรียน จึงจัดโรงการนี้ขึ้นมา

2. วัตถุประสงค์

                1.เพื่อจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะต่าง ๆ การแสดงความสามารถ และแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับนักเรียน เน้นการลดภาวะโลกร้อน

                2.เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

                3. เพื่อจัดกิจกรรมให้นักเรียนศึกษาดูงานมหกรรมวิทยาศาสตร์นอกสถานที่

                4.เพื่อเป็นการเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

 3. เป้าหมายการดำเนินการ

                3.1. ด้านปริมาณ 

- นักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 จำนวน    1,215 คน

- คณะครูโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1   จำนวน   46   คน

                3.2 ด้านคุณภาพ

- จัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้นักเรียน ได้ศึกษาอย่างหลากหลาย   

- จัดกิจกรรม แข่งขันทักษะต่าง 

 4. ขั้นตอนการดำเนินการ

            คณะทำงานได้ดำเนินโครงการตามหลักการทำงานแบบ PDCA ดังนี้

4.1 ขั้นวางแผนและการประสานงาน (Plan)

                1.1 ประชุมคณะทำงานกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ในการกำหนดกรอบการดำเนินการ

                1.2 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเตรียมงานและดำเนินการได้

                1.3 ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (สาขาคอมพิวเตอร์) และอื่น ๆ เพื่อประสานกำหนดกิจกรรมในการดำเนินการ

                1.4 คณะกรรมการฝ่ายการเงินและพัสดุ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการ

 4.2 ขั้นการดำเนินการ (DO)

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

มีการดำเนินการแข่งขันการตอบปัญหาจากทุกสายชั้น เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป เพื่อคัดเลือกหาตัวแทนแต่ละสายชั้น นอกจากนี้มีการแข่งขันศึกทะยานฟ้าโดยให้นักเรียนที่สนใจพับจรวดกระดาษ แล้วนำมาแข่งขัน พุ่งออกไปให้ได้ระยะทางที่ไกลที่สุด ถือเป็นผู้ชนะ การแข่งขันแยกออกเป็นระดับชั้น มีนักเรียนระดับปฐมวัยเข้าแข่งขันด้วย ทำให้เกิดสีสัน ในการแข่งขัน

                วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

                เวลา 09.00 น. ประธานในพิธี คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 เดินทางมาถึงบริเวณงาน วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ จากนั้นก็มีรถบังคับน้ำมัน วิ่งนำมากรรไกร ตัดริบบิ้น มาให้ประธานตัดริบบิ้น เพื่อเปิดทางเข้าร่วมงาน ในขณะที่มีคณะครูและนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5-6 เข้าแถวรอรับ

                จากนั้นประธานในพิธี ได้เปิดกรวยถวายสักการะ พระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องในโอกาสวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

                นายโท   จินากูล รองผู้อำนวยการสถานศึกษากล่าวรายงานการจัดกิจกรรม ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและกล่าวเปิดงาน จากนั้นก็เยี่ยมชมนิทรรศการ ตามจุดต่าง ๆ ดังนี้

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช มีกิจกรรมการตอบคำถามการมีส่วนร่วมต่าง ๆ ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการเกิดอุกาบาตร วัตถุบนท้องฟ้า นอกจากนี้

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                ห้องเรียนสีเขียว จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                ห้องสมุด จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

                กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการทดสอบดิน ร่างกายของเรา และมีการนำเสนอกิจกรรมตามโครงการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการบูรณาการ

 4.3 ขั้นการประเมินผลโครงการ  (Check)

                ได้มีการแจกแบบประเมินโครงการตามรูปแบบของ CIPP Model ซึ่งใช้แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของ ลิเคิร์ต จากนั้นก็นำแบบสอบถามมาคำนวณค่าตามวิธีการทางสถิติต่อไป

 

4.4 การวิเคราะห์ทางเลือก (Action)

                นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาอภิปรายแล้วลงข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการขั้นต่อไป

5. ผลการดำเนินการ

                5.1 ด้านปริมาณ มีคณะครูจากโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 จำนวน 46 คน เข้าร่วมประชุม จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ในส่วนการเดินทางไปศึกษา มีคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

                5.2 ด้านคุณภาพ

                                - ผลที่เกิดกับผู้เรียน นักเรียน จะได้รับการพัฒนากระบวนการคิด ตามหลักของ BBL ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาการทางการเรียนรู้สูงขึ้น

                                - ผลที่เกิดกับครู ครูที่เข้าร่วมโครงการได้รับแนวคิด หลักการและวิธีการในการดำเนินการเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบของ BBL พร้อมทั้งสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และปรับเปลี่ยนตัวเองสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อไป   

                                - ผลที่เกิดกับโรงเรียน โรงเรียนสามารถวางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระหลัก และขยายผลไปยังกลุ่มสาระอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

                                - ผลที่เกิดกับชุมชน   ชุมชนเกิดความศรัทธาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนซึ่งส่งผลให้ผู้เรียน เป็นบุคคลที่มีคุณภาพในสังคม

                5.3 ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการ เป็นดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม  เป็นดังนี้

                1. เพศ ชาย จำนวน   8 คน   คิดเป็นร้อยละ 42 เพศหญิง จำนวน 11 คิดเป็นร้อยละ 58

                2. อายุ  ต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11  ระหว่า 31-35 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ระหว่าง 36-40 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3  มากกว่า 40 ปี จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 79

                3. วุฒิทางการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ระดับปริญญาตรี จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 84 สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11

                4. การรับผิดชอบสอน กลุ่มสาระภาษาไทย จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 คณิตศาสตร์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 37 วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 16 การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมฯ) จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11 อื่น ๆ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 58      

                5. ประสบการณ์ในการสอนวิชาที่รับผิดชอบ น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ระหว่าง 5-10 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 16 และมากกว่า 10 ปี จำนวน 14 คิดเป็นร้อยละ 74

หมายเลขบันทึก: 212092เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปได้ดีมากขอไปเป็นอย่างหน่อยนะครับพี่น้องๆๆๆ ปิ๋งๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท