กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง


การเรียนการสอนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

  กิจกรรมสามารถมีความหลากหลายของเนื้อหา แล้วแต่ตามสภาวะภูมิสังคมของแต่ละโรงเรียน แต่ที่สุดแล้วต้องปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน มีวิธีคิด อุปนิสัยและพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

   เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลักโดยนักเรียน และมีครูเป็นผู้นำหรือผู้สนับสนุน
     - จำนวน นักเรียน/ครู ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ไม่ควรน้อยกว่า ๒๕% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดของโรงเรียน
   - นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ควรมีความประพฤติดี สมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงดี และมีสุขภาพดี 
    - ครูที่เข้าร่วมโครงการก็ควรมีความประพฤติดี สมัครใจ และมีความพร้อม ในการเข้าร่วมกิจกรรม

  เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล ทางเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม ของโรงเรียน และสามารถขยายผลออกสู่ชุมชนได้  
    - พอประมาณกับภูมิสังคม : สอดคล้องกับ ความต้องการ/ความจำเป็น ของโรงเรียน/คนในชุมชน และเหมาะสมกับภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม และความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิต 
    - สมเหตุสมผล : มีหลักคิดและหลักปฏิบัติของกิจกรรม ที่สอดคล้องกับหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดของโครงการแสดงถึงความรอบคอบของการวางแผนดำเนินโครงการ
   - ภูมิคุ้มกันที่ดี : การวางแผนโครงการคำนึงถึง ความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ โดยมีข้อเสนอทางเลือก หากมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น
   - ส่งเสริม ความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม : กิจกรรมต่างๆ ต้องส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วม มีความรอบรู้มากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ได้มีการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ส่งเสริมการมีคุณธรรม (เช่น ความมีระเบียบวินัย มีสัมมาคารวะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญูกตเวที มีสติปัญญา แยกแยะถูกผิด ควรไม่ควร มีความขยันหมั่นเพียร อดทน สนใจใฝ่รู้ มีจิตสำนึกเห็นประโยชน์ของการช่วยเหลือผู้อื่น และทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม)

 

ตัวอย่างกิจกรรม

  การจัดการ การผลิต/การบริโภค ในโรงเรียน/ชุมชน ให้เกิดความพอเพียง และสมดุล กินพอดี อยู่พอดี - เช่น โครงการอาหารกลางวัน การส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ / เกษตรผสมผสาน บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง การรักษาสมดุลของสังคม และธรรมชาติ
 
  การพัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้เสริม โดยประยุกต์ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือโดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม หรือ ต่อยอดกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

  การจัดการ และการจัดระบบองค์กรความร่วมมือ ทางการเงิน การผลิต การตลาด เช่น การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การจัดตั้งสหกรณ์รูปแบบต่างๆ การจัดตั้งธนาคารโรงเรียน เป็นต้น
 
  การจัดการ (รักษา/ฟื้นฟู) ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม/ขยะ ทั้งในโรงเรียนและในชุมชน อย่างยั่งยืน โดยใช้หลักวิชาการ ความประหยัด ความรอบคอบ 

  การจัดการระบบพลังงานของโรงเรียน/ชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น (ประหยัด ผลิตเอง / ทดแทน)
  การอนุเคราะห์เกื้อกูล ช่วยเหลือ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ เด็กกำพร้า เด็กยากจน) ในสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  การสร้างจิตสำนึก รักท้องถิ่น/รักชุมชน เช่น การรักษา/ฟื้นฟู ประเพณี/วัฒนธรรมไทย  ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานที่ทางประวัติศาสตร์/โบราณสถาน การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ/มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

  การสร้างจิตสำนึกรักชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ เช่น รณรงค์การเห็นคุณค่าของสินค้าไทย การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชาติ ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ การเข้าร่วมในกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ  การเรียนรู้คำสอนในศาสนา การฝึกปฏิบัติธรรม เป็นต้น

 

 

เกณฑ์ในการคัดเลือก โครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของสถานศึกษา

เกณฑ์ในการคัดเลือก โครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ของสถานศึกษา
เพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาเยาวชน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
เกณฑ์ในการคัดเลือก
 เป็น โครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการโดยบุคคลากรของโรงเรียนนั้นๆ มาอย่างต่อเนื่อง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วระดับหนึ่ง
เหตุผล เพื่อแสดงถึงความพยายามที่จะพึ่งตนเองก่อน และความสามารถของบุคลากรในการดำเนินกิจกรรม
 เป็น โครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการหลักโดยนักเรียน และมีครูเป็นผู้นำหรือผู้สนับสนุน ทั้งนี้ มีเงื่อนไข ดังนี้
• จำนวน นักเรียน/ครู ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ไม่ควรน้อยกว่า ๒๕% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดของโรงเรียน
เหตุผล เพื่อเน้นการมีส่วนร่วม และเป็นการสร้างกลุ่มบุคลากรหลักที่จะเป็นแกนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน และชุมชน ทั้งนี้ จำนวน ๒๕% (หรือ หนึ่งในสี่ของบุคลากรทั้งหมด) เพียงพอที่จะสร้าง critical mass เพื่อให้กิจกรรมยั่งยืน และขยายผลได้ 
• คุณสมบัติของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ควรมีความประพฤติดี (ซื่อสัตย์สุจริต มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ รู้ควรไม่ควร เป็นต้น) รัก/สมัครใจ ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงดี และมีสุขภาพดี
• คุณสมบัติของครูที่เข้าร่วมโครงการ ควรมีความประพฤติดี สมัครใจ และมีความพร้อม ในการเข้าร่วมกิจกรรม
 เป็น โครงการ/กิจกรรม ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล ทางเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม ของโรงเรียน และสามารถขยายผลออกสู่ชุมชนได้ โดยที่ สาระของกิจกรรมควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
• พอประมาณกับภูมิสังคม : สอดคล้องกับ ความต้องการ/ความจำเป็น ของโรงเรียน/คนในชุมชน และเหมาะสมทั้งในเชิงกายภาพ (ภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม) และสังคมวิทยา (ความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิต)
• สมเหตุสมผล : มีหลักคิด และหลักปฏิบัติของกิจกรรม ที่สอดคล้องกับหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดของโครงการแสดงถึงความรอบคอบของการวางแผนดำเนินโครงการ
• ภูมิคุ้มกันที่ดี : การวางแผนโครงการคำนึงถึง ความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ โดยมีข้อเสนอทางเลือก หากมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น
• ส่งเสริม ความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม : กิจกรรมต่างๆ ต้องส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วม มีความรอบรู้มากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ได้มีการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ส่งเสริมการมีคุณธรรม (เช่น ความมีระเบียบวินัย มีสัมมาคารวะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความกตัญญูกตเวที มีสติปัญญา แยกแยะถูกผิด ควรไม่ควร มีความขยันหมั่นเพียร อดทน สนใจใฝ่รู้ มีจิตสำนึกเห็นประโยชน์ของการช่วยเหลือผู้อื่น และทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม)

 


II ตัวอย่างกิจกรรม
โครงการ/กิจกรรมพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถมีความหลากหลายของเนื้อหากิจกรรม ตามสภาวะภูมิสังคมของแต่ละโรงเรียน แต่ในที่สุดแล้วก็จะสามารถปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน มีวิธีคิด อุปนิสัยและพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างของกิจกรรมอาจมีได้ดังนี้
• การจัดการ การผลิต/การบริโภค ในโรงเรียน/ชุมชน ให้เกิดความพอเพียง และสมดุล กินพอดี อยู่พอดี - เช่น โครงการอาหารกลางวัน การส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ / เกษตรผสมผสาน บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง การรักษาสมดุลของสังคม และธรรมชาติ
• การพัฒนาอาชีพ/สร้างรายได้เสริม โดยประยุกต์ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือโดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม หรือ ต่อยอดกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
• การจัดการ และการจัดระบบองค์กรความร่วมมือ ทางการเงิน การผลิต การตลาด เช่น การทำบัญชีรายรัยรายจ่าย การจัดตั้งสหกรณ์รูปแบบต่างๆ การจัดตั้งธนาคารโรงเรียน เป็นต้น 
• การจัดการ (รักษา/ฟื้นฟู) ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม/ขยะ ทั้งในโรงเรียนและในชุมชน อย่างยั่งยืน โดยใช้หลักวิชาการ ความประหยัด ความรอบคอบ 
• การจัดการระบบพลังงานของโรงเรียน/ชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น (ประหยัด ผลิตเอง / ทดแทน)
• การอนุเคราะห์เกื้อกูล ช่วยเหลือ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส (เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ เด็กกำพร้า เด็กยากจน) ในสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
• การสร้างจิตสำนึก รักท้องถิ่น/รักชุมชน รักชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ เช่น การรักษา/ฟื้นฟู ประเพณี/วัฒนธรรมไทย  สถานที่ทางประวัติศาสตร์ / โบราณสถาน ความเป็นเจ้าของ/มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เป็นต้น
III ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บุคคลากรของโรงเรียน
 (ครู นักเรียน)  พัฒนา ครู และนักเรียน ให้มีความรู้ และคุณธรรม ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม บนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาฯ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างเหมาะสมกับบทบาทของแต่ละบุคคล
โรงเรียน / ชุมชน เกิดความสามัคคี ความร่วมมือกันในการพัฒนา โรงเรียน/ชุมชน ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
สังคม / ประเทศชาติ  มีองค์กร/เครือข่าย ความร่วมมือบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2007-10-13 21:08:31

ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           

                                สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำโครงการประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้ เรื่อง  การจัดการเรียนการสอน  ที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ 16 – 20 กรกฎาคม 2550 ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำปรัชญาพระราชทาน เศรษฐกิจพอเพียง  มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา ในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักของเศรษฐกิจพอเพียง  และสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละวัย โดยได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่  ช่วงชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ไว้ดังนี้

                                ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวรู้จักช่วยเหลือตนเองและรู้จักช่วยเหลืองานในครอบครัว  แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน ช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายของตนเอง สอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกจิตสำนึก และนิสัยพอเพียง

                                ช่วงชั้นที่  2  ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน และมีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียนและชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่าง ๆ ในโรงเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน และเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

                                    ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่าง ๆ และในมิติต่าง ๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการพัฒนาชุมชน และสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด

                                ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดี สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติได้ โดยเน้นเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศและการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น

การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สภาพปัญหา

ด้านสังคมเป็นอย่างไร แตกแยกหรือสามัคคี เป็นต้น

                                เพื่อปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการ ประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้  โดยมีวัตถุประสงค์

1.   เพื่อค้นหาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) จากโรงเรียน/สถานศึกษาที่สามารถบริหารจัดการเรียนการสอน ที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

2.  เพื่อถอดความรู้ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และนำไปเผยแพร่ด้วยสื่อ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้ โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการ ทุกคน สามารถศึกษาและนำรูปแบบวิธีการของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิตไปต่อยอดหรือขยายผลในโรงเรียนของตน

 

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง 14 โรงเรียน และผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู/ บุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ความสำเร็จ  เป็นผู้นำเสนอรูปแบบวิธีการบริหารจัดการเรียนการสอนที่ยึดคุณธรรมนำความรู้สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการทุกคนเต็มใจและสมัครใจที่จะนำรูปแบบ การบริหารจัดการเรียนการสอนมาเผยแพร่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยวิธีการของการจัดกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ

นำประสบการณ์ความสำเร็จที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มาสังเคราะห์และเผยแพร่ให้เกิดการต่อยอดความรู้ต่อไป

                        ผลจากการประชุมปฏิบัติการ ทำให้สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รูปแบบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนต้นแบบ               ที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในสถานศึกษาดังต่อไปนี้

1.  รูปแบบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของการจัดการเรียนการสอน ที่ตอบสนองมาตรฐานการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งเน้นให้เด็กใช้ชีวิตพอเพียง  ระดับบุคคลและครอบครัวรู้จักช่วยเหลือตนเองและรู้จัก ช่วยเหลืองานในครอบครัวแบ่งบันสิ่งของให้เพื่อน  ช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายของตนเอง สอนให้เด็กเห็นคุณค่า ของสิ่งของ ตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกจิตสำนึก และนิสัยพอเพียงผลจากการประชุม พบว่า

                                ตัวอย่างที่  1   โรงเรียนบ้านเปือย ซึ่งตั้งอยู่ที่  หมู่ 8  ตำบลปุเปือย   อำเภอน้ำยืน  จังหวัดอุบลราชธานีโดยเริ่มก่อตั้งในปี  พ.ศ. 2508  เปิดสอนระดับชั้น    อนุบาล  2 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 มีผู้บริหาร  1  คน  ครู  5  คน   นักเรียนจำนวน  122  คน มีสภาพทั่วไปของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการ เรียน

การสอนที่ยึดคุณธรรมนำความรู้สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่  (1.)  การ

วางแผนผังโรงเรียนที่เหมาะสม  (2.)  โรงเรียนมีบรรยากาศสะอาด ร่มรื่น (3.)  โรงเรียนมีพื้นที่สำหรับจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ (4.)  ผู้บริหาร และคณะครูได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี  (5.)  ผู้ปกครองมีฐานะยากจน

                                ความเป็นมาของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านเปือย  เริ่มจากในปี พ.ศ.  2540 โรงเรียนเริ่มดำเนินการนำคุณธรรมเข้าสู่แผนการสอน และดำเนินการอย่างจริงจังโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างคนดีสู่สังคม สำหรับวิธีการในการนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในหลักสูตรนั้น โรงเรียนมีวิธีการดังนี้ คือ

1.  นำหลักธรรมอริยสัจ 4 เป็นหลักสูตรในโรงเรียนและบูรณาการลงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

2.  กำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็น คนดี สุขภาพดี การศึกษาดี

                                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนใช้วิธีการของ

 การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ อริยสัจ 4 ทุกชั้นเรียน จนประสบความสำเร็จ และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ของหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมของ สพท. อุบลราชธานี เขต 5 ใน ปี พ.ศ.  2549

                                วิธีการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีพื้นฐานด้านจิตใจที่ยึดคุณธรรมนำความรู้ สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกฝังความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน พากเพียร มีสติ และรอบคอบ (ความพอเพียงจะเป็นไปตามอัตภาพของแต่ละคน) โดยใช้กรอบหรือเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ตามมรรค 8 ประการ  และยึดสมบัติผู้ดีเป็นตัวชี้วัดเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของนักเรียน

                                จุดเด่น ของการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนที่ยึดคุณธรรมนำความรู้สู่การปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเปือย ได้แก่ (1.) มีการออมทรัพย์/ปลูกพืชสวนครัว พร้อมนำไปขายในชุมชน  (2.)  นักเรียนมีการเก็บขยะขาย  (3.) นักเรียนมีสุขภาพร่างกายสะอาด แข็งแรง

(4.)  นักเรียนมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย (สมบัติผู้ดี)  (5.) ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

(6.)  สื่อมวลชน/หน่วยงานอื่น นำผลงานไปเผยแพร่

     ผลงานของครู นักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่สนองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ได้แก่ (1.)กิจกรรมออมทรัพย์ ชนะเลิศโครงงานออมทรัพย์นักเรียนถวายในหลวงของ สพท.อุบลราชธานี เขต 5 ในปี พ.ศ. 2550  (2.)นักเรียนทุกคนไม่นำเงินมาโรงเรียน (3.)คณะครูทุกคนดำรงตนอยู่ภายใต้คุณธรรม อยู่อย่างพอเพียง (4.)นักเรียนสามารถประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะ (5.)นักเรียนทุกคนไม่กินหวาน รักการอ่าน และเป็นเด็กดี

                                ปัจจัยที่ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนประสบความสำเร็จใช้หลักการของการมีส่วนร่วม(บวร) ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน

จากตัวอย่างของโรงเรียนบ้านเปือยซึ่งบริหารงานโดย นายบงการ สายเนตร ผู้อำนวยการ

โรงเรียน พร้อมคณะครูซึ่งมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง ในการน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจนทำให้บรรลุตามมาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 211954เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท