เขียนบรรณานุกรมอย่างไร...ให้ถูกต้อง


เขียนบรรณานุกรมอย่างไร...ให้ถูกต้อง
     
คงจะมีหลายๆท่านที่กำลังทำผลงานวิชาการ และมีความกังวลในการเขียนบรรณานุกรมที่ใช้ในการอ้างอิง ว่าเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง  ห้องสมุดจะขอแนะนำวิธีการเขียนบรรณานุกรมที่นิยมใช้มาให้เลือกค่ะ
      บรรณานุกรม หรือ Bibliography หมายถึง รายชื่อหนังสือที่นำมาเรียงลำดับ
ประโยชน์ของบรรณานุกรม
      1. ให้ความรู้เกี่ยวกับหนังสือแต่ละเล่ม เช่นผู้แต่ง ครั้งที่พิมพ์ ฯลฯ
      2. ทำให้ทราบว่า หาหนังสือเล่มนั้นได้ที่ใด
หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรม
      1. คำว่า “บรรณานุกรม” จะขึ้นหน้าใหม่เขียนไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบนประมาณ 2” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า Bibliography
       2. การเขียนบรรณานุกรม มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้     
       3. การเขียนบรรณานุกรมแต่ละรายการควรขึ้นบรรทัดใหม่ ถ้ารายการเดียวไม่จบในหนึ่งบรรทัด ขึ้นบรรทัดใหม่ ให้ย่อหน้าเข้าๆไป 8 ช่องตัวอักษร พิมพ์ทีตัวที่ 9
       4. การเว้นระยะการพิมพ์หลังเครื่องหมาย วรรคตอนมีดังนี้
               หลังเครื่องหมาย มหัพภาค      ( . )           เว้น 2 ระยะ
              
หลังเครื่องหมาย จุลภาค        ( , )
          เว้น 1 ระยะ
               หลังเครื่องหมาย อัฒภาค       ( ; )          
เว้น 1 ระยะ
               หลังเครื่องหมาย มหัพภาคคู่    ( : )           เว้น 1 ระยะ

           

การเขียนบรรณานุกรม ที่ห้องสมุดแนะนำ มี 2 รูปแบบ จะเลือกใช้แบบใดก็ได้
1. Modern Language Association of America (MLA)
ผู้แต่ง.  ชื่อเรื่อง.  ครั้งที่พิมพ์.  สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.

2.
American Psychological Association (APA)
ผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อเรื่อง.  ครั้งที่พิมพ์.  สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

หลักการเขียนบรรณานุกรม

1.  ผู้แต่ง
    ผู้แต่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม วุฒิ ให้ลงชื่อตามด้วยนามสกุล ยกเว้นผู้แต่งที่มีราชทินนาม และฐานันดรศักดิ์ เช่น หลวง, ม.ร.ว., พระองค์เจ้า ให้ลงนามด้วย
    ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุลขึ้นต้น, ชื่อต้น
   
 ตัวอย่าง ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ  เอียวศรีวงศ์  >>  นิธิ  เอียวศรีวงศ์.
             William R. Robinson                >>   Robinson, William R.

     1.1  ผู้แต่งที่มีฐานะเป็นผู้รวบรวม เรียบเรียง หรือบรรณาธิการ
           หนังสือภาษาไทย    ให้ใช้คำว่า ผู้รวบรวม ผู้เรียบเรียง หรือ
                           บรรณาธิการไว้ท้ายชื่อ  โดยใส่ , คั่น
                           เช่น กุศล  สุนทรธาดา, บรรณาธิการ.
          หนังสือภาษาอังกฤษ       ให้ใช้คำว่า comp. หรือ ed คั่น
                                             เช่นMcketta, John J., ed.
    1.2  หนังสือที่มีผู้แต่ง 2 คน
            หนังสือภาษาไทย   เชื่อมด้วยคำว่า  และ เช่น
                                      กิตติ  ภักดีวัฒนะกุล และ พีระ  ชื่นจิต.
            หนังสือภาษาอังกฤษ  เชื่อมด้วยคำว่า  and  เช่น
                                      Casvant, Kenneth L. and Infanger, Craig L.
     1.3  หนังสือที่มีผู้แต่ง 3 คน
            หนังสือภาษาไทย      ผู้แต่งคนแรก, ผู้แต่งคนที่ 2  และ ผู้แต่งคนที่ 3.
            หนังสือภาษาอังกฤษ  แต่งคนแรก, ผู้แต่งคนที่ 2  and  ผู้แต่งคนที่ 3.
    
     1.4  หนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน
           หนังสือภาษาไทย      ผู้แต่งคนแรก, และคนอื่น ๆ / และคณะ
           หนังสือภาษาอังกฤษ  ผู้แต่งคนแรก, and others / et al.


     1.5  หนังสือที่มีผู้แต่งเป็นสถาบัน
           ให้ลงชื่อสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ  เช่น  สถาบันธัญญารักษ์, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฯลฯ


2.  ชื่อเรื่อง
    ใช้ตามที่ปรากฎในหน้าปกใน
    ชื่อเรื่องให้ ขีดเส้นใต้ หรือ ใช้อักษร ตัวหนา หรือ ตัวเอน ก็ได้
หนังสือภาษาอังกฤษ
ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นทุกคำ (ยกเว้นคำบุพบท สันธาน)
หรือ   ใช้เฉพาะอักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นคำแรก เช่น Drug Abuse : A Textbook

3
.  ครั้งที่พิมพ์

    หนังสือที่พิมพ์มากกว่าหนึ่งครั้ง ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ด้วย
   เช่น  ตำราการบำบักรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 2.

4
สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์

    สถานที่พิมพ์    ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์นั้น ตั้งอยู่ กรณีไม่ปรากฎชื่อเมือง
    ใช้คำว่า [ม.ป.ท.] หรือ [n.p.]

    สำนักพิมพ์

        หนังสือมีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ให้ระบุชื่อสำนักพิมพ์เท่านั้นและให้ตัดคำที่เป็นส่วนหนึ่งของสำนักพิมพ์ เช่นห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัท, Incorporation, Limited  ออกไป
        เช่น  บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น >>   ซีเอ็ดยูเคชั่น
       

กรณีที่หน่วยราชการจัดพิมพ์  ให้เรียงหน่วยงานย่อย   >>  หน่วยงานใหญ่  
เช่น 
สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
กรณีที่ไม่ปรากฎสำนักพิมพ์   ให้ใช้คำว่า [ม.ป.ท.]  หรือ  [n.p.]

    ปีที่พิมพ์

ใส่เฉพาะตัวเลข (พ.ศ. หรือ ค.ศ.)
กรณีที่ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์   ให้ใช้คำว่า [ม.ป.ป.]  หรือ  [n.d.]

   ผู้สนใจสามารถเลือกนำไปใช้เขียนอ้างอิงตามรูปแบบที่แนะนำ เรื่องต่อไปห้องสมุดจะนำเสนอการเขียนอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 21188เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากทราบว่าถ้าค้นหาจาก Website ต้องเขียนบรรณานุกรมอย่างไร

เป็นเรื่องที่ดีอย่างมากคับ เพราะบางคนยังเขียนบรรณานุกรม และไม่ถูกต้อง ก็ควรที่ศึกษาเอาไว้นะคับ (ผมอีกคนหนึ่งที่จะต้องศึกษา)อิอิ

ขอบคุณจริง ๆ เพราะได้ประโยช์พอดี

อยารู้การเขียนอ้างอิงจากเว็บต้องเขียนอย่างไรค่ะ

ขอบคุณมากๆเลยน่ะค่ะ พอดีครูให้ทำรายงานที่เกี่ยวกับการเขียนบรรณานุกรมอ่ะค่ะ ขอบคุณมากๆน่ะค่ะ

ขอบคุณคะได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท