การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม (ชุดการสอน)


การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม (ชุดการสอน)

                  จากการค้นคว้าการทำผลงานทางวิชาการ พบว่า นวัตกรรมยอดฮิต คือ ชุดการสอน บางคนอาจเข้าใจว่า เป็นแค่ใบงานที่ให้นักเรียนทำแต่ละครั้ง จริง ๆ แล้ว มันมีอะไรที่มากกว่านั้นครับ จะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีการหาคุณภาพกันก่อน โดยมีหลักการซึ่งอ้างอิงมาจาก ชัยยงค์  พรหมวงศ์, 2526, หน้า 490–497 ลองศึกษาดูนะครับ ไม่ยาก

                  การหาประสิทธิภาพของ ชุดการสอน หมายถึง การนำชุดการสอนไปทดลองใช้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อนำข้อมูล มาปรับปรุงและนำไปทดลองจริง

                  ประสิทธิภาพของชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียน

จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พึงพอใจ  โดยถือว่าชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องเป็นไป

ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 หมายความว่า จำนวนนักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไปมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

                          1. การกำหนดประสิทธิภาพ  หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หากชุดการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับเกณฑ์แล้ว ชุดการสอนนั้นมีคุณค่าต่อการนำไปสอนนักเรียนได้ การกำหนดมาตรฐานให้มีคุณค่าเท่าใดนั้น ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความพอใจ  โดยปกติเนื้อหาที่เป็นความรู้ ความจำ มักกำหนดไว้ 80/80, 85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาที่เป็นทักษะอาจตั้งไว้ต่ำกว่านี้ เช่น 75 / 75 เป็นต้น

                          การยอมรับหรือไม่ยอมรับประสิทธิภาพ เมื่อทดลองสอนโดยใช้ชุดการสอนแล้ว  สามารถหาประสิทธิภาพของชุดการสอนได้  แล้วนำประสิทธิภาพของชุดการสอนที่หาได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  เพื่อดูว่าเราจะยอมรับประสิทธิภาพหรือไม่ การยอมรับประสิทธิภาพหรือความแปรปรวน  2.5 – 5 เปอร์เซ็นต์ คือ ประสิทธิภาพของชุดการสอนไม่ควร

ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ เช่น เราตั้งประสิทธิภาพไว้ 90/90 เมื่อนำชุดการสอนไปทดลอง พบว่า

ชุดการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ  87.5/87.5 เปอร์เซ็นต์ เรายอมรับได้ว่าชุดการสอนนั้นมีประสิทธิภาพ

                        การยอมรับประสิทธิภาพของชุดการสอน  มี  3 ระดับ คือ   

1.    สูงกว่าเกณฑ์

2.    เท่าเกณฑ์

3.    ต่ำกว่าเกณฑ์แต่ยอมรับได้ว่ามีประสิทธิภาพ

                          2. การทดลองประสิทธิภาพ  เมื่อผลิตชุดการสอนขึ้นมาแล้ว  ต้องนำชุดการสอนไปหาประสิทธิภาพตามขั้นตอนดังนี้

                                2.1 การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) คือ การทดลองกับผู้เรียน 3 คน โดยใช้

ผู้เรียนที่มีระดับสติปัญญาสูง ปานกลาง ต่ำ นำผลที่ได้หาประสิทธิภาพเสร็จแล้วนำมาปรับปรุง

ให้ดีขึ้น ปกติคะแนนที่ได้จากการทดลองจะต่ำกว่าเกณฑ์

                                2.2 ทดลองกลุ่มเล็ก (1:10) คือการทดลองกับผู้เรียน 6–11 คน โดยใช้ผู้เรียนที่มี

ระดับสติปัญญาสูง ปานกลาง ต่ำ นำผลที่ได้ไปคำนวณหาประสิทธิภาพ แล้วปรับปรุงให้สมบูรณ์

                                2.3 การทดลองภาคสนาม (1:100) คือการทดลองกับผู้เรียนทั้งชั้น จำนวน 

30–100 คน นำผลที่ได้ไปคำนวณหาประสิทธิภาพ หากต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่าที่กำหนดไว้

ต้องกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอนใหม่ ตามหลักความจริงความจำเป็นที่ต้องหาประสิทธิภาพชุดการสอน อธิพร ศรียมก (2525, หน้า 246, อ้างถึงใน นพพร ไทยเจริญ, 2549,

หน้า 60-61) ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องหาประสิทธิภาพของชุดการสอนดังนี้

                                      2.3.1. เพื่อความมั่นใจว่าชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ

                                      2.3.2 เพื่อความแน่ใจว่าชุดการสอนนั้นสามารถทำให้การเรียนการสอนบรรลุ

จุดประสงค์อย่างแท้จริง

                          3. ถ้าจะผลิตชุดการสอนออกมาจำนวนมาก การทดสอบหาประสิทธิภาพจะเป็น

หลักประกันว่าผลิตออกมาแล้วใช้ได้ มิฉะนั้นแล้วจะเสียงบประมาณ เสียแรงงาน เสียเวลา เพราะผลิตออกมาแล้วใช้ประโยชน์ไม่ได้

                    ประโยชน์ของชุดกิจกรรม

                  ในการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ ชุดกิจกรรมจัดเป็นสื่อการสอนชนิดหนึ่งที่ได้รับ

ความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นการนำสื่อต่าง ๆ มาประกอบกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

การเรียนการสอน ประโยชน์ของชุดกิจกรรมที่มีต่อการเรียนการสอนมีหลายประการ คือ

1. ช่วยให้ผู้สอนถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ที่สลับซับซ้อนและมีลักษณะเป็น

นามธรรมที่ผู้สอนไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการบรรยายได้ดี

2. เร้าความสนใจของผู้เรียนต่อสิ่งที่กำลังศึกษาเพราะชุดกิจกรรมจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน

มีส่วนร่วมในการเรียนด้วยตนเอง

3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ฝึกการตัดสินใจ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

    4. เป็นการสร้างความพร้อมและความมั่นใจให้แก่ผู้สอนเพราะชุดกิจกรรมพัฒนาไว้เป็น

หมวดหมู่สามารถหยิบใช้ได้ทันที

    5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะสื่อประสม (multi media) ที่ได้

จัดไว้ในระบบเป็นการแปรเปลี่ยนกิจกรรมและช่วยรักษาระดับความสนใจของผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา

    6. แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งเสริมการศึกษารายบุคคลตามความ

สนใจตามเวลาและโอกาสที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เรียน

    7. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู ชุดกิจกรรมทำให้ผู้เรียนเรียนได้โดยอาศัยความช่วย

เหลือจากครูเพียงเล็กน้อย ทั้งสามารถเรียนด้วยตนเอง ครูคนหนึ่งจึงสามารถสอนนักเรียนได้

จำนวนมาก

    8. ช่วยให้นักเรียนได้รู้จุดมุ่งหมายของการเรียนชัดเจน ตลอดจนรู้วิธีการที่จะบรรลุ

จุดมุ่งหมาย เป็นการเพิ่มพูนการจูงใจในการเรียน นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการกระทำ

    9. ชุดกิจกรรมจะกำหนดบทบาทของครูและนักเรียนไว้แน่ชัดว่า ตอนใดใครทำอะไร

อย่างไร  ลดบทบาทการกระทำของครูฝ่ายเดียว นักเรียนได้เรียนรู้โดยการกระทำมากขึ้น

    10. ชุดกิจกรรมเกิดจากการเอาวิธีระบบเข้ามาใช้ย่อมจะมีประสิทธิภาพ เพราะได้ผ่าน

การทดลองหาประสิทธิภาพมาแล้ว โดยผู้มีความชำนาญทั้งในเนื้อหาและวิธีการ เพื่อสร้างเป็น

แม่แบบ และสามารถจะขยายออกไปได้

    11. เป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน

    12. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกวัสดุการเรียนและกิจกรรมที่เขาชอบ

    13. มีการวัดผลตัวเองบ่อย ๆ ทำให้นักเรียนรู้การกระทำของตนเองและสร้างแรงจูงใจ 

                    จากประโยชน์ของชุดกิจกรรม จะพบว่า ชุดกิจกรรมเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีความเหมาะสมที่จำนำไปใช้ในการสอนได้เป็นอย่างดีเพราะชุดกิจกรรมช่วยให้สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสอนได้เป็นอย่างดีและยังช่วยอำนวยความสะดวกให้ครู  เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 210779เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2008 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะครูวิชัย

แวะมาหาความรู้ กำลังทดลองใช้กิจกรรมพัฒนาทักษะการสื่อสาร ท่านใดมีข้อมูลการหาประสิทธิภาพ คุณภาพของเครื่องมือเพิ่มนค่ะ

สวัสดีค่ะครูวิชัย

อยากทราบว่า ชุดการสอน กับชุดกิจกรรมเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร

มีรายละเอียดวิธีการสร้างชุดกิจกรรมบ้างไหมคะ

จากครูภา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท