สูตรคำนวณบำนาญ


บำเหน็จที่ได้รับอาจไม่เพียงพอก็จะต้องพยายมบริหารให้พียงพอ

ปรับสูตรคำนวณบำนาญ กบข.

นายมนัส  แจ่มเวหา  รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงการพิจารณาเพื่อหาแนวทางการปรับสูตรคำนวณ กบข.ใหม่ ว่า เรื่องนี้การประชาสัมพันธ์ในช่วงเริ่มก่อตั้ง กบข.  เป็นการให้ข้อมูลและเสนอทางเลือกใหม่  ภายใต้สมมติฐานที่เป็นการประมาณในอนาคต มีคนเห็นด้วยสมัครเข้าเป็นสมาชิกและไม่สมัครเข้าเป็นสมาชิก  จากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 – 2551 มีข้าราชการสมัครเป็นสมาชิก กบข. จำนวน 72,116 คน  และไม่เป็นสมาชิก กบข. จำนวน 35,835 คน  (หากนำข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 – 2545 มารวมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น)  โดยการสมัครเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่เป็น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจการตัดสินใจของข้าราชการแต่ละคน     ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 มาตร 36 ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้...”  และตามระบบบำเหน็จบำนาญแบบเดิม  เป็นเรื่องที่ต้องเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น  หากเลือกรับบำเหน็จแล้วอายุยืนยาวนาน  บำเหน็จที่ได้รับอาจไม่เพียงพอก็จะต้องพยายามบริหารให้เพียงพอ ถ้าหากเลือกรับบำนาญแต่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยและเสียชีวิตเร็วก็จะเสียประโยชน์มาก  บางรายหลังเกษียณ 2-3 เดือน เสียชีวิต ก็จะเสียประโยชน์เพราะได้เงินน้อยกว่าบำเหน็จเสียอีก  ดังนั้นจึงมีความเสี่ยง  แต่ กบข. เป็นทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้น
นายมนัส แจ่มเวหา กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบ  กรมบัญชีกลางได้ตั้งคณะทำงานฯ  ซึ่งได้พิจารณาเปรียบเทียบความแตกต่าง  โดยนำข้อมูลของผู้ที่ออกจากราชการ  และเป็นสมาชิก กบข. เมื่อปี งบประมาณ 2550 ซึ่งมีจำนวน 8,518 คน มาคำนวณเงินก้อนที่ได้รับและเงินบำนาญ  เปรียบเทียบกับเงินบำนาญสูตรเก่า  เพื่อหาเงินบำนาญที่เป็นส่วนต่างของทั้ง 2 กลุ่มว่าเป็นเงินเท่าไร  โดยมีสมมติฐานว่า  ผู้ที่ได้รับเงินก้อนสามารถนำไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี  และผู้รับบำนาญมีชีวิตอยู่ต่อตามอายุเฉลี่ยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  จากนั้นจะนำเงินจำนวนดังกล่าว มาคำนวณเปรียบเทียบกับเงินประเดิม  เงินสะสม  เงินสมทบ  เงินชดเชย  และดอกผลที่เกิดขึ้น  ว่าเงินทั้งหมด ที่ได้เพิ่มเติมจาก กบข. สามารถใช้จ่ายไปได้    เป็นเวลาเท่าใด  มากกว่าหรือน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก  ซึ่งจากผลที่คำนวณได้ในเบื้องต้น มีคนได้ประโยชน์มากกว่าประมาณ 40%  และได้ประโยชน์น้อยกว่าประมาณ 60%   นายมนัส  แจ่มเวหา  กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 2 กันยายน คณะทำงานซึ่งมีตนเป็นประธาน  ได้ประชุมกันและมีข้อสรุปเรื่องนี้ว่า เนื่องจากตามผลการคำนวณในเบื้องต้นมีคนได้ประโยชน์และเสียประโยชน์  และเรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อระบบค่าตอบแทนภาครัฐและผูกพันงบประมาณเป็นจำนวนมาก  จึงมีหลักคิดในการดำเนินการคือ  ไม่เพิ่มประโยชน์ให้คนได้ประโยชน์อยู่แล้ว  แต่ชดเชยเฉพาะคนเสียเปรียบ ซึ่งจะต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบ    อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องการพิจารณาว่าจะต้องปรับสูตรอย่างไร ใช้เงินงบประมาณเท่าไร และคนที่ออกไปแล้วจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร  เท่ากับต้องสำรวจแฟ้มข้อมูลของผู้รับบำนาญเกือบ 1 แสนคน ที่มีเวลาราชการและเงินเดือน แตกต่างกัน  และต้องทดลองใช้สูตรต่าง ๆ คำนวณ  เพื่อให้เป็นกลาง มีความโปร่งใส  กรมบัญชีกลางจะไม่เป็นผู้พิจารณาเอง  แต่จะจ้างสถาบันการศึกษาหรือนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ วิจัย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการวิจัยประมาณ 6 เดือน จากนั้นหากพบว่ามีการเสียเปรียบกันจริง โดยพิจารณาในแง่มุมต่าง ๆ แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #บำนาญ กบข.
หมายเลขบันทึก: 210071เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผ่านมาเป็นปีแล้วไม่เห็นไปถึงไหนเลย

สวัสดีค่ะ

  • สนใจมากค่ะ
  • กำลังเริ่มจะคิดบำนาญแล้วค่ะ
  • ความรู้สึกที่กำลังจะกล่าว...สวัสดี...แล้วค่ะ  แต่ไม่ใช่เพราะเบื่ออาชีพครูนะคะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท