ตัวอย่างการเขียนโครงการภาษาไทย


โครงการภาษาไทย

ตัวอย่างการเขียนโครงการภาษาไทย

ขอแนะนำโครงการเกี่ยวกับภาษาไทย 1 โครงการ  ดังนี้นะคะ

โครงการ                               โครงการกิจกรรมวันสำคัญสานฝันวัฒนธรรม

กิจกรรม                                วันภาษาไทยแห่งชาติ

กลยุทธ์ที่ ๑                           เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา  โดยยึดคุณธรรมนำความรู้  สร้างความตระหนัก  สำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ความสมานฉันท์  สันติวิธี  วิถีประชาธิปไตย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ      โรงเรียนบ้านหนองบอน

ผู้รับผิดชอบโครงการ         นางสาวอรอนงค์  ฉายาลักษณ์  ครูอันดับ  ค.ศ. ๑

ลักษณะงาน/โครงการ        โครงการประจำปี

………………………………………………………………………………………………………

๑.       หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ   อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ  สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป   ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ  ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว  และเกิดวิถีใหม่ ๆ  ในการติดต่อสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็วส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อ   และผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน          ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง     สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ  การใช้ภาษาไทยองเราก็จะยิ่งเสื่อมลงจะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ได้ตระหนักในคุณค่าความสำคัญของภาษาไทยจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจำอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    ความว่า  ภาษาเป็นสิ่งยึดฝังอยู่ในใจมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่นและเป็นสำคัญอย่างหนึ่งของ  ชาติ   ซึ่งสมควรได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทยจึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้มีวันภาษาไทยขึ้นเช่นเดียวกับวันสำคัญ อื่นๆ   ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว   โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  ๑๓  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  เห็นชอบให้วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ  ซึ่งทางโรงเรียนบ้านหนองบอนจึงจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติขึ้น  เพื่อเป็นเป็นทางหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทยองเรา

 

๒.     วัตถุประสงค์

.  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ผู้ทรงเป็นนัก-ปราชญ์และนักภาษาไทย    รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์  ที่ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับใช้ภาษาไทย

.  เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในภาษาไทย อันเป็นภาษาประจำชาติ

๒.๓  เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทยทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ

๒.๔ เพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิ์สูงยิ่งขึ้น

๒.๕  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

๒.๖  นักเรียนรักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น

๓.      เป้าหมาย

.  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ผู้ทรงเป็นนัก-ปราชญ์และนักภาษาไทยและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์  ที่ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับใช้ภาษาไทย

.  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ความเข้าใจในคุณค่าของภาษาไทย

๓.๓  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทยทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ

๓.๔ เพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

               

๔.      ขั้นตอนดำเนินงาน

๔.๑  ประชุมคณะกรรมการเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

๔.๒  จัดทำโครงการเสนอผู้บริหาร

๔.๓  ดำเนินการตามโครงการ  โดยมีกิจกรรมดังนี้

                ๑)   รำอวยพรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช    

                ๒)  การแสดงละครเวที  เรื่อง  พระอภัยมณี  ตอน  พระอภัยมณี  ศรีสุวรรณพบสามพราหมณ์

                ๓)  การแสดงเต้นรำประกอบเพลง

                ๔)  นิทรรศการรักการอ่านสู่การเรียนรู้    กลุ่มสาระ

-  ในหลวงในดวงใจ

-  สำนวนไทยจากวรรณคดี

-  คีตกวีและศิลปะหรรษา

-  กีฬานานาชนิด

-  English  is  fun

-  มามันส์...กับตัวเลข

-  ก้อนเมฆและดวงดาวบนฟ้า

-  ตื่นตากับคอมพิวเตอร์น่ารู้

                ๕)  เกม  การแข่งขันทักษะวิชาการและการละเล่นต่างๆ

๔.๔  สรุปผลการจัดกิจกรรมและรายงานผล

 

๕.     ปฏิทินการดำเนินงาน

 

รายการ/กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

๕.๑  ประชุมคณะกรรมการเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

๕.๒  จัดทำโครงการเสนอผู้บริหาร

๕.๓  ดำเนินงานตามโครงการ

๕.๔  สรุปผลการจัดกิจกรรมและรายงานผลต่อผู้บริหาร

  กรกฎาคม  ๒๕๕๑

 

๑๔  กรกฎาคม  ๒๕๕๑

๑๕- ๒๙  กรกฎาคม  ๒๕๕๑

๓๑  กรกฎาคม  ๒๕๕๑

นายศิริพงษ์  เสาวภา

 

นางพัชรา  ฉมาภินันท์

คณะครูและนักเรียน

นางสาวอรอนงค์  ฉายาลักษณ์

 

 

๖.       ทรัพยากร

๖.๑  บุคลากร

                ๖.๑.๑  คณะครูทุกท่าน

                ๖.๑.๒  นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

๖.๒  งบประมาณ

                ๖.๒.๑  ป้ายอิงเจ็ตชื่อกิจกรรม  ๕๐๐  บาท

 

๗.     การติดตามประเมินผล

 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

วิธีวัดและประเมิน

เครื่องมือ

๗.๑  ด้านปริมาณ

                บุคลากรและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  อย่างน้อยจำนวน  ๑๕๐  คน

๗.๒  ด้านคุณภาพ

.๒.๑  นักเรียนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์  ที่ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับใช้ภาษาไทย 

 

 

    สรุปผลจากบัญชีลงทะเบียน

 

 

   สรุปผลจากแบบประเมินความคิดเห็น

 

 

 

บัญชีลงทะเบียน

 

 

 

แบบประเมินความคิดเห็น

 

 

 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

วิธีวัดและประเมิน

เครื่องมือ

๗.๒.  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษาไทยมากขึ้น

๗.๒.๓  นักเรียนสามารถเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทยทั้งในชีวิตประจำวัน

๗.๒.๔ สามารถยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาให้มีสัมฤทธิ์

             ยิ่งขึ้น

๗.๒.๕  นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

๗.๒.๖  นักเรียนรักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น

สรุปผลจากแบบประเมินความคิดเห็น

สรุปผลจากแบบประเมินความคิดเห็น

สรุปผลจากแบบประเมินความคิดเห็น

 

สรุปผลจากแบบประเมินความคิดเห็น

สรุปผลจากแบบประเมินความคิดเห็น

แบบประเมินความคิดเห็น

 

แบบประเมินความคิดเห็น

 

แบบประเมินความคิดเห็น

 

 

แบบประเมินความคิดเห็น

 

แบบประเมินความคิดเห็น

 

 

๘.     ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช     ผู้ทรงเป็นนัก-ปราชญ์และนักภาษาไทย    รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์  ที่ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับใช้ภาษาไทย

.  เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในภาษาไทยมากขึ้น

๘.๓  เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทยทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ

๘.๔ เพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น

๘.๕  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

๘.๖  นักเรียนรักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น

 

                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 209753เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ขอบคุณค่ะ

ตามพี่ตี่มาครับ แต่กรอบรู้สึกหลุดขอบนะพี่เจ้า

เป็นประโยชน์...และช่วยให้นู๋ทำงานส่งจารได้เสดไวขึ้นดีมากเรย

ขอบคุณค่ะ

ดีค่ะเขียนเข้าใจดีค่ะ

ได้รับมอบหมายให้ทำโครงการนี้พอดี ขอบคุณค่ะ

ดีมากเลยครับผมได้งานส่งจายร์ละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท