เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศอ.1


เอาน้ำดีมาไล่น้ำเสีย

วันที่ 24 มีนาคม 2549 คณะกรรมการKM ศูนย์อนามัยที่ 1(ศอ.1) กรมอนามัย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มงาน/ฝ่ายต่างๆภายในศูนย์ฯเอง ที่ผ่านมายังไม่มีการจัดเวทีแบบนี้ มีเพียงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉพาะภายในงานเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศอ.1ที่มีชุมชนปฏิบัติที่เข้มแข็ง เช่นชุมชนการพัฒนาพฤติกรรมบริการของห้องผ่าตัดและห้องคลอด ชุมชนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มาครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 4 กลุ่มงาน คือกลุ่มงานการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และฝ่ายบริหารงานทั่วไป ภายใต้หัวปลา "การสร้างภาคีเครือข่ายงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม" จัดกลุ่มคละกันทุกฝ่าย ผลการแลกเปลี่ยนพบว่าเจ้าหน้าที่พอใจการจัดแบบนี้เพราะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการทำงานกับเพื่อนร่วมงานแผนกอื่นๆบ้าง เห็นการทำงานที่หลากหลายและแตกต่างจากแผนกตนเอง บางคนบอกว่าไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีการทำงานกับเครือข่ายภายนอกมากมาย และต้องใช้ทักษะ เทคนิค วิธีการต่างๆสารพัด สิ่งที่เป็นข้อปุจฉาในกลุ่มเป็นเรื่อง คำว่า พันธมิตร ภาคี เครือข่าย ลูกค้าภายใน ลูกค้าภายนอก ซึ่งมีการวิสัชนากันพอสมควร พอกระตุกกระตุ้นบางคนที่ไม่เคยมองเรื่องเหล่านี้เลยได้บ้าง โดยเฉพาะฝ่ายบริหารที่ทำงานเป็น back office เริ่มเห็นว่าจะปรับบริการอย่างไร ตัวอย่างคำพูดที่โดนใจผู้เขียนคือ"แต่ก่อนเคยให้บริการไปตามหน้าที่ อารมณ์ดีบ้าง อารมณ์เสียบ้าง ดุผู้รับบริการบ้าง แต่ตั้งแต่เริ่มทำ KM. นี่พฤติกรรมบริการเปลี่ยนไปเพราะคนอื่นมีกำลังใจ และแข่งกันทำดี เราจะทำเหมือนเดิมได้อย่างไร เหมือนเอาน้ำดีมาไล่น้ำเสีย" ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างและทำงานกับพันธมิตร ภาคีเครือข่ายของเวทีครั้งนี้คือเรื่อง

                                       - นโยบายและการสนับสนุนจากผู้บริหาร

                                       - ความมุ่งมั่น เสียสละของทีมงาน ความสามัคคี

                                        - ทักษะการสร้างและทำงานกับภาคเครือข่าย เช่นมนุษยสัมพันธ์ การสร้างความสัมพันธ์ advocate  lobby การเจรจาต่อรอง  การยืดหยุ่นในการทำงาน

                                        - การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการปฏิบัติ

                                        - การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                                        - การบริการด้วยใจ

ข้อคิดเห็นส่วนตัว: ต้องเพิ่มทักษะการเป็นfacilitater และ notetaker ในทีมทำงาน กล่าวคือfa. บางคนยังไม่สามารถดึงtacit knowledge จากสมาชิกออกมาได้ และnotetakerเลือกจดบันทึกเฉพาะประเด้นที่ตนสนใจ ไม่จดทันทีใช้จำเอาแล้วมาจดในภายหลัง สำหรับสมาชิกบางคนยังเป็นผู้ฟัง และผู้เล่าที่ไม่ดีนัก 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20953เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2006 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 ดีจังเลย ที่ลปรร ข้ามกลุ่ม/ฝ่าย จะได้อะไรต่อมิอะไรดีๆที่ซ่อนอยู่ในเจ้าหน้าที่ของเราอีกเยอะ อย่าลืมนำไปประยุกต์ใช้ต่อและมา ลปรรกันอีกนะค่ะ วันที่ 23-24 มีค. เรา 3 คน สร้อยทอง ศรีวิภาและนันทา ไปแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการความรู้กับผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่3 ชลบุรีและแกนนำ KMของศูนย์ (เรื่องเด็ดๆ ทั้งหลายศรีวิภาจะมาคุยในblog) ชาวศูนย์ 3 เขาชื่นชมชาวศูนย์1มากที่เขาได้ไปเยี่ยมดูงาน KM เขต 1 เมื่อวันที่ 20 ได้เรียนรู้ มาก ต่อไปศูนย์1 ชักชวนศูนย์อื่นมาลปรร. เป็นเครือข่ายเรียนรู้"การสร้างภาคีเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม" ก็น่าจะดีนะ

ขอบอกข่าวหน่อยนะเผื่อจะสนใจมาแจม กองอนามัยเจริญพันธุ์จะ ลปรร.เรื่อง" การสร้างภาคีในงานอนามัยเจริญพันธุ์ " ตันเดือนหน้า

คำอธิบายการยืดหยุ่นในการทำงาน
boonnueang เมื่อ L6diN 06 เม.ย. 2550 @ 22:22 (215160)

- นโยบายที่ทำด้วยใจ

- นโยบายที่สนับสนุนด้วยผู้บริหาร

- ความมั่นใจ

- การเสียสละ

- การเรียนรู้จากประสบการรณ์ตรง

ขอบคุณค่ะอ.boonnueang ที่กรุณาถามเอง ตอบเอง และผู้เขียนก็ได้รับคำตอบไปด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท