บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เศษส่วน


เศษส่วน คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                   การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ผู้รายงานแบ่งเนื้อหาหน่วยที่ 7  เศษส่วนออกเป็น  9  เรื่อง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

                เรื่องที่ 1  เศษส่วนที่เท่ากัน

                เรื่องที่ 2  การเปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วน

                เรื่องที่ 3  การบวก ลบ เศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน

                เรื่องที่ 4  โจทย์ปัญหาการบวก ลบ เศษส่วน

                เรื่องที่ 5   การคูณเศษส่วน

     เรื่องที่ 6   การหารเศษส่วน

                เรื่องที่ 7  โจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน

                เรื่องที่ 8  การบวก  ลบ  คูณ  หาร เศษส่วนระคน

                เรื่องที่ 9  โจทย์ปัญหาการบวก  ลบ  คูณ  หาร เศษส่วนระคน

โดยผู้รายงานได้ดำเนินการตามกระบวนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ดังนี้

 

            การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   แต่ละขั้นตอนได้ดำเนินการ  ดังนี้

        1.0 วิเคราะห์ปัญหา   ผู้รายงานได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   โรงเรียนบ้านหลุมข้าว  โดยการวิเคราะห์เชิงระบบการจัดการเรียนรู้ของนพ  วิทยพัฒน์ (2550 : 471)  ซึ่งมีขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ  ดังนี้

 

        จากแผนผังแสดงระบบการจัดการเรียนรู้ มีผลการจัดการเรียนรู้  ดังนี้

                       1)  การวิเคราะห์ผู้เรียน พบว่า  ผู้รายงานศึกษาความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้ยังไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียน  เนื่องจากได้ศึกษาเพียงความรู้เดิมของผู้เรียนเท่านั้น  ไม่ได้ศึกษาถึงวิธีการเรียนรู้ (Learning  Style)  ความสามารถ (Ability) ของผู้เรียนว่ามีความแตกต่างกัอย่างไร  ทำให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับธรรมชาติและสนองความต้องการของผู้เรียน 

                       2)  การกำหนดสาระการเรียนรู้  พบว่า  ผู้รายงานได้กำหนดสาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้  6  สาระ  ได้แก่  สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  สาระที่ 2  การวัด  สาระที่ 3  เรขาคณิต  สาระที่ 4  พีชคณิต  สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และสาระที่ 6  ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

                       3)  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  พบว่า ผู้รายงานได้ศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและคุณภาพของผู้เรียน เพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับการวิเคราะห์ผู้เรียน ทำให้มีกิจกรรม/วิธีสอนที่ยังไม่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลและไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน

                       4)  การวางแผนการจัดการเรียนรู้  พบว่า  ผู้รายงานได้วางแผนเตรียมกิจกรรม การเรียนรู้เป็นอย่างดี  สอดคล้องกับการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้

                       5)  การเตรียมกิจกรรม  พบว่า  ผู้รายงานมีการเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น การบรรยาย และทำแบบฝึกหัด  ผู้เรียนเบื่อหน่ายต่อกิจกรรมการเรียนรู้  จึงไม่สามารถพัฒนา             ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในสาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  ซึ่งเป็นทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน

                       6)  การเตรียมสื่อและแหล่งการเรียนรู้ พบว่า  สื่อการเรียนการสอนที่ผู้รายงาน  ใช้จัดกิจกรรมไม่น่าสนใจ  ผู้เรียนไม่สนุกกับการเรียนรู้ และไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน

                       7)  การจัดเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล  ผู้รายงานได้เตรียมเครื่องมือวัด และประเมินผลเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้  ได้แก่  แบบทดสอบก่อนเรียน  แบบฝึกหัด และแบบทดสอบหลังเรียน  พร้อมสร้างเกณฑ์การวัดและประเมินผลได้ถูกต้อง  แต่ไม่สามารถพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน

                       8)  การจัดกระบวนการเรียนรู้  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ทั้งตัวครู  ผู้เเรียน   กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อและแหล่งการเรียนรู้  ของผู้รายงานไม่สามารถพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน  จึงทำให้ผลการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน  ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย  ผู้เรียนที่เรียนอ่อนถูกทอดทิ้ง  มีเจตคติที่ไม่ดีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

                       9)  การวัดและประเมินผล  พบว่า  ผู้รายงานมีการวัดและประเมินผลตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้  แต่ผู้เรียนไม่สามารถผ่านการวัดและประเมินผล เรื่อง การบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน  ซึ่งมีข้อบกพร่องในการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้

                     10)  การติดตามผลและปรับปรุง  เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้  ผู้รายงานมีการนำผลการประเมินการจัดการเรียนรู้มาศึกษา  วิเคราะห์สรุปผลการจัดการเรียนรู้  เพื่อหาสาเหตุ  ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบหรือเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

        จากการใช้ระบบตรวจสอบสาเหตุของปัญหาการจัดการเรียนรู้ พบว่า  ขั้นที่ 9.0  การวัดและประเมินผล  ผู้เรียนผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ  เรื่อง  เศษส่วนเพียงร้อยละ 63.16   เมื่อพิจารณาขั้นที่ 8.0  การจัดกระบวนการเรียนรู้ไม่เหมาะสม  กิจกรรมการเรียนรู้ไม่สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งแสดงว่า  การเตรียมกิจกรรมขั้นที่ 5  ไม่มีคุณภาพ  ไม่สามารถตอบสนองกับความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล  การเตรียมสื่อการเรียนรู้และแหล่ง การเรียนรู้ในขั้นที่ 6  ครูมีการดำเนินการไม่ถูกต้อง  สื่อไม่น่าสนใจต่อการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน  ผู้เรียนไม่สนุกกับการเรียนรู้ และไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

            ดังนั้น  การเตรียมสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ในขั้นที่ 6  การเตรียมกิจกรรมขั้นที่ 5   จึงเป็นสาเหตุของปัญหาการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน  การพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้ต้องน่าสนใจ  สนุกกับการเรียนรู้  และส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล  การเตรียมสื่อขั้นที่ 6  จึงเป็นสาเหตุของการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบวก  การลบ  การคูณ และการหารเศษส่วน 

        2.0 วิเคราะห์เนื้อหา  เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544   กำหนดจำนวนเวลาการเรียน  160  ชั่วโมง  ผู้รายงานได้แบ่งเนื้อหา เป็น  15  หน่วย

            ผู้รายงานได้เนื้อหาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของเนื้อหาในภาคเรียนที่ 1  คือ หน่วยที่ 7  เศษส่วน และการบวก การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน

            เหตุผลที่ผู้รายงานพิจารณาเลือกเนื้อหา หน่วยที่ 7  เศษส่วน และการบวก การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีดังนี้

            1)  หลักสูตรมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณลักษณะใหญ่ๆ  8  ประการ  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์กล่าวไว้ในจุดมุ่งหมายข้อ 1  ของหลักสูตร คือ คิดคำนวณได้  เมื่อวิเคราะห์ตามพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย  จิตพิสัย และทักษะพิสัย ที่เรียกว่า  สมรรถภาพ   และนำสมรรถภาพมาสร้างเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้  เนื้อหาหน่วยที่ 7  เศษส่วน และการบวก การลบ  การคูณ  การหารเศษส่วน  ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน

           2)  โครงสร้างของเนื้อหามีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  สามารถออกแบบ   ให้สอดคล้องกับลำดับการคิดคำนวณ คือ การบวก  การลบ  การคูณ และการหาร

           3)  เนื้อหาสอดคล้องกับปัญหาการเรียนการสอนจากการวัดและประเมินผลเกี่ยวกับเศษส่วน  ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ เรื่อง  เศษส่วน เพียงร้อยละ 63.16   ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยจุดประสงค์การเรียนรู้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือ  ร้อยละ 70 

           ด้วยเหตุผลดังกล่าว  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่พัฒนาขึ้น  เพื่อนำความสามารถของคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  โดยนำทฤษฎีการเรียนรู้ และทฤษฎีการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ  เหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

           3.0 วิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม   ผู้รายงานได้กำหนดวัตถุประสงค์เชิง พฤติกรรมในแต่ละเรื่องตามที่ต้องการ  เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและออกแบบทดสอบ  และนำวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่องมาวิเคราะห์ด้านพุทธพิสัย

                4.0  การออกแบบสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ผู้รายงานได้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยอิงรูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทการสอน (Tutorial  Instruction) มาประยุกต์ ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด  ประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

            การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง เศษส่วน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  แต่ละขั้นตอนได้ดำเนินการ  ดังนี้

              1.0  ส่วนนำ  ประกอบด้วย (1)  Title  เป็นหน้าแรกแสดงชื่อผู้จัดทำ และชื่อเรื่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (2)  Main  menu  หน้าถัดไปแสดงเนื้อหาของบทเรียน  แบบทดสอบ  และคำแนะนำการใช้โปรแกรม          

              2.0  แบบทดสอบก่อนเรียน  เมื่อผู้เรียนของสู่บทเรียนเป็นครั้งแรกให้ทดสอบก่อนเรียนของเนื้อหา เรื่อง  เศษส่วน ก่อนเป็นอันดับแรก  เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศษส่วน  โปรแกรมจะแจ้งผลการเรียนและบันทึกไว้ใน  Drive  C  ไฟล์  datacai_math02   ถ้าผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ก็ให้เข้าไปศึกษาเนื้อหาในบทเรียนเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและถ้าผู้เรียน มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ก็ให้เข้าไปศึกษาเนื้อหาในบทเรียนเช่นเดียวกัน

              3.0  เนื้อหา  ประกอบด้วยเมนูเนื้อหาย่อยของหน่วยที่ 7  เศษส่วน จำนวน  9  เรื่อง  ดังนี้ 

                เรื่องที่ 1  เศษส่วนที่เท่ากัน

                เรื่องที่ 2  การเปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษส่วน

                เรื่องที่ 3  การบวก ลบ เศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน

                เรื่องที่ 4  โจทย์ปัญหาการบวก ลบ เศษส่วน

                เรื่องที่ 5   การคูณเศษส่วน

     เรื่องที่ 6   การหารเศษส่วน

                เรื่องที่ 7  โจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน

                เรื่องที่ 8  การบวก  ลบ  คูณ  หาร เศษส่วนระคน

                เรื่องที่ 9  โจทย์ปัญหาการบวก  ลบ  คูณ  หาร เศษส่วนระคน

              เมนูเนื้อหาย่อยของหน่วยการเรียน  ให้ผู้เรียนเรียนตามลำดับ  แต่ละเรื่องประกอบด้วย  วัตถุประสงค์การเรียนรู้  นำเข้าสู่บทเรียน  เรียนเนื้อหาใหม่ /ทำแบบฝึก  เรียนเนื้อหาใหม่ /ทำแบบฝึก   เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในระหว่างที่เรียนเนื้อหาใหม่ และสรุปเนื้อหา

           4.0  กิจกรรมเสริม  เป็นกิจกรรมหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาในแต่ละเรื่องจบ  เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมเกมจากเนื้อหาที่เรียนจบในแต่ละเรื่อง  เช่น การจับคู่  การพิมพ์คำตอบ  ถูกผิด  เป็นต้น  

           5.0  แบบฝึกหัด  เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างเรียนหลังจากเรียนเนื้อหาและกิจกรรมเสริมในแต่ละเรื่องจบ  ถ้าผู้เรียนมีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ใหเกลับไปศึกษาในเรื่องนั้น  อีกครั้ง และทำแบบฝึกหัดให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน

           6.0  ศึกษาเนื้อหาเรื่องต่อไป  หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาย่อย  ทำกิจกรรมเสริม และทำแบบฝึกหัดในแต่ละเรื่องจบ  ให้ผู้เรียนเรียนเนื้อหาย่อยถัดไปตามลำดับให้ครบทั้ง  9  เรื่อง (ปฏิบัติตามขั้นที่ 3.0,  4.0 และ 5.0  ตามลำดับ)                 

           7.0  ทดสอบหลังเรียน  เมื่อผู้เรียนเรียนจบเนื้อหาย่อยทั้ง  9 เรื่อง  ให้ผู้เรียนทำการทดสอบหลังเรียนของเนื้อหา เรื่อง  เศษส่วน  เพื่อประเมิลผลการเรียนรู้เรื่อง  เศษส่วน จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้น  โปรแกรมจะแจ้งผลการเรียนและบันทึกไว้ใน  Drive  C  ไฟล์  datacai_math22   ถ้าผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์  แสดงว่า  จบการศึกษาจากบทเรียน และถ้าผู้เรียนมีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ก็ให้เข้าไปศึกษาเนื้อหาในบทเรียนใหม่ (ปฏิบัติตามขั้นที่ 3.0,  4.0,  5.0,  6.0 และ 7.0  ตามลำดับ)              

                5.0  สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้โดยผ่านทางคอมพิวเตอร์ เช่น  ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม  ทฤษฎีปัญญานิยม  การสอนรายบุคคล และวิธีการสอนคณิตศาสตร์ของ   สสวท.

                      โปรแกรมที่นำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ โปรแกรม  Macromedia  Authorware  version 7.0    

 

            โครงสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การจัดการเรียนการสอน      ในแต่ละเนื้อหาประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้  6  ขั้น ดังนี้ 

หมายเลขบันทึก: 209063เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาทักทาย

มาทำความรู้จักและมาติดตามอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ

เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ ขอขอบคุณค่ะ

ก้อดีค่ะ

ความรุดี

มากๆค่ะ

แระแวะมา

ทักทายด้วย

ไปก่อนนะคะ

บ่าย

ฝันดีคร่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท