การจัดการองค์ความรู้ ผ่านงานวิจัย


ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการวิจัย ภูมิปัญญาดั้งเดิมถูกนำมาร้อยเรียง ยังความชุ่มชื้นในใจของเหล่าผู้อาวุโสลีซูที่เห็นลูกหลานพยายามที่จะสานต่อภูมิปัญญาอันมีค่า ได้มีการนำเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางและข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น

วิถีชนเผ่า  วิถีวิจัย...สู่การจัดการองค์ความรู้

 

                 ความสนุกสนาน ความมีชีวิตชีวาในวงเต้นรำตามจังหวะเครื่องดนตรีชนเผ่า ของหนุ่มสาวชาวลีซูในงานประเพณีกินวอของทุกปี ภาพของการรักษาพื้นบ้านตามความเชื่อดั้งเดิมของคนบนดอย เหล่านี้เป็นวิถีชนเผ่าที่มีคุณค่าถือว่าเป็นระบบภูมิปัญญาที่ควรค่าในการ สืบสานสู่ลูกหลานลีซูรุ่นต่อๆไป โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการองค์ความรู้ ท้องถิ่นทางด้านสุขภาพ        บ้านกึ้ดสามสิบ เป็นโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ในชุมชนพยายามที่จะค้นหา คำตอบว่าจะมีแนวทางใดที่จะให้องค์ความรู้เหล่านี้ให้คงอยู่ และเสริมต่อศักยภาพของชุมชนบนดอยสูง ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

           

 

ด้วยกระบวนการวิจัยที่เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้ชุมชนได้คิด และรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆ เกิดกิจกรรมการปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์สมุนไพรลีซูขึ้นในพื้นที่ ๑๕ ไร่ โดยถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของชุมชนที่สามารถรวบรวม พันธุ์สมุนไพรลีซูมารวมกันไว้ในป่าชุมชนของพวกเขา ตลอดจนภาพของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมกิจกรรม ปลูกป่า สานต่อวิถีชีวิต วิถีภูมิปัญญาที่ทุกคนเฝ้ารอคอยการเติบโตอย่างใจเป็นสุข

            ตลอดระยะเวลาของการดำเนินการวิจัย ภูมิปัญญาดั้งเดิมถูกนำมาร้อยเรียง ยังความชุ่มชื้นในใจของเหล่าผู้อาวุโสลีซู ที่เห็นลูกหลานพยายามที่จะสานต่อภูมิปัญญาอันมีค่า ได้มีการนำเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางและข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ไม่เฉพาะโรงเรียนกึ้ดสามสิบที่ตั้งอยู่ในชุมชนเท่านั้น มีการสานต่อแนวคิดเข้าสู่อีกสองโรงเรียน ที่มีนักเรียนชนเผ่าลีซูเรียนอยู่ ในโรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า และโรงเรียนบ้านน้ำริน ตำบลสบป่อง อำเภอ    ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน  นอกจากนี้นายอำเภอปางมะผ้า ได้ให้ความสนใจในโครงการวิจัยฯ เพื่อให้งานวิจัยตอบสนองกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง ได้เข้าไปเปิดเวทีหารือกับชุมชนเพื่อหาแนวทางในการใช้ประโยชน์ จากโครงการวิจัยฯ และมีงบประมาณสนับสนุนจำนวนหนึ่งในการดำเนินงานดังกล่าว

 

 

            เป้าหมายที่สำเร็จอีกประการหนึ่งของโครงการวิจัยฯ คือ การพัฒนาศักยภาพคนให้เก่งขึ้น คุณยอดชาย เปรมวชิระนนท์ ได้รับรางวัล อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ระดับชาติปี ๒๕๔๘ สาขา การแก้ไขปัญหายาเสพติด และได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็น ที่สรรเสริญยิ่ง      ชั้นดิเรกคุณาภรณ์ ในปี ๒๕๔๙ ซึ่งบทบาทที่โดดเด่นจากการเป็นนักวิจัยชาวบ้าน จนสามารถชนะใจกรรมการและได้รับรางวัลเกียรติยศสูงสุด พร้อมความภาคภูมิใจของคนทำวิจัยที่บ้าน กึ้ดสามสิ

หมายเลขบันทึก: 20804เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2006 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • รู้สึกว่าเป็นเรื่อที่น่าสนใจมาก ทำอย่างไรจะช่วยกันพัฒนาชาวเขา ให้ได้มีความรู้และรักษาวัฒนาธรรมของเขาไว้
  • รู้สึกอิจฉานะครับที่ได้อยู่ใกล้ธรรมชาติ
  • ขอบคุณมากครับที่นำเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟัง

ผมเป็นคนแม่ฮ่องสอนโดยกำเนิด และได้มีโอกาสทำงานกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย และช่วงที่เรียนปริญญาโท ได้ทำ Thesis  ชิ้นหนึ่งที่ภูมิใจกับกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู และต่อมาได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สกว.มาทำงานเชิง Action ครับ

มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันนะครับ

     ขอชื่นชมเป็นอย่างยิ่งครับ แล้วจะกลับมา ลปรร.อีกครั้งครับ
ขอชื่นชมคนแม่ฮ่องสอน เป็นคนที่รู้จักชีวิตระดับรากหญ้าดี รู้ว่าความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มคนในพื้นที่หนึ่งซึ่งประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ แท้จริงแล้วต้องการความสงบ หากว่ามีผู้ชี้แนะ และให้ความรู้ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องยอมทำให้ชุมชนที่น่าอยู่ เพราะโดยพื้นฐานแล้วคนแม่ฮ่องสอนเป็นคนที่รักความสงบ มีจิตใจดีอยู่แล้ว
     แม้ว่าจะไกลแสนไกลโดยระยะทาง สิ่งหนึ่งที่ยอมรับและคิดว่าไม่แตกต่างกันคือ ศักยภาพของคน ผมอาจจะกล่าวผิด แต่เข้าใจว่ามีเพียง 20% เท่านั้นที่ได้ถูกปลดปล่อยออกมา ที่เหลือ "คน" ได้ถูกกด และได้กดเอาไว้ เพียงเพราะไม่มั่นใจในการยอมรับจากสังคม และบริบทแวดล้อม ตรงนี้ครับที่เหมือนกันของแนวคิดในการเดินเรื่อง "เหนือ-ใต้" สนับสนุน เอื้ออำนวย ให้ "คน" ได้ปลดปล่อยศักยภาพออกมา...เป็นกำลังใจให้กันและกันในการเดินเรื่องต่อไป
Reply คุณชายขอบ เมื่อ อ. 28 มี.ค. 09:08:08 2006 เขียนว่า: การที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชน ในฐานะนักวิจัยและพัฒนา ทำให้เรารู้ว่า คนมีศักยภาพที่มากมายและหลากหลาย เราเองที่เป็นนักพัฒนาเองต้องเปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ยอมรับในศักดิ์สรีของความเป็นมนุษย์ ตรงนี้สำคัญมากครับ หากพื้นฐานของคนทำงานกับชุมชนเปิดกว้างแล้ว ทุกอย่างไปได้ดี ไม่มีBias มีนักวิชาการหลายคนที่ ไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับชุมชนจริงๆ เพียงแต่เฝ้ามองปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและก็วิพากษ์ตามทฤษฎีและชุดความรู้ ชุดประสบการณ์ที่ตนเองมีอยู่ ส่วนหนึ่งก็ถูกต้องครับ แต่ว่าหากจะเข้าใจกันจริงๆ ก็ต้อง ลงไปทำงานด้วยกัน เปิดใจให้กว้าง ให้โอกาสทุกคนเท่าเทียมกันครับ ขอบคุณ คุณชายขอบ ครับ

     อยากเชิญชวนเข้าร่วมในชุมชน วิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข เพื่อจะได้ติดตามต่อเนื่องไม่หายไป

     การที่ "เพียงแต่เฝ้ามองปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและก็วิพากษ์ตามทฤษฎีและชุดความรู้ ชุดประสบการณ์ที่ตนเองมีอยู่ ส่วนหนึ่งก็ถูกต้องครับ" ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เราก็เลือกเสพง่าย ๆ เอาส่วนหนึ่งส่วนนี้ไป พาลนำไปใช้หรือไปสรุปอีกว่าเป็นส่วนใหญ่ อันนี้แหละครับที่มองว่าน่ากลัว...อยากให้เรา (นักพัฒนา) มีฐานคิดว่าเราไปร่วมเรียนรู้ และสนับสนุน เอื้ออำนวย ให้เขากันดีกว่า

     ผมเคยโดนชาวบ้านถามในทันทีที่ยกมือไหว้ทักทายครั้งแรกว่า "จะมาเอาข้อมูลเหรอ" เห็นกี่คน กี่คนก็มาเอาข้อมูล...(ยิ้ม ๆ หากไม่จริงใจ ชาวบ้านเขารู้ทันนะ...ขอบอก)

     ขอบพระคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ  ที่นำมา ลปรร. ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท