หัวข้อวิจัย ภาษาไทย


ผมได้รวบรวมหัวข้อวิจัย  เพื่อประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจพัฒนาการศึกษา

สุกัน  เทียนทอง  ร.ร.ศิริราษฎร์วิทยา (ขยายโอกาสฯ) อ.ลำดวน  จ.สุรินทร์

เว็บไซต์ ครูสุกัน- สมพร  เทียนทอง   sukan-somporn.com

ผลงาน  : บทความ  วิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว  วารสารวิชาการ (มิ.ย. 2546)

http://school.obec.go.th/sup_br3/r_4.htm

http://www.moe.go.th/inspec6/Namo_research/rearch01.htm

: บทความ  การสอนซ่อมเสริมโดยเพื่อนสอนเพื่อน : พี่สอนน้อง
               วารสารวิชาการ  (ม.ค.-มี.ค. 2549)

 

1. หัวข้อการวิจัยในชั้นเรียน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

***********

1. ความยากง่ายในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1(วรรณี  โสมประยูร)

2. ขนาดของตัวอักษรไทยที่เหมาะสมสำหรับเด็กเริ่มเรียน (พราวพรรณ  เหลืองสุวรรณ)

3. การทดลองใช้อักษรไทยแบบตัวเหลี่ยมในการสอนคัดลายมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
    (พะยอม  สุขมาก)

4. บทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง  คำคล้องจอง (ชาตรี  สำราญ . 3)

5. ชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง คำพ้อง  (สุนันทา   สุนทรประเสริฐ (.3)

6. ชุดการสอนภาษาไทยเรื่อง มาตราตัวสะกด  (สุนันทา   สุนทรประเสริฐ (.3)

7. รายงานการผลิตชุดการสอนวิชาภาษาไทย ป.5 – 6 เรื่องคำพ้อง (สุนันทาสุนทรประเสริฐ (.3)

8. แบบฝึกหัด ท.051 ภาษากับวัฒนธรรม  (มยุรา  เพชรรัตน์  . 3)

9. หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง สำนวนไทย (ยิ่งลักษณ์  งามดี . 3)

10. หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง ยมโลกมีจริงหรือ (ยิ่งลักษณ์  งามดี . 3)

11. หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง เสือสำนึกบาป  (ยิ่งลักษณ์  งามดี . 3)

12. หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทาน คำกลอน เล่ม 1 (เฉลียว  ยวงทอง . 3)

13. หนังสือส่งเสริมการอ่านเกี่ยวกับร้อยกรองเสริมกลุ่มประสบการณ์ (เฉลียว ยวงทอง อ. 3)

14. รายงานการวิจัยการทดลองใช้นิทานภาพและคู่มือการฝึกออกเสียงคำที่มีเสียง   และคำควบกล้ำ 
      
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนเสนสิริอนุสรณ์ (ลำพา   ชัชวาลย์พาณิชย์ . 3)

15. งานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ท.504 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
      ปีที่
5 (ทองเจียว  วงศ์สวาสดิ์ .3)

16. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
      
ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกที่สร้างขึ้นกับแบบฝึกหัดของกรมวิชาการ (สมพร  ศรีพึ่ง อ.3)

17.รายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนภาษาไทย  เรื่อง  ตัวสะกดมาตรา
       แม่ 
กก กด  กน  กบ  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (สุรัตน์  ช่วงสูงเนิน .3)

       - จัดทำเป็นเล่ม  แต่ละเล่มแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การอ่านในใจ  ตอนที่ 2 คำศัพท์  ซึ่งแต่ละเล่มมีองค์ประกอบ ดังนี้

          1. คำนำ

          2. คำแนะนำการใช้

          3.แบบทดสอบก่อนเรียน  หลังเรียน แบ่ง 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 การอ่านในใจ เป็นการอ่านข้อความสั้นๆ  แล้วตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน จำนวน 2 – 4 ข้อความ  รวมตอบคำถาม 12  ข้อ  ตอนที่ 2  คำศัพท์ เป็นข้อสอบถามความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์  เช่น  การอ่าน  หลักภาษา  การเขียน  รวม 18  ข้อ

           4.แบบฝึก เป็นชุดๆ ตั้งแต่ชุดที่ 1  ถึงชุดที่ 5  แต่ละชุดมี 2  ตอน  ตอนที่ 1 การอ่านในใจข้อความสั้นๆ  แล้วตอบคำถาม 5  ข้อ  ตอนที่ 2 คำศัพท์  เป็นการนำคำศัพท์จากเรื่องที่อ่านในใจตอนที่ 1  มาทำเป็นแบบฝึกการเขียน  การหาความหมาย  การอ่าน การแต่งประโยค

          5.เฉลย  มีเฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน และเฉลยแบบฝึกเป็นชุดๆ ตั้งแต่ชุดที่ 1

        ชุดที่ 5  นักเรียนสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ 

18. รายงานการวิจัยเรื่อง  การทดลองใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะในการอ่านและเขียนภาษาไทย  นักเรียน
      ชั้นประถมศึกษาปีที่
6 โรงเรียนเสนศิริอนุสรณ์ (รัชนี รุ่งโรจน์ อ.3)

19. การใช้เกมในการสอนซ่อมเสริม วิชาภาษาไทย ชั้น ม. 3 (สุมาลี  รัตนโชติ .3)

20. รายงานการใช้แผนการสอนรายคาบโดยใช้กระบวนการในการเรียนการสอน วิชาภาษาไทย  305 
      
และ ท 306  ชั้น ม. 3  (สุมาลี  รัตนโชติ  .3)

21. คู่มือวิชาภาษาไทย ท.605 ชุดภาษาพิจารณ์

22. รายงานผลการทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องประโยค  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  (สุวภรณ์  ภัยสูญสิ้น 
      
ศน
. สปช.)

23. การสร้างแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านระดับประถมศึกษา
     
(พวงเล็ก อุตระ  สรภ.พระนคร)

24. การสร้างแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  (สุจินดา  จันทวรรณ์  สปช.)

25. การทดลองสอนโดยใช้แบบฝึกสะกดคำยากในวิชาภาษาไทย กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
      (หน่วย ศน.ชัยภูมิ)

26. การใช้นิทานพื้นเมืองส่งเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (สปจ. อุบลราชธานี)

27. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  จากการสอนโดยใช้หนังสือเล่มเล็ก 
     
(วัชราภรณ์  วัตรสุข  สปช.)

28. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยใช้
       เทคนิค
9  คำถาม  (เยาวรัตน์  แตงยิ้ม  สปช.)

29. แบบฝึกพัฒนาการอ่านสำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  (สุพัตรา  พาหะมาก สปช.)

30. การศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทย  แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา รูปแบบที่ 1 (ประสิทธิ์ 
     
กระทู้   สปช
.)

31. การสร้างชุดฝึกทักษะการฟัง  พูด  ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  สำหรับนักเรียนชนกลุ่มน้อยชาวยาง
      น้ำ จังหวัดเพชรบุรี
(สปจ.เพชรบุรี)

32. การสร้างและพัฒนาชุดการสอนซ่อมเสริมทักษะภาษาไทย  ด้านความสามารถในการอ่านในใจของนักเรียน
       ชั้นประถมศึกษาปีที่
6  (ฉลาด  จันทรสมบัติ  สปช.)

33. การใช้แบบฝึกเพิ่มทักษะความรู้  ความเข้าใจหลักเกณฑ์ทางภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เกี่ยวกับการอ่าน
       และเขียนคำควบกล้ำ  อักษรนำ  และตัวการันต์ 
(สปจ.พัทลุง)

34. การสอนซ่อมเสริมการอ่านของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โดยใช้เกมและแบบฝึกทักษะ (สปจ.ราชบุรี)

35. ผลการใช้ตำนานพื้นบ้านล้านนา  เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
     
(สปจ.พะเยา)

36. การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
     
ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์  กับการเรียนแบบปกติ (ประสิทธิสม  เพชรเรือง  สปช.)

37. การวิเคราะห์คำสะกดคำยากที่เขียนผิด  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (พัชรี  วรจรัสรังสี)

38. ความยากง่ายในการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      
(ดวงเดือน  สุภีกิตย์)

39. การศึกษาความยากง่ายของคำ  ลักษณะคำยากและการใช้แบบฝึกสะกดคำยาก  ของนักเรียนชั้นประถม
       ศึกษาปีที่
4 ในอำเภอปากเกร็ด (รุจี  สุขเสมอ)

40. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยวิธีสะกดแบบแจกลูก
      กับแบบเสียงไหล

41. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  ของนักเรียนชั้น ป. 3  ที่เรียนโดยการใช้แบบ
      ฝึก กับไม่ใช้แบบฝึก

42. การสร้างแบบฝึกเพื่อสอนซ่อมเสริมการออกเสียงเรื่อง  การผันวรรณยุกต์  ของนักเรียนชั้น ป.5

43. การสอนวิเคราะห์เรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน  ตอนขุนแผนลุแก่โทษ  โดยการตั้งคำถามหมวกความคิด 6 ใบ
      สำหรับนักเรียนชั้น ม
. 6

                                                     ..............................

หมายเลขบันทึก: 207988เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีดี

ช่วยได้เยอะเลยครับ

สนใจวิจัยภาษาไทย ชั้น ป.4 ค่ะ

อยากได้นวัฒกรรมของวิชาภาษาไทยป.3และชุดการสอนมากๆค่ะ(ช่วยแม่นะคะ)

ได้เข้ามาเยี่ยมชม พบว่าเป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่ามากๆ ขอบคุณที่ท่านมีจิตอันเป็นสาธารณะแด่เพื่อน ขอบคุณนะคะ แล้วจะเข้ามาศึกษางานเรื่อยๆ

อ่านแล้วได้ทางเลือกมากมายในการสร้างงานวิจัย ขอบคุณมาก

สนใจงานวิจัยในชั้นเรียนวิชาภาษาไทย ป.5 มากค่ะเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะเรื่องมาตราตัวสะกดเพื่อจะได้นำไปสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียนมากที่สุดเพราะนักเรียนที่สอนเป็นเด็กชาวเขา

ครูชายแดน

สนใจงานวิจัยในชั้นเรียนวิชาภาษาไทย ป.5 มากค่ะเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะเรื่องมาตราตัวสะกดเพื่อจะได้นำไปสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียนมากที่สุดเพราะนักเรียนที่สอนเป็นเด็กชาวเขารบกวนอาจารย์ช่วยส่งข้อมูลมาทางเมลนะคะ

ครูชายแดน

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ข้อมูลดีดี..สำหรับผู้ที่จะพัฒนางาน

เป็นครูสอนปฐมวัยมา12ปีได้เป็นครูดีเด่นมาตลอดแต่พอได้รับมอบหมายให้สอนภาษาไทยป.4-6สอนได้แต่ทำวิจัยไม่เป็นเริ่มต้นเขียนไม่ถูกมีเคร็ดลับหรือหลักการเริ่มจากไหนช่วยแนะนำด้วยเคยอบรมกับอาจารย์ชาตรีเมื่อ5ปีมาแล้วขอบคุณที่ชี้แนะจะลองนำหัวข้อวิจัยไปศึกษาดูอีกที

ดีใจจังเลยในที่สุด......

ก็เจอหัวข้อการวิจัยดีๆเพียบ

ขอบคุณมากๆค่ะ

อยากได้งานวิจัยในชั้นเรียน 5 บท เกี่ยวกับการพัฒฯาการอ่านการเขียนนักเรียนชั้น ป.1

และงานวิจัยเกี่ยวกับ ความยากง่ายในการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ครูบนดอย

การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว โดย สุกัน เทียนทอง

การวิจัยในชั้นเรียน(Classroom Action Research :CAR)

Kemmis, S.กล่าวว่า Kurt Lewin เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"action reseach" โดยมีขอบเขตอยู่ที่การ แก้ปัญหา

และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครู

ให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อ

พัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อ

พัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ

เรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐจ้องส่งเสริมให้มี

การวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย

(teacher as Research)ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป

ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ถ้าหากครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง ๕ บท จะต้องใช้เวลายาวนานหลายคนจึงไม่

สามารถเขียนรายงานการวิจัยแบบยาวๆ ได้ จึงนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ สั้นๆ ซึ่งสามารถทำวิจัย

ได้ทั้งครู และนักเรียน ตามแนวของกรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย

๑.เพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน

- สอนไปแล้วมีปัญหา หรือนำปัญหาจากผลการสอนปีที่ผ่านมาหรือคิดหาวิธีการสอนใหม่ๆ มาช่วยให้การสอน

สนุกสนานยิ่งขึ้นแล้วทำการวิจัยโดยไม่จำเป็นต้องเขียนเค้าโครงการวิจัยก็ได้ และไม่จำเป็นต้องบันทึกขออนุญาตผู้บริหาร

หรือเสนอหัวหน้าฝ่ายต่างๆให้ความเห็นชอบ

- เขียนรายงานการวิจัยสั้นๆ หน้าเดียวหรือ ๒ - ๑๐ หน้า

- บันทึกรายงานเสนอผู้บริหารสถานศึกษาทราบ

- ถ่ายเอกสารเผยแพร่ให้ครูในโรงเรียน หรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสะสมเป็นผลงานของเรา

๒.เพื่อประกอบการเสนอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ ๓

- แก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน

- เมื่อแก้ปัญหาแล้ว เขียนรายงาน สรุป เสนอประกอบการเลื่อนตำแหน่ง

- รายงานการวิจัยควรมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปจะมี ๕ บท

รูปแบบของการวิจัยที่เหมาะในการนำไปวิจัยในชั้นเรียน

๑. การวิจัยเชิงสำรวจ เช่น สำรวจว่านักเรียนแต่งกายไม่เรียนร้อยนั้นมีกี่คน ใครบ้างสำรวจความคิดเห็นของ

นักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สำรวจนักเรียนว่าใครเคยสูบบุหรี่บ้าง

๒.การวิจัยหาความสัมพันธ์ เช่นนักเรียนกลุ่มที่เรียนเก่งกับกลุ่มเรียนอ่อนมีความสัมพันธ์ กับอาชีพผู้ปกครองหรือไม่

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับภาษาไทย หรือไม่

๓.การวิจัยเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษาเรื่องการ เลือกตั้งระหว่างการสอนแบบ

แสดงบทบาท สมมติกับการสอนแบบบรรยาย

๔.การวิจัยทดลองเชิงเหตุผล จะแบ่งกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มๆ แล้วเปรียบเทียบว่าใคร ดีกว่ากัน เช่น ทดลองวิธีสอนสอง

วิธี โดยใช้นักเรียนห้อง ก. และห้อง ข. มีจุดอ่อนคือนักเรียน อาจแอบดูกัน หรือสอบถามกันนอกห้องมีนักเรียนกลุ่มหนึ่งได้

ผลดี แต่อีกลุ่มยังอ่อนเหมือนเดิม

๕.การวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา วิธีนี้ใช้นักเรียนกลุ่มเดียวไม่ต้องเปรียบเทียบวิธีสอนแบบดั้งเดิมกับวิธิสอนใหม่ แต่

นำวิธีสอนแบบใหม่มาใช้ได้เลย หรือพัฒนาสื่ออุปกรณ์มาใช้สอนหรือจัดทำแผนการสอนให้ดีแล้วนำไปสอนนักเรียนจะ

สอน ๑ ห้อง ๕ ห้อง หรือ ๑๐ ห้องก็ได้

สถิติที่ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ T -Test หรือ F - test เราใช้เพียงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็พอแล้ว โดยอาจจะมีการทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ซึ่งกรมวิชาการ สรุปว่า การวิจัยในชั้นเรียนที่น่าทำมากที่สุด คือ รูปแบบ

ที่ ๕ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว เหมาะกับการเรียนการสอนมากที่สุด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑.จะมีข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ แต่ต้องอยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหา การวิจัยที่กำหนดไว้เท่านั้น

๒.ควรกำหนดเป็นข้อๆ เช่น สำรวจเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาผลกระทบหาความสอดคล้อง เช่น

๑) เพื่อศึกษา เจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการสนับสนุนของผู้ปกครองของนักเรียนที่ร่วมทำและไม่ร่วมทำ

โครงงานวิทยาศาสตร์

๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับการนิเทศภายในจำแนกตามเพศวุฒิการศึกษา และประสบการณ์สอน

๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพของผู้ปกครอง กับความสามารถทางคณิตศาสตร์

๔) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ ๑๐ องค์ประกอบ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของหัวหน้าคณะและหัวหน้าแผนกวิชา

ช่างอุตสาหกรรม

การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง

คำราชาศัพท์ โดยการแสดงลิเกกับการสอนแบบปกติ

วัตถุประสงค์ :

๑. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระหว่างกลุ่มที่เรียน

โดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ

๒. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ ระหว่างการเรียนภาษาไทยโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบ ปกติ

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยการ

ให้เหมาะสม โดยการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดี ในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

ประเภทนวัตกรรม

๑.สื่อสิ่งประดิษฐ์ เช่น กล้องโทรทัศน์ หนังสือ คู่มือครู แบบเรียนโปรแกรมวิดิทัศน์ แผนการสอน

ชุดการสอน ศูนย์การเรียน สื่อประสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เกม เพลง แบบฝึกต่างๆ เอกสารประกอบการสอน

ใบความรู้ ใบงาน สไลด์ แผ่นโปร่งใส ข่าวหนังสือพิมพ์

๒.วิธีการหรือเทคนิค เช่น วิธีทดลอง วิธีไตรสิกขา วิธีอริยสัจ ๔ วิธีสอนแบบโครงงานวิธีสอนแบบสหกิจ

วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิธีสอนแบบStoryline วิธีสอนแบบสากัจฉา วิธีสอนแบบดาว ๕ แฉก CIPPA Model,

Mind Mapping วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ วิธีสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ การแสดงละคร

บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ทัศนศึกษา สอนซ่อมเสริม การสอนเป็นทีม การสอนตามสถาพจริง การเรียนรู้จากการ

ปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ วิธีสอนแบบซินดิเคท วิธีสอนแบบลีลาศึกษา วิธีสอนแบบลักศาสตร์ วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ วิธีสอนแบบวรรณี วิธีสอนแบบเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery Learning)

วิธีสอนแบบอนุมาน วิธีสอนแบบวิพากษ์วิจารณ์ วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้(4 MAT System) เป็นต้น

ขั้นตอนการวิจัย

ในการทำวิจัยอย่างเป็นระบบผู้เขียนแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น ๖ ขั้น คือ

ขั้นที่ ๑ บอกปัญหาของนักเรียน

ขั้นที่ ๒ บอกวิธีแก้ปัญหา

ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/แบบฝึก/นวัตกรรม

ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน/ลงมือแก้ปัญหา

ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป

ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว

ขั้นที่ ๑ บอกปัญหาของนักเรียน

แบ่งได้ ๓ พวก คือ

๑. ปัญหาด้านพฤติกรรม / ความประพฤติ เช่น การแต่งกายไม่เรียบร้อย ไว้ผมยาว พูดเสียงดัง หยาบคาย

ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ไม่มีระเบียบวินัย พูดสอดแทรก ชอบรังแกเพื่อน ฯลฯ

๒.ปัญหาด้านวิชาการ เช่น สอบได้คะแนนน้อย อ่านหนังสือไม่คล่อง เขียนหนังสือไม่สวย พูดไม่ชัด

ขาดทักษะการทำงาน แต่งประโยคไม่เป็น สรุปองค์ความรู้ไม่ได้ ฯลฯ

๓.ปัญหาด้านจิตพิสัย เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เซื่องซึม หงอยเหงา ความเมตตากรุณา

ความเสียสละ ความกตัญญูกตเวที เจตคติต่อวิชาที่เรียน

การกำหนดหัวข้อวิจัย

๑.อย่ากำหนดหัวข้อที่ยาก หรือเป็นหัวข้อที่มีความเพ้อฝันมากเกินไป มันจะเกินขีดความสามารถของ

นักวิจัย

๒.เป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ และควรอยู่ในสาขาของตนเอง หรือวิชาที่ตนเองสอน

๓.หัวข้อวิจัยควรทันต่อเหตุการณ์ ทันสมัย มีคุณค่า เป็นที่สนใจของหน่วยงานต่างๆ มีประโยชน์ต่อ

บุคคลและสถาบัน และเสริมความรู้ใหม่ๆ

ขั้นที่ ๒ บอกวิธีแก้ปัญหา

วิธีแก้ปัญหาคือ การใช้นวัตกรรมประเภทสื่อสิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสมต่อ

ปัญหานั้นๆ โดยครูตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมเอง หรือศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น

๑.ปัญหาการสอนในปีที่ผ่านมา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อาจแก้โดยใช้ศูนย์การเรียน

แบบเรียนโปรแกรม การเรียนแบบร่วมมือ นิทาน เพลง เกม การทดลอง แบบฝึกทักษะ ฯลฯ

๒.ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการสอนในชั่วโมงที่ผ่านมา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำแก้โดยใช้วิธีการสอน

ซ่อมเสริม เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยครู เพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง ศึกษาด้วยตนเองจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม

แบบเรียนโปรแกรม วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/ แบบฝึก/นวัตกรรม

ในการอบรมการวิจัยทั่วๆไป มักจะใช้คำว่า สร้างนวัตกรรม ซึ่งบางท่านอาจจะคิดว่าเป็นสื่อที่ยิ่งใหญ่

ยากแก่การจัดทำ ผู้เขียนจึงใช้คำว่า จัดทำสื่อ อุปกรณ์ แบบฝึก หรือนวัตกรรมซึ่งทำให้ท่านเข้าใจดีขึ้นและรู้สึกว่าเป็น

สิ่งที่ง่ายเพราะคุณครูได้จัดทำขึ้นมาแล้วในการสอนแต่ละวิชา

ในการวิจัยในชั้นเรียน สื่อที่ท่านจัดทำขึ้นไม่จำเป็นต้องไปหาคุณภาพของสื่อ เช่น หา ประสิทธิภาพ

ของศูนย์การเรียนตามเกณฑ์ ๘๐ /๘๐ หาคุณภาพของแบบสอบถาม ประเมิน การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ประเมิน

คุณภาพของแผนการสอน หาค่า IOA,ค่า IOC, ค่า CV,หาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ เป็นต้น แต่ท่าน

สามารถนำแบบฝึกหรือข้อสอบที่จัดทำ ขึ้นไปใช้ ได้เลย มิฉะนั้นท่านจะกังวลใจและรู้สึกว่าการวิจัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่อยากทำ

ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน /ลงมือแก้ปัญหา

การทดลองวิจัย จะทำตามวิธีดำเนินการซึ่งจะใช้เวลาในการวิจัย ๒ ชั่วโมง หรือ ๑ สัปดาห์ หรือ

๑ เดือนก็ได้ แต่ไม่ควรนานเกิน ๒ เดือน เพราะการวิจัยในชั้นเรียนมักจะเป็น เรื่องสั้นๆ ปัญหาเล็กๆ เช่น การแก้ปัญหา

ทักษะกระบวนการสังเกตโดยใช้แบบฝึกการสังเกต ซึ่งอาจมี ๒ - ๓ แบบฝึกหัด สามารถดำเนินการให้เสร็จได้ภายใน

๑ ชั่วโมง หรือ ๒- ๓ ชั่วโมง ก็ได้

ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีหลายอย่าง เช่น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบ ประเมิน แบบซักถาม

แบบวัดเจตคติ แบบทดสอบ แบบตรวจผลงาน

"ครูผู้สอนไม่ต้องกังวลเรื่องจำนวนหน้า หรือรูปแบบการเขียนรายงาน เพราะสิ่งที่เรา กำลังพูดกันคือ รูปแบบการเขียนที่ไม่เป็นทางการ จึงคววรเขียนแบบสั้นๆ หน้าเดียว หรือกี่หน้าก็ได้"

การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที (t-test) แบบ dependent group ในกรณีที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียว การจัดอันดับคุณภาพเป็นต้น

การสรุปผล ให้สรุปตามหัวข้อของวัตถุประสงค์ในการวิจัย อาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้

ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว

การเขียนรายงานให้สมบูรณ์ทั้ง ๕ บท อาจจะต้องใช้เวลานาน ครูผู้สอนไม่ต้องกังวล เรื่องจำนวนหน้า

หรือรูปแบบการเขียนรายงาน เพราะสิ่งที่เรากำลังพูดกันคือรูปแบบการเขียน ที่ไม่เป็นทางการจึงควรเขียนแบบสั้นๆ

หน้าเดียว หรือกี่หน้าก็ได้ ขอให้เขียนอ่านแล้วรู้เรื่อง เข้าใจว่าครูกำลังทำอะไร ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถทำการวิจัย ปีหนึ่งได้หลายเรื่อง ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับนักเรียนและตัวครู เมื่อทำการวิจัยหลายเรื่องจนเกิดความชำนาญแล้วก็

สามารถทำเป็นแบบสมบูรณ์ที่มีหลายบทได้

ตัวอย่าง การเขียนรายงานการวิจัยแบบหน้าเดียวของต่างประเทศ

(สำอาง สีหาพงษ์ ๒๕๔๔:๗๘)

เรื่อง การเข้าคิวในชั้นเรียน

ผู้วิจัย ครูมาร์ธา

วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๒

บันทึกรายงานการวิจัย

ฉันพบว่านับวันนักเรียนในห้อง ป.๓ จะเข้าคิวเพื่อให้ตรวจงานหรือการบ้าน ที่ หน้าโต๊ะครูยาวขั้นเรื่อยๆ ฉันหารือปัญหานี้กับนักเรียนในห้อง ก็ได้ข้อสรุปว่า ต่อไปนี้จะมี นักเรียนคนหนึ่งคอยช่วยจับเวลาว่าในทุกๆ ๔ นาที

มีนักเรียนจำนวนกี่คนที่ยืนเข้าคิว และ ตัวฉันเองก็จะจดบันทึกว่านักเรียนที่มายืนรอหน้าโต๊ะแต่ละคนมาด้วยปัญหา

อะไรต้องการ ความช่วยเหลืออะไร ทุกวันตอนเช้าฉันจะประกาศว่าเมื่อวานจำนวนนักเรียนที่เข้าคิวเฉลี่ย มีกี่คน

หลังจากสัปดาห์แรกผ่านไป ฉันก็พบว่าจำนวนนักเรียนในห้องทั้งหมด ๓๐ คน มี นักเรียน ๘ คนใช้เวลา

มากกว่านักเรียนอื่น ฉันก็เลยพูดคุยกับเด็กกลุ่มนี้ถึงความสำคัญของ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การพึ่งตนเอง และฉันก็

เปลี่ยนระบบการส่งงานที่เคยซ้อนกันบนโต๊ะ เป็นวางถาดตะแกรง ๒ อันที่หลังห้อง

ในปลายสัปดาห์ที่สอง ฉันพบว่าคิวเริ่มหดสั้นลงจาก ๖ คน โดยเฉลี่ยเหลือเพียง ๒ คน พวกเราเห็นพ้อง

กันว่าศึกษาครั้งนี้คุ้มค่า และตกลงกันว่าถ้าเมื่อไรคิวยาวอีก เราก็จะใช้วิธีการกระตุ้นแบบเดิมนี้ซ้ำอีก

ฉันไม่คิดว่าคำพูดที่จริงจังของฉัน หรือการวางตะแกรง ๒ อัน จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ฉันเดา

ว่าสาเหตุดังกล่าวน่าจะมาจากนักเรียนในห้อง กำลังสนใจการทำให้คิว สั้นลง แต่การทดลองนี้ก็บรรลุเป้าหมาย

ตามที่ฉันต้องการ และพวกนักเรียนก็รู้สึกสนุกที่ได้ ร่วมอยู่ใน กระบวนการวิจัยนี้

มาร์ธา

ตัวอย่าง การเขียนรายงานการวิจัยแบบหน้าเดียว

(กองวิจัยทางการศึกษา , ๒๕๔๔:๘๒)

เรื่อง การแก้ปัญหาการเขียนเรียงความวิชาภาษาไทย ชั้นประถมปีที่ ๕ โดยวิธีการฝึกซ้ำ

ผู้วิจัย นางสาวมาลี

หลังจากที่ดิฉันได้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ หน่วยบูรณาการเรื่องท้องถิ่น ของเราโดยให้

นักเรียนไปศึกษาประเพณีหรือวัฒนธรรมไทยท้องถิ่นของตนคนละ ๑ เรื่อง และเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกใช้

วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ตามความเหมาะสม เช่น การสัมภาษณ์ การเข้าร่วมกิจกรรม ฯลฯ จากนั้นจึงให้

นักเรียนเขียนเรียงความเรื่อง "ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น" เมื่อนักเรียนเขียนเสร็จแล้ว ได้คัดเลือกนักเรียน

จำนวน ๓ คนเป็นกรรมการ อ่าน และแสดงความคิดเห็นต่อเรียงความของนักเรียนคนอื่น ในเรื่องการเขีนยสะกด

การันต์ การใช้คำและการเรียงลำดับ จากนั้นฉันจึงได้ตรวจผลงาน ของนักเรียนแล้วบันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึก

แบบบันทึกการเขียนเรียงความ

ผลการเขียนเรียงความของนักเรียนครั้งนี้ พบว่านักเรียนทั้งหมดมีปัญหา ในเรื่องของการใช้คำและ

การเรียงลำดับข้อความ ดังนั้น ดิฉันจึงคิดวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยใช้วิธีการฝึกซ้ำด้วยการเปลี่ยนเรื่องให้

นักเรียนเขียนใหม่ เพื่อมุ่งให้นักเรียนสามารถเขียน เรียงความได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งมีขั้นตอนต่อไปนี้

๑.แจ้งผลการเขียนเรียงความเรื่อง "ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น" ให้นักเรียน ทราบถึงจุดดี จุดด้อยของผลงาน

๒.ให้นักเรียนเรียงความเรื่อง "ประสบการณ์ที่ฉันประทับใจ"

๓.ทำการตรวจผลงานและแจ้งผลให้นักเรียนทราบ แต่ในครั้งนี้พบว่ามีนักเรียนบางคนยังมี

ข้อบกพร่องอยู่บ้าง จึงใช้วิธีการให้นักเรียนฝึกเขียนใหม่อีก ทำเช่นนี้อีกประมาณ ๓ ครั้ง แล้วนำผลงานมาแสดง

ให้นักเรียนเห็นความแตกต่างในเชิงพัฒนาขึ้น

ในที่สุดทำให้ดิฉันค้นพบความรู้ประการหนึ่งว่า การที่นักเรียนจะเขียนเรียงความได้ดีนั้นต้องใช้

วิธีการฝึกฝนบ่อยๆ และเรื่องที่นักเรียนจะเขียนได้ดีนั้นต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว และเกี่ยวกับตัวนักเรียน

ครูมาลี

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

เรื่อง บรรยากาศ (เนื้อหาการคำนวณ) โดยการเรียนแบบร่วมมือ

ชื่อผู้วิจัย นายสุกัน เทียนทอง อาจารย์ ๓ ระดับ ๘ โรงเรียนศิริราษฎร์วิทยา

สภาพปัญหาและความจำเป็น

จากการที่ผู้วิจัยได้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ว ๓๐๕ เนื้อหาเกี่ยวกับการคำนวณ เรื่องคุณสมบัติของ

อากาศพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปี ๒๕๔๔ ต่ำมาก ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๖.๓๐ จึงจำเป็นต้อง

ปรับปรุงเทคนิคการสอนให้มีคุณภาพ ซึ่งเทคนิค การสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ใหม่ๆ มีหลายวิธี โดยเฉพาะวิธี

การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นรูปแบบการสอนอีกแบบหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ครูสามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนได้ ผู้วิจัยจึงให้นักเรียนเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม สมาชิกทุกคนมีส่วน รับผิดชอบ ในงานที่ทำ

ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

๒.เพื่อเปรรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน

กลุ่มตัวอย่างและขอบเขตการวิจัย

๑.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๒๔ คน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๔

๒.เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง(ภาคคำนวณ) ดังนี้

๒.๑ การหาส่วนประกอบของอากาศแห้ง

๒.๒ การหาความหนาแน่นของอากาศ

๒.๓ การหาความสุงของยอดเขา

๒.๔ การหาความกดดันอากาศ

๒.๕ การหาแรงดัน/ความดัน

๒.๖ การหาความชื้นสัมบูรณ์

๒.๗ การหาความชื้นสัมพัทธ์

๒.๘ การหาความสัมพันธ์ของความชื้นสัมบูรณ์กับความชื้นสัมพัทธ์

๒.๙การหาความชื้นสัมพัทธ์แบบไฮกรอมิเตอร์

๓. ระยะเวลาในการทดลอง ระหว่างวันที่ ๔ - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๕

วิธีดำเนินการ

๑.ทดสอบก่อนเรียน แล้วนำคะแนนมาจัดกลุ่มตัวอย่าง โดยให้นักเรียนจับคู่กันเอง คละความสามารถต่างกัน

กลุ่มละ ๓ คน

๒.ครูสอนตามแผนการสอนปกติในคาบวิชาวิทยาศาสตร์ สัปดาห์ละ ๓ คาบสอน ตัวอย่าง พร้อมทั้งสูตร

การคำนวณทั้ง ๙ หัวข้อ วิธีเรียนแบบร่วมมือ ใช้เทคนิคการเรียนแบบ วิธี Learning Together(L T)

๓.นักเรียนทำแบบฝึกหัดชุดเดียวกัน เรื่องละ ๒ ข้อ ร่วมมือและปรึกษากันภายใน กลุ่มคำตอบที่ได้ต้อง

เหมือนกันสามารถปรึกษาครูหรือกลุ่มอื่นๆได้

๔.ทำการทดสอบหลังเรียนด้วยข้อสอบอัตนัย ๙ เรื่อง จำนวน ๙ ข้อ ข้อละ ๕ คะแนน โดยต่างคนต่างสอบ คะแนนที่ได้เป็นของกลุ่มแล้วเฉลี่ยคะแนนให้เท่าๆกัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

๑.แผ่นโปร่งใสตัวอย่างการคำนวณ ๙ เรื่อง

๒.จัดทำตัวอย่างแบบฝึกหัดการคำนวณ นำไปทดลองสอน แล้วให้นักเรียนทำ แบบฝึกหัด

๓.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป้นข้อสอบอัตนัย จำนวน ๙ ข้อ

๔.ตรวจแบบฝึกหัด ตรวจข้อสอบ หาค่าเฉลี่ยร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

๑.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นคือ มีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ ๗๖.๑๘ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๕.๐๒ ปี ๒๕๔๔ ร้อยละ ๔๖.๓๐ สูงขึ้นร้อยละ ๒๙.๘๘

๒. นักเรียนที่เรียนโดยวิธีเรียนแบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ ๗๖.๑๘

ขอบคุณที่ช่วยรวบรวมไว้ให้อ่าน มีประโยชน์ครับ

ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลทำวิจัยในชั้นเรียน เกี่ยวกับการนับจำนวนเลข สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่งอีเมลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลทำวิจัยในชั้นเรียน เกี่ยวกับการนับจำนวนเลข สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่งอีเมลด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท