ครูเบญจา
นาง เบญจา ครูเบญจา แผ่แสงจันทร์

โครงงานวิทยาศาสตร์


สารน้ำชีวภาพกำจัดกลิ่น

  บทที่ 1 บทนำ

  ที่มาและความสำคัญ

                     โรงเรียนวัดคูยางเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จึงมีเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องขยะที่เกิดจากเศษอาหารซึ่งเหลือจากการรับประทานอาหารกลางวันอยู่มากพอสมควร ถึงแม้ว่าเศษอาหารบางส่วนจะนำไปเลี้ยงหมูและเลี้ยงสุนัขอยู่บ้าง และจากการที่คณะทำงานได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งพระองค์ทรงสอนประชาชนให้รู้จักดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองให้รู้จักนำสิ่งต่างๆ รอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงทำให้พวกเรามีแนวความคิดที่จะศึกษาวิธีการทำสารชีวภาพ(EM)จากเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน เพื่อนำมาทำเป็นสารน้ำชีวภาพสำหรับใช้ดับกลิ่นที่เกิดจากห้องสุขาของโรงเรียน ที่มักจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนครูและนักเรียนอยู่เป็นประจำ แทนการใช้สารเคมี เป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้อีกด้วย

จุดมุ่งหมายในการศึกษา

              1.ศึกษาวิธีทำสารชีวภาพ(EM)จากเศษอาหาร
              2.ศึกษาวิธีการทำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติและสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด
              3.เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติกับสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
 - เศษอาหารสามารถนำมาทำสารชีวภาพ(EM)ที่มีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นได้
 - สารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดมีประสิทธิภาพมากกว่าสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ

ขอบเขตการศึกษา

ตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการทำสารชีวภาพ(EM)จากเศษอาหาร

กำหนดตัวแปร

    ตัวแปรต้น    เศษอาหาร

    ตัวแปรตาม   การเปลี่ยนแปลงของเศษอาหาร

   ตัวแปรควบคุม   ปิดถังให้สนิท

ตอนที่ 2 การศึกษาวิธีทำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ การศึกษาวิธีทำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด

กำหนดตัวแปร

    ตัวแปรต้น    สารชีวภาพ(EM) มะกรูด

    ตัวแปรตาม   กลิ่นของสารชีวภาพ

   ตัวแปรควบคุม  ปริมาณสารชีวภาพ ปริมาณกากน้ำตาล ปริมาณน้ำ

ตอนที่ 3  เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติกับสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด

กำหนดตัวแปร

   ตัวแปรต้น   สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ สารน้ำชีวภาพกลิ่น มะกรูด

   ตัวแปรตาม  กลิ่นของห้องน้ำ

   ตัวแปรควบคุม  ปริมาณที่ใช้ ห้องน้ำ ระยะเวลาในการทดลอง

ระยะเวลาดำเนินการทดลอง

    27 มิ.ย.51 – 10 ก.ค.51

สถานที่ทดลอง

 1. ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน

 2. ห้องสุขาของโรงเรียน

นิยามเชิงปฏิบัติการ

  เศษอาหาร หมายถึง ขยะหรือสิ่งของที่เหลือจากการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน

  สารชีวภาพ(EM) หมายถึง สารที่ได้จากการหมักเศษอาหารผสมกับกากน้ำตาลและหัวเชื้อEMในระยะเวลา 7 วัน

 สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ หมายถึง สารชีวภาพ(EM) ที่ผลิตได้ ผสมกับกากน้ำตาลและน้ำ หรืออาจเรียกว่า EM ขยายกลิ่นธรรมชาติ

สารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด หมายถึง สารชีวภาพ(EM) ที่ผลิตได้ ผสมกับกากน้ำตาล น้ำและมะกรูด หรืออาจเรียกว่า EM ขยายกลิ่นมะกรูด

   บทที่ 2

เอกสารเกี่ยวข้อง

             สารชีวภาพ (EM) EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ จุลินทรีย์ในธรรมชาติมี 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 % 2.กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 % 3.กลุ่มเป็นกลาง จุลินทรีย์กลุ่มนี้ หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือ ร่วมด้วย

         จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

        1.ประเภทต้องการอากาศ ( Aerobic Bacteria )

        2.ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria )

        จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้ ได้มีการ นำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อ พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม ( Families) 10 จีนัส ( Genues ) 80 ชนิด ( Spicies ) ได้แก่

        กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน คุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

        กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน ( N2 ) กรดอะมิโน ( Amino acids ) น้ำตาล ( Sugar ) วิตามิน ( Vitamins ) ฮอร์โมน ( Hormones ) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

        กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรค และแมลง ศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆได้ 4

        กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย ( Algae ) และพวกแบคทีเรีย ( Bacteria ) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน กรดอินทรีย์ กรดไขมัน แป้ง ฮอร์โมน (Hormones ) วิตามิน ( Vitamins ) ฯลฯ

       กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือ ดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

 ลักษณะทั่วไปของ EM

           EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่า กลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

         • ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ

         • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

         • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆได้

         • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

         • EM จะทำงานในที่มืดได้ดีดังนั้น ควรใช้ช่วงเย็นของวัน

         • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

  การดูแลเก็บรักษา

         1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท

         2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ

         3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าไปปะปน

        4. การนำ EM ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

        5. ข้อสังเกตพิเศษ

        • หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำ รดน้ำกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

        • กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำไปใช้ได้

        • เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาวๆภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

        การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษ ภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถาบันวิจัยการเกษตรธรรมชาติของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 % สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้

        1. ใช้กับพืชทุกชนิด

        2. ใช้กับการปศุสัตว์

        3. ใช้กับการประมง

        4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

       1. ลดต้นทุนการผลิต

       2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม

       3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี

       4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี

       5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพชีวิต

       6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

 6 ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

   การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากการผลิต ที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ EM สด

   1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช

     • ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 ส่วน (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่น รด ราด พืชต่างๆให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน

   2. ใช้ในการทำ EM ขยาย จุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่นๆ

   3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล) 4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม

     • ใส่ห้องน้ำ - ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม

      • กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตราส่วน 1: 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่น ทุก 3 วัน

      • บำบัดน้ำเสีย 1: 10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร

      • ใช้กำจัดเศษอาหาร หรือ ทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร • แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5 – 7 วัน/ ครั้ง

      • ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน

      • กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ

        - ชีฉีด พ่น หรือราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม

        - กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน

        - ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่นอัตรา EM ขยาย 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

7. วิธีผลิต EM ขยาย

      EM ขยาย คือ การทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมาก โดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้ ส่วนผสม

      1. EM 2 ช้อนโต๊ะ

      2. กากน้ำตาล 2 ช้อนตะ

      3. น้ำสะอาด 1 ลิตร

วิธีทำ

      • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน

      • ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด

      • เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วัน วิธีใช้

      • นำไปใช้ได้เหมือน EM สด และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน

      • เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีก

การกำจัดขยะ(เศษอาหาร)

 วิธีทำ

     • เศษอาหารที่เหลือต่อมื้อ/ต่อวัน เช่น เศษข้าว แกงเผ็ด แกงจืด(เฉพาะเศษแกง) ผักทุกชนิด เศษเปลือกผลไม้ เช่นส้ม ชมพู่ ฯลฯ

     • ใส่จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ) ลงในถัง อัตราส่วน เศษอาหารประมาณ 1 กก. : โบกาฉิ 1 กำมือ

     • ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนเต็มถัง ทิ้งไว้ 7 – 10 วัน

     • ทำได้ 2 – 3 วัน เปิดฝาดู จะมีไอน้ำและมีฝ้าขาวๆ คลุม หากทำถูกวิธีจะไม่มีหนอนขึ้นเลย

     • นำน้ำสีเหลืองหรือสีส้มไหลอยู่ด้านล่างของถัง รองน้ำไปใช้ประโยชน์ดังนี้

         - นำไปผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร หรือน้ำ 1,000 เท่า รดพืชได้

        - ล้างพื้นห้องน้ำ – ส้วม แทนสารเคมี

        - ใส่ในโถส้วมให้ย่อยสลายกาก แก้ปัญหาส้วมเต็ม

        -เทในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่น ข้อสังเกต น้ำที่ได้จะมีกลิ่นอมเปรี้ยวๆ

                                                    บทที่ 3

 วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินงาน

วัสดุอุปกรณ์

     1.เศษอาหาร 2 กิโลกรัม

     2.สารชีวภาพขยาย 300 มิลลิลิตร

     3.กากน้ำตาล 300 มิลลิลิตร

     4.กะละมังขนาดเล็ก 1 ใบ

     5.ตะกร้าพลาสติก 1 ใบ

     6.ผ้าบางใช้แล้ว 1 ผืน

     7.ทัพพี 1 ด้าม

     8.บีกเกอร์ขนาด 200 มิลลิลิตร 1 ใบ

     9.ขวดพลาสติกขนาดเล็ก

    10.ขวดน้ำดื่มพลาสติก

    11.มะกรูด 10 ลูก

    12.ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด 2 ใบ

    13.กระบอกฉีดน้ำ 2 ใบ

  ตัวแปรที่ศึกษา

  ตัวแปรจากจุดมุ่งหมายข้อที่ 1

   กำหนดตัวแปร

      ตัวแปรต้น  เศษอาหาร

      ตัวแปรตาม  การเปลี่ยนแปลงของเศษอาหาร

     ตัวแปรควบคุม ปิดถังให้สนิท

  ตัวแปรจากจุดมุ่งหมายข้อที่ 2 ตัวแปรจากจุดมุ่งหมายข้อที่ 3

  กำหนดตัวแปร

  ตัวแปรต้น สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ สารน้ำชีวภาพกลิ่น มะกรูด

  ตัวแปรตาม กลิ่นของห้องน้ำ

  ตัวแปรควบคุม ปริมาณที่ใช้ ห้องน้ำ

ระยะเวลาในการทดลอง

      -

วิธีการดำเนินงาน

      ตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการทำสารชีวภาพ(EM)จากเศษอาหาร

วิธีการทำสารชีวภาพ(EM)จากเศษอาหาร

    1.เก็บเศษอาหารจากโรงอาหารของโรงเรียน

    2.นำเศษอาหารคลุกกับสารชีวภาพขยายและกากน้ำตาลคนให้เข้ากันในกะละมัง

    3.ปิดฝาให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จะได้น้ำสารชีวภาพ(EM) ที่เป็นหัวเชื้อ(จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ)

       ตอนที่ 2 ศึกษาวิธีการทำสารน้ำชีวภาพ

   วิธีการทำสารน้ำชีวภาพ

    วิธีที่ 1 การทำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ

          1. นำสารชีวภาพ(EM) ปริมาณ 150 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำเปล่า 5 ลิตร ในถังพลาสติก

          2. เติมกากน้ำตาล 10 มิลลิลิตร คนให้เข้ากัน

          3. ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน ได้สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ

   วิธีที่ 2 การทำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด

         1. นำสารชีวภาพ(EM) ปริมาณ 150 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำเปล่า 5 ลิตร ในถังพลาสติก

         2. เติมกากน้ำตาล 10 มิลลิลิตร คนให้เข้ากัน

         3. หั่นมะกรูดและ บีบเอาน้ำใส่ลงไปทั้งเปลือกมะกรูดและน้ำมะกรูด

         4. ปิดฝาถัง ทิ้งไว้ 1 คืน ได้สารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด

        ตอนที่ 3 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารน้ำชีวภาพกับสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด

     การทดลองครั้งที่ 1

          นำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วม ห้องสุขาห้องที่ 1ให้ทั่ว และนำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วมให้ทั่ว ห้องสุขาที่ 2 ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกผล

     การทดลองครั้งที่ 2

         นำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วม ห้องสุขาห้องที่ 1ให้ทั่ว และนำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วมให้ทั่ว ห้องสุขาที่ 2 ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกผล

    การทดลองครั้งที่ 3

         นำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วม ห้องสุขาห้องที่ 1ให้ทั่ว และนำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วมให้ทั่ว ห้องสุขาที่ 2 ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกผล

     การทดลองครั้งที่ 4

         นำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วม ห้องสุขาห้องที่ 1ให้ทั่ว และนำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วมให้ทั่ว ห้องสุขาที่ 2 ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกผล

      การทดลองครั้งที่ 5

         นำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วม ห้องสุขาห้องที่ 1ให้ทั่ว และนำสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดไปฉีดบริเวณพื้นและบริเวณโถส้วมให้ทั่ว ห้องสุขาที่ 2 ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกผล

                                                 บทที่ 5

สรุปผลและอภิปรายผล

        1.สรุปผล

      ตอนที่ 1 การศึกษาวิธีทำสารชีวภาพ(EM)จากเศษอาหาร

           พบว่า เศษอาหารสามารถนำมาทำสารชีวภาพ(EM)ได้ โดยมีจุลินทรีย์ประเภทเชื้อราทำหน้าที่ย่อยสลายเศษอาหารให้กลายเป็นสารชีวภาพ(EM)

      ตอนที่ 2 การศึกษาวิธีทำสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติและการศึกษาวิธีทำสารน้ำชีวภาพ กลิ่นมะกรูด

           พบว่า สารชีวภาพ (EM) สามารถนำมาขยายทำเป็นสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติได้ โดยการนำสารชีวภาพ(EM)ที่ทำได้ผสมกับกากน้ำตาลและน้ำตามอัตราส่วน จะได้สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติและเพิ่มมะกรูดลงไปจะได้สารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด

      ตอนที่ 3 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารชีวภาพกลิ่นธรรมชาติกับสารชีวภาพกลิ่นมะกรูด    

          พบว่า สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นเทียบเท่ากับสารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูด เพราะสามารถดับกลิ่นเหม็นของห้องสุขาได้เหมือนกัน และห้องสุขาที่ใช้สารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติไม่มีกลิ่นหอม แต่ห้องสุขาที่ใช้สารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดที่มีกลิ่นหอมของมะกรูด ทั้งนี้เพราะว่ามะกรูดมีสารให้ความหอมจึงทำให้สารน้ำชีวภาพกลิ่นมะกรูดมีกลิ่นหอมกว่าสารน้ำชีวภาพกลิ่นธรรมชาติ

2.ประโยชน์ที่ได้รับ

       1.สามารถนำขยะประเภทเศษอาหารมาทำสารชีวภาพ

       2.สามารถนำสารชีวภาพไปกำจัดกลิ่นเหม็นของห้องสุขา

       3.ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

       4.นำความรู้ไปเผยแพร่ให้ผู้อื่น

       5.ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างองค์ความรู้

       6.สร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

3.ข้อเสนอแนะ

        1.ห้องสุขาที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพไม่ควรเปิดให้นักเรียนใช้ในระหว่างการทดสอบ

        2. สารน้ำชีวภาพที่ได้อาจนำไปทดลองปรุงแต่งกลิ่นผลไม้ชนิดอื่นๆหรือกลิ่นของใบไม้

        3. เศษอาหารที่นำมาใช้จะเป็นเศษอาหารที่ไม่มีน้ำผสมอยู่หรือมีน้ำผสมอยู่ก็ได้

       4.ไม่ควรนำสารชีวภาพมาฉีดโดนตัวคนหรือสัตว์โดยตรง

        5. ควรจะนำสารชีวภาพ(EM) ที่ผลิตได้ ไปทดลองใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆด้วย

หมายเลขบันทึก: 207821เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

อาจารย์คับ ผมได้อ่านแล้วชอบดี แต่ว่า อ่านไปอ่านมาก็งง อยู่นะครับ

ตัวผมเองก็สนใจเรื่อง สาร EM อยู่เหมือนกันครับ

ถ้าเป็นไปได้ ขอ รูปภาพประกอบด้วยได้ไหม ครับ อาจาร์

ขอบคุณครับ

ดีจังค่ะ

เด็กๆได้เรียนรู้ ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

น่าสนใจมากค่ะ

เคยมีคนทำขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยด้วย em แล้วเรียกว่าขยะหอม  แล้วหอมจริงมั๊ยคะ

โครงงานนี้มีประโยชน์มากนะคะ

ครูเบญตอบครูเตือน

เศษอาหารก็จัดเป็นขยะเปียกค่ะ สารน้ำชีวภาพที่ได้ครูเตือนสามารถนำไปเป็นปุ๋ยก็ได้ค่ะ โดยผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วน น้ำ5 ลิตร :สารชีวภาพ 1ช้อนโต๊ะค่ะ ดิฉันใช้รดต้นไม้ที่บ้านโดยเฉพาะต้นกล้วยไม้ออกดอกสวยงามและไม่เป็นโรคราต่างๆด้วยค่ะ และที่ได้ใช้ประโยชน์มากที่สุดคือใช้ฉีดบริเวณที่ลูกชาย(ลูกหมา)ฉี่รดไว้ด้วยค่ะกลิ่นจะไม่มีให้รำคาญเลยค่ะ แหม!อยากให้ครูเตือนนำไปลองใช้จัง รับรองว่าได้ผลดีจริงๆค่ะ ทำไม่ยากเลยค่ะแต่ได้ประโยชน์มากมาย ทำครั้งเดียวต่อไปก็นำไปขยายได้ตลอดเอาไปแจกชาวบ้านไว้ใช้ในครัวเรือนจะดีมากเลยค่ะ ของดิฉันลูกศิษย์เก่าเขาเป็นร้านซื้อของเก่านำไปฉีดดับกลิ่นได้ผลดีค่ะ

แล้วจะลงภาพขั้นตอนการทำให้ดูนะคะ ที่ครูเตือนถามมาว่าหอมไหมคะ ถ้าเป็นกลิ่นธรรมชาติกลิ่นจะเป็นแบบเหมือนมีกลิ่นเหล้าค่ะ แต่ครูเบญจะให้นักเรียนลองทำสูตรกลิ่นมะกรูดค่ะเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้กลิ่นธรรมชาติพบว่ากลิ่นมะกรูดใช้ได้ผลดีมีกลิ่นหอมของมะกรูดเป็นที่พึงพอใจมากกว่ากลิ่นธรรมชาติค่ะ แต่กลิ่นธรรมชาติจะเหมาะสำหรับการนำไปทำปุ๋ยค่ะ

คุณครูค่ะ โครงงานมันมี 5 บทไม่ช่ายเหรอ

แล้วบทที่ 3 หายไปไหนค่ะ

น่าจะมีรูปด้วยน่ะค่ะ

จะได้สมบูรณ์แบบอ่ะค่ะ

อิอิ

สวัสดีค่ะหนูอ่านเจอตัวอย่างโครงงานของครู

แล้วจะขอคัดลอกไปทำส่งครูที่โรงเรียนบ้าง

แต่คัดลอกไม่ได้เลยค่ะ

โครงงานของครูมีสาระเนื้อหาดีมากเลยค่ะ

ที่หายไปเป็นบทที่ 4 ผลการทดลอง อยากให้นักเรียนหรือผู้สนใจลองฝึกปฏิบัติจริงๆจะเกิดประโยชน์มากๆเลยค่ะ

ดีมากๆเลยค่ะขอบคุณสำหรับข้อมูล

ครูเบญจาคะ ตอนนี้หนูกำลังจะทำโครงงานอ่ะค่ะ แต่คิดไม่ออกซักทีว่าจะทำเรื่องอะไรดีอ่ะค่ะ ทำไงดีคะ

ดีมากค่ะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง บางทีคนรุ่นหลังอาจจะนำไปเป็นต้นแบบได้นะคะ

ดีมากๆเลยครับ ให้ความรู้เต็มไปหมด

ดีมากเลยค่ะจะได้ให้คนที่สนใจทำกันทคลองได้ค้นคว้าและนำไปไช้ในทางที่ดีและถือว่าเป็นประสบการณ์ด้วยค่ะ

 ดีมากจะได้ให้คนที่สนใจได้ค้นคว้า

ีีีีีีรักจามากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

  1. รักจามาก..............กกกกกกกกกกก...............ก.ก.ก.ก.กก............ก.ก.

โครงงานนี้เคยได้รับรางวัลหรือเปล่าคะเพราะเท่าที่อ่านเเล้วเป็นงานที่ดี

ทำให้เด็กอย่างเรารู้จักการคิดให้เป็นระบบเเละรู้จักการวางเเผนเองเป็น

ผมอยากรู้ว่าการนำดินตามธรรมชาตมาทำให้เกิดจุลินทรีย์ดีมัยครับและอยากดูเอกสารอ้างอิงด้วย

ถ้าจะเอาเฉพาะเปลือกหรือเศษผลไม้ได้ไหมค่ะที่แม่ค้าปลอกทิ้งเอามาทำได้มั้ยจ๊ะ

ทำไมบทที่5 ไม่มีอภิปรายผลการทดลองหล่ะค่ะ--"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท