การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว


การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว

การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว

 

² ความหมายความสำคัญ การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research :CAR)
                Kemmis, S.กล่าวว่า Kurt Lewin เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"action reseach"  โดยมีขอบเขตอยู่ที่การ แก้ปัญหา    และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่  โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา  ค้นคว้า วิจัย  เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ  กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มาตรา  ๓๐  ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  มาตรา ๖๗ รัฐจ้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา   การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย  เรียกว่า  ครูนักวิจัย (teacher as Research)ซึ่งจะต้องมีพันธกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
         ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน  ถ้าหากครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง   บท  จะต้องใช้เวลายาวนานหลายคนจึงไม่สามารถเขียนรายงานการวิจัยแบบยาวๆ ได้  จึงนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ  สั้นๆ ซึ่งสามารถทำวิจัย ได้ทั้งครู และนักเรียน  ตามแนวของกรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
²จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย
          . เพื่อแก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
             - สอนไปแล้วมีปัญหา   หรือนำปัญหาจากผลการสอนปีที่ผ่านมาหรือคิดหาวิธีการสอนใหม่ๆ  มาช่วยให้การสอน สนุกสนานยิ่งขึ้นแล้วทำการวิจัยโดยไม่จำเป็นต้องเขียนเค้าโครงการวิจัยก็ได้ และไม่จำเป็นต้องบันทึกขออนุญาตผู้บริหาร หรือเสนอหัวหน้าฝ่ายต่างๆให้ความเห็นชอบ
             - เขียนรายงานการวิจัยสั้นๆ หน้าเดียวหรือ ๒ - ๑๐ หน้า
             - บันทึกรายงานเสนอผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
             - ถ่ายเอกสารเผยแพร่ให้ครูในโรงเรียน หรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อสะสมเป็นผลงานของเรา
          . เพื่อประกอบการเสนอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ ๓
             - แก้ปัญหานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน
             - เมื่อแก้ปัญหาแล้ว เขียนรายงาน สรุป เสนอประกอบการเลื่อนตำแหน่ง
             - รายงานการวิจัยควรมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปจะมี ๕ บท
    ² รูปแบบของการวิจัยที่เหมาะในการนำไปวิจัยในชั้นเรียน
                 การวิจัยเชิงสำรวจ   เช่น   สำรวจว่านักเรียนแต่งกายไม่เรียนร้อยนั้นมีกี่คน   ใครบ้างสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สำรวจนักเรียนว่าใครเคยสูบบุหรี่บ้าง
                .การวิจัยหาความสัมพันธ์ เช่นนักเรียนกลุ่มที่เรียนเก่งกับกลุ่มเรียนอ่อนมีความสัมพันธ์ กับอาชีพผู้ปกครองหรือไม่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับภาษาไทย  หรือไม่
               .การวิจัยเปรียบเทียบ   เช่น   การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาสังคมศึกษาเรื่องการ เลือกตั้งระหว่างการสอนแบบ  แสดงบทบาท สมมติกับการสอนแบบบรรยาย
                 .การวิจัยทดลองเชิงเหตุผล จะแบ่งกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มๆ แล้วเปรียบเทียบว่าใคร ดีกว่ากัน เช่น ทดลองวิธีสอนสองวิธี โดยใช้นักเรียนห้อง ก. และห้อง ข. มีจุดอ่อนคือนักเรียน อาจแอบดูกัน หรือสอบถามกันนอกห้องมีนักเรียนกลุ่มหนึ่งได้ผลดี แต่อีกลุ่มยังอ่อนเหมือนเดิม
                .การวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา วิธีนี้ใช้นักเรียนกลุ่มเดียวไม่ต้องเปรียบเทียบวิธีสอนแบบดั้งเดิมกับวิธิสอนใหม่ แต่นำวิธีสอนแบบใหม่มาใช้ได้เลย หรือพัฒนาสื่ออุปกรณ์มาใช้สอนหรือจัดทำแผนการสอนให้ดีแล้วนำไปสอนนักเรียนจะสอน ๑ ห้อง ๕ ห้อง หรือ ๑๐ ห้องก็ได้
                 สถิติที่ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ T -Test หรือ F - test เราใช้เพียงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็พอแล้ว       โดยอาจจะมีการทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ซึ่งกรมวิชาการ  สรุปว่า การวิจัยในชั้นเรียนที่น่าทำมากที่สุด คือ รูปแบบที่ ๕ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียว เหมาะกับการเรียนการสอนมากที่สุด

 ²วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          .จะมีข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ แต่ต้องอยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหา การวิจัยที่กำหนดไว้เท่านั้น
          .ควรกำหนดเป็นข้อๆ  เช่น  สำรวจเปรียบเทียบ  หาความสัมพันธ์  หาผลกระทบหาความสอดคล้อง เช่น
                 เพื่อศึกษา เจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการสนับสนุนของผู้ปกครองของนักเรียนที่ร่วมทำและไม่ร่วมทำโครงงานวิทยาศาสตร์
                 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู    เกี่ยวกับการนิเทศภายในจำแนกตามเพศวุฒิการศึกษาและประสบการณ์สอน
                 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพของผู้ปกครอง กับความสามารถทางคณิตศาสตร์
                 เพื่อศึกษาอิทธิพลของ  ๑๐ องค์ประกอบ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของหัวหน้าคณะและหัวหน้าแผนกวิชา ช่างอุตสาหกรรม 

² ตัวอย่างการวิจัย 
          การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่องคำราชาศัพท์ โดยการแสดงลิเกกับการสอนแบบปกติ
          วัตถุประสงค์ :
                 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ
                 เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ ระหว่างการเรียนภาษาไทยโดยการแสดงลิเกกับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ

²การวิจัยนวัตกรรม
          นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง  สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ  หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยการให้เหมาะสม   โดยการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดี    ในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ประเภทนวัตกรรม
                 .สื่อสิ่งประดิษฐ์  เช่น  กล้องโทรทัศน์  หนังสือ  คู่มือครู   แบบเรียนโปรแกรม วิดิทัศน์    แผนการสอน   ชุดการสอน   ศูนย์การเรียน   สื่อประสม   คอมพิวเตอร์ช่วยสอน   เกม   เพลง  แบบฝึกต่างๆ เอกสารประกอบการสอน ใบความรู้ ใบงาน สไลด์ แผ่นโปร่งใส ข่าวหนังสือพิมพ์
                 .วิธีการหรือเทคนิค  เช่น  วิธีทดลอง วิธีไตรสิกขา วิธีอริยสัจ ๔ วิธีสอนแบบโครงงานวิธีสอนแบบสหกิจ  วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ  วิธีสอนแบบStoryline  วิธีสอนแบบสากัจฉา  วิธีสอนแบบดาว ๕ แฉก CIPPA Model,   Mind Mapping  วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ วิธีสอนแบบอภิปราย  วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  การแสดงละคร   บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ทัศนศึกษา สอนซ่อมเสริม การสอนเป็นทีม การสอนตามสถาพจริง การเรียนรู้จากการ   ปฏิบัติจริง  การเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ  วิธีสอนแบบซินดิเคท  วิธีสอนแบบลีลาศึกษา      วิธีสอนแบบลักศาสตร์ วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ วิธีสอนแบบวรรณี วิธีสอนแบบเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery Learning)   วิธีสอนแบบอนุมาน   วิธีสอนแบบวิพากษ์วิจารณ์ วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้(4 MAT System)  เป็นต้น
    
² ขั้นตอนการวิจัย
                 ในการทำวิจัยอย่างเป็นระบบผู้เขียนแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น ๖ ขั้น คือ
                                ขั้นที่ ๑ บอกปัญหาของนักเรียน
                                ขั้นที่ ๒ บอกวิธีแก้ปัญหา
                                ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/แบบฝึก/นวัตกรรม
                                ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน/ลงมือแก้ปัญหา
                                ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป
                                ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว
                 ขั้นที่ ๑ บอกปัญหาของนักเรียน   แบ่งได้ ๓ พวก คือ
                      . ปัญหาด้านพฤติกรรม / ความประพฤติ เช่น การแต่งกายไม่เรียบร้อย ไว้ผมยาว พูดเสียงดัง หยาบคาย  ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ไม่มีระเบียบวินัย พูดสอดแทรก ชอบรังแกเพื่อน ฯลฯ
                      .ปัญหาด้านวิชาการ  เช่น  สอบได้คะแนนน้อย  อ่านหนังสือไม่คล่อง  เขียนหนังสือไม่สวย พูดไม่ชัด  ขาดทักษะการทำงาน แต่งประโยคไม่เป็น สรุปองค์ความรู้ไม่ได้ ฯลฯ
                      .ปัญหาด้านจิตพิสัย   เช่น   ขาดความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เซื่องซึม หงอยเหงา ความเมตตากรุณา  ความเสียสละ ความกตัญญูกตเวที เจตคติต่อวิชาที่เรียน

การกำหนดหัวข้อวิจัย
                         .อย่ากำหนดหัวข้อที่ยาก หรือเป็นหัวข้อที่มีความเพ้อฝันมากเกินไป มันจะเกินขีดความสามารถของ  นักวิจัย
                         .เป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ และควรอยู่ในสาขาของตนเอง หรือวิชาที่ตนเองสอน
                         .หัวข้อวิจัยควรทันต่อเหตุการณ์ ทันสมัย มีคุณค่า เป็นที่สนใจของหน่วยงานต่างๆ มีประโยชน์ต่อ  บุคคลและสถาบัน และเสริมความรู้ใหม่ๆ
                 ขั้นที่ ๒ บอกวิธีแก้ปัญหา
                       วิธีแก้ปัญหาคือ การใช้นวัตกรรมประเภทสื่อสิ่งประดิษฐ์  หรือวิธีการสอนแบบต่างๆ  ที่เหมาะสมต่อ  ปัญหานั้นๆ โดยครูตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมเอง  หรือศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น
                       .ปัญหาการสอนในปีที่ผ่านมา  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  อาจแก้โดยใช้ศูนย์การเรียน   แบบเรียนโปรแกรม การเรียนแบบร่วมมือ นิทาน เพลง เกม การทดลอง แบบฝึกทักษะ   ฯลฯ
                       .ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการสอนในชั่วโมงที่ผ่านมา  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำแก้โดยใช้วิธีการสอน   ซ่อมเสริม   เช่น   การสอนซ่อมเสริมโดยครู  เพื่อนสอนเพื่อน  พี่สอนน้อง  ศึกษาด้วยตนเองจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม  แบบเรียนโปรแกรม วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
                 ขั้นที่ ๓ จัดทำสื่อ/อุปกรณ์/ แบบฝึก/นวัตกรรม
                       ในการอบรมการวิจัยทั่วๆไป มักจะใช้คำว่า สร้างนวัตกรรม ซึ่งบางท่านอาจจะคิดว่าเป็นสื่อที่ยิ่งใหญ่  ยากแก่การจัดทำ ผู้เขียนจึงใช้คำว่า จัดทำสื่อ อุปกรณ์ แบบฝึก หรือนวัตกรรมซึ่งทำให้ท่านเข้าใจดีขึ้นและรู้สึกว่าเป็น  สิ่งที่ง่ายเพราะคุณครูได้จัดทำขึ้นมาแล้วในการสอนแต่ละวิชา
                       ในการวิจัยในชั้นเรียน สื่อที่ท่านจัดทำขึ้นไม่จำเป็นต้องไปหาคุณภาพของสื่อ เช่น หา ประสิทธิภาพของศูนย์การเรียนตามเกณฑ์ ๘๐ /๘๐ หาคุณภาพของแบบสอบถาม ประเมิน การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ประเมินคุณภาพของแผนการสอน   หาค่า IOA,ค่า IOC, ค่า CV,หาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ  เป็นต้น    แต่ท่านสามารถนำแบบฝึกหรือข้อสอบที่จัดทำ ขึ้นไปใช้ ได้เลย มิฉะนั้นท่านจะกังวลใจและรู้สึกว่าการวิจัยเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่อยากทำ
                 ขั้นที่ ๔ ทดลองสอน /ลงมือแก้ปัญหา
                       การทดลองวิจัย จะทำตามวิธีดำเนินการซึ่งจะใช้เวลาในการวิจัย ๒ ชั่วโมง หรือ ๑ สัปดาห์ หรือ   เดือนก็ได้ แต่ไม่ควรนานเกิน ๒ เดือน เพราะการวิจัยในชั้นเรียนมักจะเป็น เรื่องสั้นๆ ปัญหาเล็กๆ เช่น การแก้ปัญหา  ทักษะกระบวนการสังเกตโดยใช้แบบฝึกการสังเกต ซึ่งอาจมี ๒ - ๓ แบบฝึกหัด สามารถดำเนินการให้เสร็จได้ภายใน  ๑ ชั่วโมง หรือ ๒- ๓ ชั่วโมง ก็ได้
                 ขั้นที่ ๕ วัดผล วิเคราะห์ สรุป
                       เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีหลายอย่าง เช่น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบ ประเมิน แบบซักถาม  แบบวัดเจตคติ แบบทดสอบ แบบตรวจผลงาน   "ครูผู้สอนไม่ต้องกังวลเรื่องจำนวนหน้า หรือรูปแบบการเขียนรายงาน เพราะสิ่งที่เรา กำลังพูดกันคือรูปแบบการเขียนที่ไม่เป็นทางการ จึงคววรเขียนแบบสั้นๆ หน้าเดียว หรือกี่หน้าก็ได้"
                       การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที (t-test) แบบ dependent group ในกรณีที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียว การจัดอันดับคุณภาพเป็นต้น
                       การสรุปผล ให้สรุปตามหัวข้อของวัตถุประสงค์ในการวิจัย อาจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้
                 ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว
                       การเขียนรายงานให้สมบูรณ์ทั้ง ๕ บท อาจจะต้องใช้เวลานาน ครูผู้สอนไม่ต้องกังวล เรื่องจำนวนหน้า หรือรูปแบบการเขียนรายงาน เพราะสิ่งที่เรากำลังพูดกันคือรูปแบบการเขียน ที่ไม่เป็นทางการจึงควรเขียนแบบสั้นๆ หน้าเดียว หรือกี่หน้าก็ได้ ขอให้เขียนอ่านแล้วรู้เรื่อง เข้าใจว่าครูกำลังทำอะไร ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถทำการวิจัยปีหนึ่งได้หลายเรื่อง ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับนักเรียนและตัวครู เมื่อทำการวิจัยหลายเรื่องจนเกิดความชำนาญแล้วก็



ความเห็น (205)
นายสิทธิราช พัสลัง

ok

เพื่อนครับ

ผมได้อ่านแล้วมีประโยชน์มากผมขอให้คูรวาทยุทธ

หาข้อมูลที่มีประโยชน์ มีสาระหน่อย

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้

เราจะมีวิธีอะรายทำให้เด็กเลิกกินไข้เจียว บอกหน่อย ...

ไข่เจียวค่ะพี่

ป.ไหนเขียนไข่เจียวไม่ออกหนะเพ้

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่เผยแผ่ให้กันน่ะ

จุ้ยทําบล็อกน่าสนใจมากเลยค่ะ

จุ้ยทําบล็อกน่าสนใจมากเลย

นายสิทธิราช พัสลัง

ดีมากเลยเพื่อนในการเสนอข้อความ

โชคดีเพื่อน

<a href="http://widget.sanook.com/view-widget/graphic/?widget=6335" target="_blank"><img src="http://widget.sanook.com/static_content/full/graphic/fcbebdb18986084809958b96f92460ea_1207822044.gif" alt="คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ" border=0 /></a><br /><a href="http://widget.sanook.com/" target="_blank">[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]</a>

ขอบคุณค่ะที่เม้นตอบเรา

เยี่ยมมากเลยอีจุ้ย

สุดยอด

ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้

เนื้อหาน่าสนใจดี แล้วจะนำไปศึกษาต่อ(ขอบคุณ)

บทความเรื่องนี้เยี่ยมเลยครับ

ไม่เคยอ่านบทความว่าวิจัยชั้นเรียนเป็นอย่างไร แต่ก็เคยนึกว่าถ้าเราเป็นครูเราน่าจะทำอย่างนี้เพื่อจะได้รู้เกี่ยวกับตัวนักเรียนครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

แจ่มมากครับ น่าศึกษาค้นคว้า ต่อ ไป

จุ้ยทำได้ดีนะเม้นให้เขาบ้างนะ

แวะมาเยี่ยมตามคำชวนครับ

มาเม้น ให้แล้วนะ  เยี่ยมมากไปเยี่ยมและเชิญกันมาเม้น บ่อยๆนะ

คุณครูจุ้ยขยันเขียนบทความยาวๆจังเลยนะคะ เปิดดูมาทุกบันทึกแล้ว อ่านบันทึกนี้ได้จบชิ้นเดียวค่ะ ชอบตรงที่เป็นบันทึกที่อ่านแล้วน่าจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริงๆ

ปกติพี่จะอ่านบล็อกที่ไม่ยาวมาก เพราะไม่ได้มีเวลาเยอะ เพราะฉะนั้นอาจจะพลาดหลายๆบันทึกที่ดูแล้วยาวๆและเป็นบทความ จะอ่านเรื่องเล่าจากงานที่ทำจริงๆ แล้วจับเอาทฤษฎีมาวิเคราะห์ คุณครูจุ้ยก็น่าจะเขียนแบบนั้นได้ จะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติกับคุณครูท่านอื่นๆอีกเยอะด้วยนะคะ เพราะท่าทางคุณครูทั้งหลายก็มีภาระงานมากมายอยู่แล้วเหมือนกัน จะหาเวลามาอ่านบทความยาวๆแล้วย่อยเองคงจะลำบาก

ขอบคุณความตั้งใจดีๆในการเขียนและการไปเยี่ยมเยียนที่บล็อกพี่โอ๋นะคะ ชื่อเล่นคุณครูทำให้คิดถึง ครูดี ท่านนี้ค่ะแม้เธอจะจากไปเกือบ 2 ปีแล้วสิ่งที่เธอทำก็ไม่จางไปจากใจเลยนะคะ เห็นอะไรได้ยินอะไรที่เกี่ยวกับครูก็คิดถึงเธอและครอบครัวแสนดีนี้

  • มาเก็บความรู้เกี่ยวกับการวิจัย เผื่อในอนาคตจะทำวิจัยกับเขาบ้าง
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับสาระดีๆ ที่นำมามอบให้พวกเรา

เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่คุณครูสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี เป็นการสรุปที่ได้ใจความดีมาก ขอบคุณนะคะ...

  • ขอบคุณมาก
  • ได้ความรู้ดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

เป็นเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อวงการครูครับ ขอชื่นชม

สวัสดีค่ะ

  • น่าสนใจ การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research :CAR)
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีค่ะ...

แวะมาเยี่ยมให้กำลังใจก่อนนะคะ....วิจัยที่เขียนไว้มีประโยชน์มากไว้จะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกนะคะ.......

ยินดีที่ได้แบ่งปันกันอ่านค่ะ

ขอบคุณสำหรับ commentของคุณ ดิฉันก็ชอบอ่านงานของคูณเช่นกันและคิดว่าเป็นประโยชน์กับการทำงานมากค่ะ

พี่คิมมาให้กำลังใจค่ะ

http://www.krukimpbmind.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538684915

เป็นเรื่องดี...ที่สุด...ถ้ามีคนคิดทำ หรือทำแล้ว

ไม่ใช่เรื่องยาก

ก็ผลจากการจัดการในแต่ละชั่วโมง แต่ละวัน

ครูที่เก่งจะพบกับปัญหาตลอดเวลา...ว่าไหม

ดีมากครับ ทำให้มองชัดเจนขึ้นสำหรับการทำวิจัยของครูครับ เป็นการทำให้นักเรียนได้พัฒนาตรงและเร็วกว่าการทำวิจัยยุ่ง ๆ ยาก ๆ ซับซ้อนครับ...ขอบคุณมาก ๆ นะครับ......ชยพร แอคะรัจน์

ขอขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะคับ...

ขอบคุณคับ

ดีครับ ได้รู้เรื่องงานวิจัยดี

มาชม คุณwatayoot

ดีมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เพื่อการวิจัยนะครับ

ดีค่ะ ที่ทักทาย

เข้ามาได้ความรู้พ่วงไปอีก

ดีมากๆเลยคับ ว่างๆก็เข้ามา แสดงความคืดเห็นให้บ้างเด้อ

ถ้าว่างเม้นตอบเราด้วยนะค่ะ

อยากดูตัวอย่างงานวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เรื่องคำราชาศัพท์ โดยการแสดงลิเกกับการสอนแบบปกติ

ครับ เผื่อใช้เป็นแนวทาง

จำผมได้ไหม

คุณอยากรู้ไหมว่าคุณคือใคร

สวัสดีเจ้าค่ะ น้าwatayoot

น้องจิแวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ...น้องจิ

เป็นวิจัยที่ยอดมากเลยครับ ขอบคุณที่ให้ความคิดเห็น

คนมาเม้นเพียบเลย มาแวะชมครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ

  1. ขอถามหน่อยครับว่า "วิจัยไปทำไมครับ"
  2. ใครได้ประโยชน์จากงานวิจัยฯ
  3. ต้องการ comment มากๆ ไปทำไมครับ...

เข้ามาอ่านตั้งแต่เช้าแล้วครับ..ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ, เป็นกำลังใจให้เขียนบันทึกต่อไปครับ

ขอขอบคุณทุกคอมเม้นที่มาให้กำลังใจคับ

ขอบคุณคับ

อ่า ตามมาอ่ะ เพิ่งสมัครครับ แนะนำด้วยนะครับ

วิจัยหน้าเดียวหรือเชาเรียกว่า วิธีการแก้ปัญหา อย่างมีหลักฐาน

ดีครับทำให้รูจัก CAR มากขึ้น

ถ้าทุกคนรู้และทำ CAR เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การทำงานเป็นระยะ คงจะทำให้งานพัฒนาไปมาก

มาแล้วนะครับ

ขอบคุณที่ไปแลกเปลี่ยนความรู้กันนะคะ...

กลับมาเรียนรู้ทางบล็อกนี้บ้าง...ได้ความรู้ดีๆ มากเลย...

กำลังสนใจการทำวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมเหมือนกัน...

แล้วจะแวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกนะคะ...

อึม...และช่วงนี้ความคิดส่วนตัว ค่อนข้างจะเหมือนกับคนที่ 54 มากเลยอ่ะ...

เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานทุกคนนะคะ

  • ธรรมสวัสดีนะโยม
  • อนุโมทนาสาธุ
  • บุญรักษา

จากเดิมไม่ค่อยมั่นใจ ในการทำวิจัยอ่านแล้วดีมีประโยชน์มากเลย ต้องขอบคุณมากๆๆๆเลยค่ะ เป็นกำลังใจให้ทำดีต่อไปค่ะ

อ่านแล้วมีประโยชน์มากเลยนค่ะ ให้ความรู้ได้ดีมากเลยค่ะ

ได้อ่านแล้ว อยากได้ความรู้ การวิจัยหน้าเดียวมานานแล้วครับ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ให้ครู กศน.ผมด้วยนะ ขอบคุณ

วิทยา พิสัยพันธ์ ผอ.กศน.บึงกาฬ จ.หนองคาย

+ สวัสดีค่ะ...

+ ทำวิจัยแบบนี้อยู่ค่ะ " ๕.การวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา วิธีนี้ใช้นักเรียนกลุ่มเดียวไม่ต้องเปรียบเทียบวิธีสอนแบบดั้งเดิมกับวิธิสอนใหม่ แต่นำวิธีสอนแบบใหม่มาใช้ได้เลย หรือพัฒนาสื่ออุปกรณ์มาใช้สอนหรือจัดทำแผนการสอนให้ดีแล้วนำไปสอนนักเรียนจะสอน ๑ ห้อง ๕ ห้อง หรือ ๑๐ ห้องก็ได้"

+ ทดลองทำซ้ำ ๆ มาสามปีค่ะ..(รวมปีนี้ด้วยค่ะ)

+ เขียนบทที่ 1-3 เรียบร้อยค่ะ...สว่นบทที่ 4-5 รอผลพิสูจน์อยู่ค่ะว่าเรื่องที่ศึกษาเป็นจริงหรือไม่ค่ะ....

ชื่องานวิจัย ผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ใบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นคน ดี เก่ง และมีสุข ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสายหมอ อำเภอหนองจิก สังกัดสำนัก

งานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 ปีการศึกษา 2548

ผู้วิจัย นางอัมพาพร แก้วสมวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ใบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคน ดี เก่ง และมีสุข ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนบ้านสายหมอ อำเภอหนองจิก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 19 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) ใบกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบประเมินใบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประเมินโดยตัวผู้เรียน โดยเพื่อนและครู 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบแผนการวิจัยครูตรวจและให้คะแนนใบกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนทำ ประเมินใบกิจกรรมการเรียนรู้โดยตัวผู้เรียน โดยเพื่อน และโดยครู ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนจบในแต่ละเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ผลที่แปรเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละจากการประเมินใบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประเมินโดยตัวผู้เรียน โดยเพื่อน และโดยครู ใช้ผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่ได้จากการทำใบกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนจบในแต่ละเรื่อง

ผลการวิจัยพบว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ใบกิจกรรมการเรียนรู้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคน ดี เก่ง และมีสุข ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ได้จริง โดยการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคน “ ดี ” ที่ประเมินโดยผู้เรียนผลอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.50 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคน “ เก่ง ” ที่ประเมินโดยตัวผู้เรียนผลอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 89.32 ประเมินโดยเพื่อนผลอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.73 ประเมินโดยครูผลอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.90 ผลคะแนนที่ได้จากการทำใบกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.79 ผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนจบในแต่ละเรื่อง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.60 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคน “ มีสุข ” ที่ประเมินโดยผู้เรียนผลอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.73

+ อันนี้ยังคงต้องมีการปรับปรุงค่ะ..เพราะรอการพิสูจน์จากการปฏิบัติซ้ำ ๆ อยู่ค่ะ

ดีมากๆ ครับ จะนำไปดำเนินการต่อเลยครับ ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของชาติ(ถ้าทุกคนทำด้วยตนเองและนำไปใช้จริง) ไม่อยากให้ทำเพียงเพื่อมีงานวิจัยแสดงเท่านั้น แต่ต้องเป็นการวิจัยเพื่อใช้จริงพัฒนาจริงและทำด้วยตนเองจริง

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ เพราะตอนนี้กำลังทำวิจัยในชั้นเรียนกับนักศึกษา กศน.อยู่ค่ะ

ดีค่ะ เป็นข้อมูลที่มากเลยค่ะ

สำเสนอข้อมูลได้สนใจมาก ทำให้เราได้ความรู้ที่ควรรู้ ขอบคุณมากที่นำมาเผยแพร่

ตั้งใจสอบน้ะ จะได้กลับร้อยเอ็ดแล้วววววววววววว

คุณทำสือได้น่าสนใจดีน้ะ น่าอ่านน่าศึกษาดี

ครูน้อยบ้านนาจริงน่ะ น่าสนใจดีสมกับเป็นครูจริง ๆ

มาชม คุณwatayoot

ตามเส้นทางที่ฝากไว้นะนี่

ดีแล้วละ จะได้ ลปรร.กันนะครับ...

ความรู้ดีมากๆค่ะ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ

^^ แวะมาแอบอ่าน แนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียน ครับ

น่าสนใจ ครับ ยิ่งทำ นอกจาก ท่านคุณครูได้ฝึกประสมการณ์ แล้วเด็กๆ ก็

ได้ความรู้

น่าสนใจครับ ขอค้าง comment ก่อนครับ เนื่องจากยังไม่อ่านรายละเอียด ไว้จะกลับมาอีกครั้ง ขอบคุณครับ

ใครมีตัวอย่างงานวิจัยแบบนี้ น่าจะมาเล่าสูกันฟังเลยนะครับ

สนใจรับแมวไปรับแถวบ้านนาไหมคะ ^_^

เป็นกำลังใจให้ครูบ้านนานะคะ

ดี ดีคับ มีประโยชน์มากเลยคับ

สวัสดีค่ะ

การวิจัยหน้าเดียวเขียนได้ดีค่ะ สามารถใช้เป็นแนวทางแก่ผู้สนใจได้มากทีเดียว

ขอบคุณค่ะ อย่าลืมเขียนมาเยอะ ๆ นะคะ

ขอบคุณนะค่ะคุณ watayoot ที่เผยแพร่ความรู้ดี ๆ มีประโยชน์ให้ได้ทราบกัน เคยได้ยินน้องพูดถึงวิจัยหน้าเดียว เป็นอย่างนี้นี่เอง จะได้นำไปใช้บ้างเหมาะสำหรับนำเสนอผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ซึ่งจะไม่มีเวลาพอที่จะมานั่งอ่านอะไรเยอะ ๆสรุปให้อ่านน่าจะอ่านมากกว่าค่ะ  ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณนะค่ะที่เข้ามาเยี่ยม

สวัสดีค่ะ...

...แวะมาทักทายค่ะ...ยังมีเวลาไม่พอที่จะอ่านเพราะเรื่องนี้ต้องมีสมาธิ อ่านไปด้วยคิดไปด้วย ขออนุญาต นำบล๊อกเข้าแพลนเน็ตนะคะ...ขอบคุณค่ะ

สาวหละปูนเจ้า

  • ขอบคุณมากครับ
  • ชอบที่สุดคือ ขั้นที่ ๖ เขียนรายงานสั้นๆ หน้าเดียว....อิอิ

มาตามคำเชิญนะคะ ป้า ทำวิจัยแบบ r2r อยู่เรื่องนึง

เป็นการวิจัย KM+r2r+วิจัยการเรียนการสอนทางกานรพยาบาล

คิดว่าเป็นนวัตเวร-กรรม ด้วยเพราะเป็น เวร-กรรม ของหัวหน้าโครงการแล้วจะมาเล่าต่อถ้าสนใจ ยินดีทีรู้จักคนหนุ่มไฟแรง

...ว่าแต่ว่า....น้องอยู่ที่ไหนกัน

Where on earth that I can find you?...

สวัสดีครับคุณครู ขอบคุณที่สนใจรักษ์ภาษาไทยครับ

สวัสดีครับคุณครู มาตามทางที่ต่อไว้ให้น่ะครับ

ไม่ได้เป็นครู สนใจทำวิจัยเหมือนกันครับ

ชอบเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และครูที่ดี ครับ

เม้นเป็นกำลังใจให้ทำต่อไปนะครับ

สวัสดีค่ะ มาเยี่ยมค่ะ

โอ้ว CAR ในหน้าเดียว ข้าน้อยขอคารวะ ตอนมีโอกาสไปสอนหนังสือไม่เคยทำเลยครับ เห่อๆ เลยโดนเด้งไม่ให้สอนอ่ะนะ :) จะทะยอยทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆ ไปนะครับ :) ขอบคุณมากครับ

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ขอบคุณค่ะที่แวะเข้ามาอ่านและเม้นให้

ยังงัยแวะเวียนเข้ามาอีกนะคะ ขอบคุณค่ะ

ได้ความรู้ดีมาก

ตามมาเยี่ยม

ได้เห็นอะไรบางอย่างแล้วเยี่ยมมาก

ขอคาระวะ

เอาเป็นตัวอย่างบ้างได้ใหม ?

ไม่กล้าคอมเม้น หรอกคะ เพราะตัวเองจะต้องส่งวิจัยวันที่ 27 นี้แล้ว ยังทำไม่เป็นเลย สงสัยต้องมาขอคำแนะนำจาก ท่านพี่นะคะ

อย่าห่วงวิชาละ เราคนไทยด้วยกันต้องช่วยกัน

ดีมากครับ

กำลังสนใจทำอยู่เหมือนกัน

ขอบคุณมากที่ช่วยแชร์กันนะครับ

จะขอไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงนะครับ

เข้ามาแวะชมงานวิจัยด้วยคน แต่เป็นวิธีการทำ ป้าอยากได้ตัวอย่างงานวิจัยจริงจริง ไม่อยากได้ความรู้แล้ว อบรมมาเป็น 10 ครั้งก็ยังทำไม่ได้เสียที เฮ้อเหนื่อย

ผมสนใจผลการเรียนรู้ จากกการสอนแบบเปรียบเทียบการสอนปกติกับการใช้การแสดงลิเกครับ

ดีมากเลยครับสำหรับไว้เป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง

ขอบคุณครับ

ตามสัญญา มาเม้นให้แล้วนะ

กว่าจะมีเวลาเปิดดูก็หลายวันแล้ว เพราะชีวิตมีแค่เดินทางและเดินทางครับ ขอบคุณในเรื่อง ที่เป็นสาระนำไปใช้ได้จริงๆ ส่วนผมสันทัดการวิจัยเชิงคุณภาพ PAR เพราะถึงลูกถึงคนและได้รับก่ารตอบรับจากชุมชนดีมากๆ สนุกทุกลมหายใจแต่ต้องมีเวลาและทุ่มเทใจให้กับชาวบ้าน

ความเห็นที่ 66

ผลคะแนนที่ได้จากการทำใบกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.79 (คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน)

ผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนจบในแต่ละเรื่อง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.60 (เฉลี่ยหลังเรียน)

คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนจะต้องสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ไม่เกิน3 - 5 ตามกฏการเรียนรู้คงทน (ล้วนและอังคนาสายยศ. 2532 หน้า 87) หมายถึงเครื่องมือนั้นผ่านการหาค่า IOC

น่าจะมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (รวมทั้งหมดอีกนะคะ) จะได้หาค่า E1/E2

ขอชื่นชมยินดีนะคะ  ที่แสดงถึงความมานะพยายามอย่างยิ่งในการส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนขอเอาใจช่วยและยินดีให้คำปรึกษาด้วยความเป็นกัลยาณมิตรอย่างยิ่งค่ะ

ในวงการศึกษา งานวิจัยเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้จริง ๆ "การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว" ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็ทำให้มันใหญ่ขึ้น แบบนกน้อยทำรังแต่พอตัว

ในวงการศึกษา งานวิจัยเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้จริง ๆ "การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว" ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็ทำให้มันใหญ่ขึ้น แบบนกน้อยทำรังแต่พอตัว

เรื่องวิจัยนี้ แต่ก่อนได้ยินแต่ปริญญาโท เขาวิจัย ตอนนี้พี่เรียนปริญญาตรี ก็ทำการวิจัยแล้วเช่นกัน แต่บอกตรงๆ  อาจารย์สอนอย่างไรก้ไม่เข้าใจ มาอ่านของน้องเสริมเข้าไปอีก ก็คิดว่าเป็นแนวทางได้ ดีมากเลย ดีมากทั้งที่ไม่เข้าใจ แต่ให้ดีมากเพราะน้องเข้าใจมากกว่าพี่  เก็บไว้ในแพลนเน็ทเหมือนกัน เผื่อว่ามีวิจัยอีกจะได้เป็นแนวทาง ขอบคุณ

มาแวะมาเยี่ยนมาเยียน

มาเรียนวิจัยหน้าเดียว

ทำอะไรทำเถิดให้เชี่ยว

แค่หน้าเดียวก็ขอให้เชี่ยวเอย

...................................

อึมป็นข้อมูลที่ดีนะคับ เยี่ยมมากเลยที่ให้ความรู้ใหม่ๆ

สวัสดีครับ

แวะมาอ่าน เยี่ยมมากครับ

ชอบงานวิจัย สอนราชาศัพท์ด้วยลิเก อิๆๆ

มาเป็นกำลังใจค่ะ เยี่ยมๆๆ ยุทธ์

เปนครูหลอค่ะ

จบจากไหน

ขอบคุณคะ

เป็นประโยชน์มากๆ เลยคะ

ขอบคุณมากนะคะงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์มากเลยคะ

เป็นประโยชน์อย่างมากเลยค่ะที่มีวิจัยดี ๆให้ศึกษากำลังหาข้อมูลอยู่เลยค่ะ

มีประโยชน์มากๆเลยอ่ะ

ได้ความรู้ดีมาก กำลังต้องการพอดี ขอบคุณมากค่ะ

อารีย์ อาตมประสังสา

กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยหน้าเดียวอยู่พอดี อ่านข้อมูลของคุณwatayoot ที่เผยแพร่แล้วเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันเป็นอย่างยิ่ง ดิฉันจะนำความรู้นี้ไปฝากเพื่อนครูที่โรงเรียนได้ศึกษากันค่ะ ครูสามจังหวัดภาคใต้ค่ะ

ดีจังค่ะ อ่านเข้าใจง่าย ขออนุญาตเลียนแบบนะคะ ดปรดอนุดลมเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะงานคุณมีประโยชน์มากเลย และพออ่านว่าวิจัยหน้าเดียว เอาค่ะ จะสู้ๆๆ เพราะสอนมา เจอเด้กเป้นปัญหาเยอะ ก็จะพัฒนาเด็กต่อไปค่ะ กำลังพัฒนาเรื่องภาษาอังกฤษพื้นฐานเพื่อยกผลสัมฤทธิ์อยู่ค่ะ อ่านผลงานคุณแล้วมีแนวคิด แบบพอมีกำลังใจว่าน่าจะทำได้ เข้าใจง่าย ไม่เหมือนงาน 5 บท ของ ดร.บางคน อ่านเข้าใจยาก จนกลัว คำว่างานวิจัยเลยค่ะ

ขอคุณอีกครั้งนะคะ ผลงานคุณเยี่ยมมากค่ะ ดิฉันจะเลียนแบบล่ะคะ เพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนของดิฉัน

จาก ครูจิณัฐกานต์ เตียตระกูล

ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับข้อมูล

เป็นประโยชน์มากเลยเพื่อน

เพื่อนเราก้อเก่งเหมือนกันนะเนี่ย

เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทุกท่านมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะเข้าใจกว่าเข้าอบรมตั้งเยอะ ขอบคุณมากๆ

สู้ๆๆเยี่ยมมากค่ะสำหรับข้อมูล

ขอบคุณมากที่ส่งสิ่งที่ดีมีประโยชน์ออกเผยแพร่

อยากให้ครูหลาย ๆ ท่านได้อ่าน

และนำไปประยุกต์ใช้น่าจะดี..

การศึกษาไทยจะได้ไปไกลกว่านี้...

ขอบคุณที่ยังมีบทความที่เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก...

ขอบคุณที่มีงานดีๆอย่างนี้มาเสนอให้ผลงานวิจัยด้านการงานอาชีพนำมาเสนอให้มากด้วยจะขอบคุณเป็นอย่างย่งจากครูกการงาน

อยากให้ผู้เขียนหรือเพื่อนๆๆที่แวะมาอ่านยกตัวอย่างการวิจัยให้ด้วยนะค่ะเพื่อแลกเปลี่ยนกัน

ดีมากเลยค่ะ

ขอบคุนมากมายสำหรับข้อมูล

ขอบคุณนะเป็นประอย่างมากเลยครับขอบคุณอีกครั้ง

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ

อ่านแล้วเข้าใจขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มากๆ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อความที่มีประโยชน์

สวัสดีคะ

เนื้อหาดีมากคะ แต่ควรจะมีอ้างอิงของเนื้อหาด้วยนะคะ

เพื่อจะได้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

ขอบคุณ

ชัดเจนดีครับ

ติดตามละกัน

หากมีข้อมูลหรือตัวอย่างเกี่ยวกับการวิจัย

รบกวนช่วยส่ง mail มาให้ดูบ้างนะคะ

ขอบคุณอย่างยิ่ง

เขียนได้ดีมาก อยากให้คนอื่นได้อ่านต่อ

ก็ดีนะโถน แกนี่ทำอะไรเป็นวิชาการกะเขาก็เป็นนะ

นึกว่า จะมัวแต่นอนตื่นสายอยู่

เดี๋ยวเข้ามาอ่านใหม่นะ

ได้ความรู้ดีมากๆ คะ ขอให้เว็บนี้อยู่ไปนานๆ นะคะแล้วจะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

ขอบคุณค่ะ เป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่ง

เยี่ยมยอดมากเลยนะค่ะ ชอบมากค่ะ

มีตัวอย่างงานวิจัยไหมค่ะช่วยมาทางเมลได้ไหมค่ะ

ขอบคุณสำหรับแนวทางทำวิจัยค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจขึ้นมาก  ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณที่ทำตัวอย่างดีๆ มาให้ดูน่ะคับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี เข้าใจการวิจัยมากขึน

เนื้อหาดีมากเลย ขอบคุณสำหรับข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ขอบคุณมาก

เป็นประโยชน์แก่การศึกษางานวิจัยขอบคุณสำหรับแนวทางทำวิจัยค่ะ

เป็นประโยชน์สำหรับครูที่สอนหลายวิชาและต้องการทำวิจัยเฉพาะนักเรียนที่เป็นปัญหา

ดีมากเลยค่ะ ขอขอบด้วยใจจริงนะคะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีดี

ขอบคุณค่ะ ได้งานวิจัยที่เข้าใจง่ายดีค่ะ

อ่านแล้วได้กำลังใจมากๆ สำหรับการขับเคลื่อนชวนเพื่อนครูมาทำวิจัยในโรงเรียนเพื่อพัฒนาบรรดาลูกศิษย์ของเรา ขอเป็นกำลังใจให้ครูทุกคนได้ร่วมกันฝึกฝนพัฒนาตนเองกันนะคะ

จากครูเบญ เครือข่ายเาวชนต้นกล้าเพื่อการอนุรักษ์คลองอู่ตะเภา จ.สงขลา

ขอบคุณค่ะ อยากให้คนไทยมีน้ำใจเช่นครูบ้านนา

ขอบคุณนะคะ มีประโยชน์มากสำหรับครูที่กำลังจะก้าวไปเป็นมืออาชีพค่ะ

ขอคุณทุกความรู้ที่มีให้

ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ที่มอบให้ มีประโยชน์สำหรับคนที่ไม่รู้อย่างผม เป็นอย่างมาก ขอให้อาจารย์สร้างสรรค์สิ่งดีๆ  สำหรับครูเราต่อไปนะครับ ขอเป็นกำลังใจครับผม

อยากให้คุณครูทำวิจัยกันมากขึ้น การสอนแบบเก่าควรเลิกได้แล้ว

ขอบคุณมาก ที่เผยแพร่ ความรู้ เพื่อการศึกษา

ขอบคุณมากที่ให้ความกระจ่างในเรื่องการวิจัย และการวิจัยในชั้นเรียน ดิฉันคิดว่าครูส่วนมากก็คิดแก้ปัญหาเด็ก คิดแล้วก็ปฏิบัติเลย

จนเด็กค่อยๆดีขึ้นโดยไม่ได้กำหนดเวลา ครูจึงทำการวิจัยอยู่ตลอดเวลา

ขอบคุณมากที่ให้ความกระจ่างในเรื่องการวิจัย และการวิจัยในชั้นเรียน ดิฉันคิดว่าครูส่วนมากก็คิดแก้ปัญหาเด็ก คิดแล้วก็ปฏิบัติเลย จนเด็กค่อยๆดีขึ้นโดยไม่ได้กำหนดเวลา ครูจึงทำการวิจัยอยู่ตลอดเวลา

ขอบคุณนะคะที่ให้คุณครูกระจ่างเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียนแบบไม่เป็นทางการ ดิฉันจะได้นำความรู้นี้ไปใช้กับนักเรียนที่สอนค่ะ อ่านแล้วเข้าใจมาก ขอบคุณอีกครั้ง

ดีมากครับ ขอบคุณจริงๆ

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลค่ะ

ขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้เรื่องการวิจัยให้ทราบนะคะ เป็นครูคนหนึ่งที่อยากจะพัฒนาเด็กค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ เปิดหลายwebอ่านไม่ได้สักweb ถ้าลงเป็นตัวอย่างสักวิจัยน่าจะเป็นพระคุณนะคะ ขอบคุณมากๆๆๆ

ขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้เรื่องการวิจัย เติมเต็มความรู้ที่มีได้ดีมากค่ะ

เนื้อหาดีมากค่ะ...

ทิพย์วรรณ เชียงใหม่

ขอบคุณที่เปิดโลกก้วางให้กับทุกคน  โชคดีตลอดไปนะคะ

ว่าที่ ร.ต.วัชรินทร์ ยศตะโคตร รองผู้อำนวยการโรงเรียน

กำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัยหน้าเดียว..ให้กับคณะครูที่โรงเรียน..ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลการทำวิจัยแบบหน้าเดียวของเว็ปครูน้อยบ้านนา..มีประโยชน์มากครับ..

มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ

แวะมาให้กำลังใจ จะรอติดตามอ่านบันทึกนะคะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท