การเรียนแบบโครงงาน


โครงงาน การคิดและเลือก

การเรียนแบบโครงงาน คือ การสร้างสรรค์ผลงาน ลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยนักเรียนเป็นผู้วางแผน ลงมือปฏิบัติ และเสนอผลงาน ด้วยตนเอง มีครูหรือผู้ชำนาญการ/ผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา

            วิธีเรียนแบบโครงงาน   เป็นการเน้นที่กระบวนการคิด ค้น แสวงหาคำตอบ การประเมินผลโดยการสังเกตการณ์ทำงาน และการรายงานผล แทนการทดสอบแบบเดิม

            การเรียนรู้ด้วยด้วยการทำโครงงานมีหลายประการ เช่น

                        1.  สร้างความสำนึกและรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

                        2.  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงศักยภาพตามความสามารถตนเอง

                        3.   เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจได้ลึกซึ้งกว่า

                                 การเรียนในห้องตามปกติ

                        4.    ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสิน

                                 รวมทั้งการสื่อสาร

                        5.  ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์

                        6.  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู และชุมชน

ประเภทของโครงงาน

โครงงานโดยทั่วไปแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท ได้แก่

            1.  โครงงานสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนที่จัดทำโครงงานประเภทนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษา หรืองานที่กำลังทำ โดยมีระบบในการจำแนกและนำเสนอเพื่อความชัดเจน วิธีการใช้อาจเป็นการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม  

การสำรวจจากสภาพจริง เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงหรือส่งเสริมเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเช่น ศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลที่มีในท้องถิ่น

            2.  โครงงานประเภทศึกษาค้นคว้า ผู้เรียนที่จัดทำโครงงานประเภทนี้ มีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาความรู้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง พิสูจน์ทฤษฎีหรือเรื่องเล่าต่างๆ จากการศึกษาค้นคว้าทั้งจากแหล่งวิทยาการต่างๆ เช่น ห้องสุด สถาบันการศึกษา แหล่งเรียนรู้ประเภทเอกสาร เช่น ตำรา รายงานการค้นคว้าทางวิชาการหรือเอกสารทางวิชาการและตัวบุคคล ได้แก่ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นโดยตรง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีอ้างอิงข้อมูลชัดเจนและเชื่อถือได้ ผลที่ได้จากการค้นคว้าอาจไม่สมบูรณ์ครบถ้วน แต่เมื่อปรับปรุงแก้ไขวิธีการที่ถูกต้องจากผู้สอนแล้ว ก็สามารถเป็นแม่แบบแม่บทในการเรียนหรือการศึกษาค้นคว้าเพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในระดับชั้นที่สูงขึ้นหรือนำใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น ศึกษาประวัติความเป็นมาของขนมประเพณีสารทเดือนสิบ

            3.   โครงงานทดลอง ผู้เรียนที่จัดทำโครงงานประเภทนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ  ศึกษาความเป็นไปได้ซึ่งการทดลองอาจมีหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจในเบื้องต้นแล้วจึงมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป เช่น การใช้น้ำตาลฟรุตโทสในขนมไทย  อัตราส่วนของไข่เป็ดและไข่ไก่ที่ทำให้ขนมทองหยิบมีลักษณะที่ดี  เป็นต้น   

            4.  โครงงานสิ่งประดิษฐ์ ผู้เรียนที่จัดทำโครงงานประเภทนี้ จะไดัรับการส่งเสริมให้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์หรือพัฒนาชิ้นงานโดยสิ่งที่ผู้จัดทำโครงงาจะได้รับคือส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยการสังเกต วิเคราะห์กลวิธีในการจัดการต่างๆ แล้วพัฒนาหรือสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่เพื่อสนองความต้องการของสังคมตามความรู้ความสามารถที่มีอยู่หรือที่ได้รับจากบทเรียน  เช่น การบรรจุภัณฑ์ที่ลดภาวะโลกร้อน

             การนำโครงงานไปประยุกต์ใช้ เช่น การแปรรูปอาหารในท้องถิ่น วิถีการดำเนินชีวิตด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็น คิดดี คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัดและอดออม ฯลฯ

การคิดและเลือกโครงงาน

การคิดหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน นักเรียนควรเป็นผู้ที่คิดเองและเลือกหัวข้อเรื่องด้วยตนเอง โดยทั่วไป หัวข้อที่นักเรียนคิดนั้นจะได้มาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวของนักเรียน หัวข้อของโครงงานควรบ่งชัดว่าศึกษาอะไร และควรมีความแปลกใหม่หรือมีแนวการศึกษาแปลกใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากนั้นควรต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเรื่องที่จะศึกษาแปลกใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกนั้นควรต้องคำนึง ถึงประโยชน์ของเรื่องที่จะศึกษาด้วย จึงจะทำให้โครงงานนั้นมีคุณค่ามากขึ้น

วิธีการคิดหัวข้อเรื่อง

- สังเกตสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวหรือในชุมชนว่า มีอะไรที่น่าจะนำมาทำโครงงานได้

- สำรวจอาชีพในท้องถิ่น แล้วนำอาชีพนั้นมาอภิปรายร่วมกันว่ามีอะไรน่าสนใจ น่าศึกษา

- งานอดิเรกของนักเรียนหรืออาชีพเสริมในครอบครัว

- สำรวจความเชื่อของคนในท้องถิ่น อาจรวบรวม ค้นคว้าหรือวิเคราะห์

- ค้นคว้าเรื่องราวจากเอกสารต่างๆ เรื่องที่เป็นปัญหา แนวทางที่คนอื่นทำไว้แล้ว

- ฟังและชมรายการทางวิทยุ โทรทัศน์ มีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจ น่าศึกษา

- ศึกษาโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดความคิดใหม่

  การเลือกหัวข้อเรื่อง

- หัวข้อเรื่องควรมีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียน

- มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ

- มีความเป็นไปได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาเปล่า

- มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง ไม่กว้างเกินไป

- มีแหล่งความรู้ที่จะศึกษาค้นคว้า มีผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้คำแนะนำได้

- มีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษา อาจมีในโรงเรียนหรือจัดหามาได้ ราคาไม่แพงหนัก

- มีความปลอดภัย

- ใช้เวลาไม่มากนัก อาจเป็น 1-2 เดือน เพื่อสามารถรวบรวมและสรุปความรู้ได้

คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน
หมายเลขบันทึก: 207117เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท