กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์การเรียนรู้ (๑)


จุดเริ่มต้นจากสายสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อนๆ สายสัมพันธ์ที่ดีของเด็ก ๆ และครอบครัว โดยมีครู/ผู้ใหญ่ที่เข้าใจคอยเป็นที่ปรึกษาอยู่ห่าง ๆ ก่อเกิดพลังสร้างสรรค์ของยุวชนการเรียนรู้ขึ้น

 

 

จุดเริ่มต้น  กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

     "กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์"  เกิดขึ้นจาก  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า ค่ายยุวชนสร้างสรรค์ ที่สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งภายในค่ายสมาชิกได้พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน ฝึกหัดการมีชีวิตแบบเรีบยง่าย เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างลึกซึ้งในเรื่องราวต่าง ๆ มีรุ่นพี่มาพบปะรุ่นน้อง เพื่อแนะนำด้านการปรับตัวในการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเกิดการเปลี่ยนแปลงสำนึกบางอย่างของสมาชิก หลังจากกลับจากค่าย เพื่อน ๆ ยังมาพบปะกัน แล้วค่อย ๆ พัฒนาสายสัมพันธ์สืบสานงานต่อจากกลุ่มนำใจครู(ครูที่นำเด็ก ๆ มาที่สวนโมกขพลารามบ่อย ๆ ) จนเกิดเป็นกลุ่มขึ้นมา 

    ช่วงแรก ๆ ประเด็นการเรียนรู้ของกลุ่มยวชนสร้างสรรค์อยู่ที่การพัฒนาตนเอง การปรับตัวในสังคมโรงเรียน มีเพื่อน ๆ รวมกลุ่มกันสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ เช่น ริเริ่มโครงการกลุ่มเสวนาประจำสัปดาห์  และเพื่อน ๆ รวมกลุ่มกันจัดติวให้น้อง ช่วยทบทวนบทเรียน เตรียมสอบ โดยใช้ช่วงเวลาพักและหลังเลิกเรียน เพราะเพื่อน ๆ ที่ทำกิจกรรมในกลุ่มเริ่มมีปัญหา

"เรียนไม่ทันเพื่อน" และ "ไม่มีเงินไปเรียนพิเศษ"

     แล้วพลังยุวชนก็ค่อย ๆ ก่อร่างขึ้น ขยายไปสู่บทบาทในโรงเรียน ทำให้มีเพื่อน ๆ นักเรียนมาร่วมงานกับกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์มากขึ้น จนทำให้กิจกรรมกลุ่มติว และกิจกรรมเสวนาของกลุ่ม ได้รับการพัฒนาจากกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก

     เมื่อทำงานได้ 2-3 ปี เริ่มมีการพัฒนาระบบการฝึกอบรม/การสนทนาผ่านวงพูดคุยแลกเปลี่ยนจากการอ่านบทความ/วรรณกรรมต่าง ๆ มีการเริ่มกระบวนการเรียนรู้จากฐานของชุมชน โดยใช้บ้านเพื่อนในกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้  และหนึ่งในบ้านเพื่อนของกลุ่มที่

     บ้านทับชัน ต. กรูด อ. พุนพิน จ. สุราษฎร์ธานี  "จัดโครงการความรู้สู่น้องน้อย" ขึ้น  โดยมีสมาชิกในกลุ่มผลัดเปลี่ยนกันไปสอนเด็ก ๆ ที่โรงเรียน เน้นการเรียนด้านการอ่าน การเขียน เลขคณิต และร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนการเรียนรู้โดยใช้ฐานของชุมชน และถ้าช่วงที่หมู่บ้านมีงานเทศกาล สมาชิกจะรวมกลุ่มกันไปช่วยโดยไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาเรียน เพราะจะเรียนหรือหยุดตอนไหนกันก็ได้

     การเรียนแบบนี้ ทำให้เยาวชนทั้งพี่ ๆ น้อง ๆ ได้เรียนรู้กันอย่างมีความสุขและสืบสานสายสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องอันเชื่อมโยงไปถึงชุมชน มีบทบาทของการเป็นครูและนักเรียนที่สลับปรับเปลี่ยนกันไปได้ เช่น เวลาไปรดนำผัก น้อง ๆ จะกลายเป็นครูของพี่ ๆ หรือเวลาทำกับข้าว แม่ครัวชาวบ้านก็จะกลายเป็นครูของเด็ก ๆ 

ซึ่งนับได้ว่าเป็น "โรงเรียนในจินตนาการ" แห่งหนึ่งที่เกิดขี้น 

โรงเรียนเกิดจาก 

     เรื่องราวการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ทางกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จึงได้ร่วมกับชาวบ้านเสนอเรื่องคัดค้านการยุบโรงเรียนด้วยเหตุผลสำคัญหลายอย่าง เช่น ปัญหาการเดินทางไกลไปโรงเรียนใหม่  เด็กๆ และชาวบ้านกังวลใจเรื่องการปรับตัวในชุมชนต่างวัฒนธรรม เนื่องจาก เด็ก ๆ บ้านทับชันเป็นลูกหลานชาวไทยทรงดำ ชาวบ้านต้องการให้ลูกหลานเรียนในโรงเรียนที่ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาเองมากกว่าไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น จึงเกิดโครงการดังกล่าวขึ้นมา

ติดตาม  การถอดเรื่องราวจาก ต้นกล้า : ยุวชนสร้างสรรค์การเรียนรู้ เล่มที่ 19  ได้ในตอนต่อไป ทุกวันพุธของสัปดาห์

                                                                                                    smile

คำสำคัญ (Tags): #จัดการความรู้
หมายเลขบันทึก: 207เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2005 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท