"เปลี่ยนแล้วค่ะ"


เพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วย เราต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุด

         "Patch มา 2 barcode ทำไมออกผลไม่ครบ"  หรือ "ส่ง spcimen เมื่อวานทำไมยังไม่มีรับลงทะเบียนและรายงานผล"  เสียงหวานๆ (แต่เอาเรื่อง)  โทรมาถาม  ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงเป็นปัญหาโลกแตก  แก้ไข ตรวจสอบอะไรไม่ได้ เจ้าหน้าที่ห้องแลปก็ตอบว่า " เจาะส่งใหม่" ความซวยก็ตกอยู่กับผู้ป่วยต้องเจ็บตัวอีกครั้ง  เพราะ สิ่งส่งตรวจ ในห้องแลปโลหิตวิทยา ได้เคลียร์ล้างวันต่อวันเนื่องจากเราใช้ขวดบรรจุสารกันเลือดแข็งแบบเตรียมเอง แต่ตอนนี้ได้เปลียนมาใช้หลอดบรรจุสารกันเลือดแข็งด้วยเหตุผลหลายประการที่พี่เม่ยได้เล่าไว้ในบันทึก "ต้องมั่นใจว่า...ได้เลือก...สิ่งที่ดีที่สุด"  ทำให้เราสามารถเก็บสิ่งส่งตรวจไว้ 3 วันก่อนเคลียร์ทิ้ง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาก็สามารถนำสิ่งส่งตรวจนั้นมาตรวจสอบได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด(จากการทดลองใช้มา 1 อาทิตย์)  ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวฟรีแถมยังมีข้อดีอีกหลายๆข้อ; ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ลดปัญหาสิ่งส่งตรวจแข็งตัวบางส่วนทำให้สามารถรายงานค่าเกร็ดเลือดได้ดีขึ้น และเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติไม่ต้องอุดตันบ่อยๆ....ว่าไปแล้วเราก็เห่อของใหม่เหมือนกันเนอะ(ของใหม่ใครๆก็ชอบ) ...เห็นด้วยมั๊ยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 20638เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2006 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สาเหตุของ ปัญหา
 "ทำไมยังไม่มีรับลงทะเบียนและรายงานผล"
มีอะไรบ้างคะ
   งานนี้ต้องขอบคุณ "พี่ธิดา" น้องๆ staff จุด setup ที่ช่วยกันคิดระบบจัดเก็บ specimen ไว้เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องย้อนหลังได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสิ่งส่งตรวจ
   เอ..กิจกรรมนี้สอดคล้องกับข้อกำหนด ISO15189 ข้ออะไรแล้วน้า??...พี่เม่ยไม่มีเอกสารใกล้มือเสียด้วยสิ!..พรุ่งนี้ไปดูเอกสารแล้วจะมาบอกรายละเอียดเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งนะคะ
   ตรงกับ QP ข้อ 3 หรือเปล่าค่ะ การควบคุมกระบวนการบริการ ที่อธิบายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ทั้งก่อนวิเคราะห์ วิเคราะห์ และหลังวิเคราะห์ ช่วงนี้หายใจเช้าออกเป็น QP ค่ะ
เชิญชวนเข้าร่วมชุมชนสำนักงานเลขานุการครับ
 ห้อง chem ก็มีปัญหาเช่นเดียวกับ hemato แต่ห้อง chem แก้ปัญหาโดยให้ผู้ติด barcode ในแนวเดียวกันจะได้เห็นชัดเจนขึ้น พี่ผอบเป็นคนเก็บสถิติอยู่ครับ เป็นโครงการของ patho -otop2 เพื่อความผิดพลาดกรณี 2 barcode ครับ
หลังจากที่ทดลองโครงการ patho-OTOP2 ของหน่วยเคมีคลินิก ระยะนี้ก็ไม่ค่อยจะได้รับโทรศัพท์ถามถึงการทดสอบที่ไม่ครบอีกครับ  คิดว่าของหน่วยโลหิตวิทยาก็คงเป็นแบบนี้เช่นกัน ทำให้พวกเราชาวแล็บสบายหู สบายใจขึ้นเยอะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท