การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน


โครงาน

เรียนรู้โครงงาน  คือ  อะไร  ใครว่ายาก

 

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

สรุป   การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือการจัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่

เด็กเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา

รู้จักรู้จักการทำงานอย่างมีระบบ รู้จักการวางแผนในการทำงาน ฝึกการคิดวิเคราะห์และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

โครงงานจัดเป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนรู้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอนและใช้ความรู้ที่ตนเองได้มาบูรณาการ

 ประเภทของโครงงาน      แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท   ได้แก่

. โครงงานตามสาระการเรียนรู้   เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ

. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ

โครงแบ่งตามรปูแบบ  แบ่งได้เป็น ๔ รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์

1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2. โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง
3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ
4. โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น

·       โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล

โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูล

นั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เป็นต้น

·       โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยออกแบบในรูปผลการทดลอง เพื่อศึกษาตัวแปรหนึ่ง จะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างไร ด้วยการควบคุมตัวแปร

·       โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการก่อน

·       โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นก็ได้

ขั้นตอนการทำโครงงาน

ขั้นตอนที่ ๑ การคิดและเลือกหัวเรื่อง

เป็นการหาหัวข้อในการทดลอง ในการที่จะอยากรู้อยากเห็น
ขั้นตอนที่ ๒ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

รวมไปถึงการขอคำปรึกษา หรือข้อมูลต่างๆจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ ๓ การเขียนเค้าโครงของโครงงาน

โดยทั่วไปเค้าโครงของโครงงานจะมีหัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อ/รายการ

รายละเอียดที่ต้องระบุ

1.ชื่อโครงงาน
2.ชื่อผู้ทำโครงงาน
3.ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
4.ระยะเวลาดำเนินการ
5.หลักการและเหตุผล
6.จุดหมาย/วัตถุประสงค์
7.สมมติฐานของการศึกษาโครงงาน
8.ขั้นตอนการดำเนินงาน
9.ปฏิบัติโครงงาน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
11. บรรณานุกรม

 

1. ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
2. ผู้รับผิดชอบโครงงานนี้
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ
4. ระยะเวลาดำเนินงานโครงงานตั้งแต่ต้นจนจบ
5. เหตุผลและความคาดหวัง
6. สิ่งที่ต้องการให้เกิดเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน
7. สิ่งที่คาดว่าจะเกิดเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน
8. ขั้นตอนการทำงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่
ี่9. วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินงานต่างๆตั้งแต่ต้นจนเสร็จ
10. สภาพของผลที่ต้องการให้เกิดทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
11. ชื่อเอกสารข้อมูล ที่ได้จากแหล่งต่างๆ

 

ขั้นตอนที่ ๔ การปฏิบัติโครงงาน เป็นการดำเนินงานตามแผน ที่ได้กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน และต้องมีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างละเอียด และต้องจัดทำอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลต่อไป
      

     ขั้นตอนที่ ๕ การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นสำคัญของโครงงาน โดยสามารถเขียนให้อยู่ในรูปต่างๆ เช่น การสรุป รายงานผล ซึ่งประกอบไปด้วยหัวข้อต่างๆ เช่น บทคัดย่อ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
            ขั้นตอนที่ ๖ การแสดงผล การแสดงผลงาน เป็นการนำเสนอผลงาน สามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ หรือทำเป็นสิ่งตีพิมพ์ การสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อน ตามแต่ความเหมาะสมของโครงงาน

 

ตัวอย่างเค้าโครงงาน

 

ชื่อโครงงาน.....................................................................................................

คณะทำงาน.....................................................................................................

อาจารย์ที่ปรึกษา.................................................................................................

1) แนวคิดที่มาและความสำคัญที่ต้องการศึกษา.....................................................

..........2) หลักการทฤษฎี หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ( ว่ามีใครทำอะไรไว้บ้าง)...............................

..........3) จุดมุ่งหมายของการทดลอง........................................................................

..........4) สมมุติฐานที่กำหนด..............................................................................

..........5). วิธีดำเนินการทดลอง..............................................................................

..........6) งบประมาณที่ใช้ในการทดลอง..................................................................

..........7. ประโยชน์ที่จะได้รับ..................................................................................

8.) ชื่อเอกสารอ้างอิง...................................................................................

 

ตัวอย่างโครงงานการศึกษาเรื่องการบานของดอกบัว

.        1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญที่ต้องศึกษา
..............การกำหนดปัญหาในการจัดทำโครงงานเกิดจากการสังเกตที่นำไปสู่การแก้ปัญหาเช้น สังเกตว่า ดอกบัวจะบานตอนเช้า ประมาณ 14.00 . ดอกบัวจะหุบ ( การสังเกต ) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ( ปัญหา )

..........2. หลักการ ทฤษฎี เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ( ว่ามีใครทำอะไรไว้บ้าง )
...............ศึกษาค้นคว้าเอกสารความรู้ บทความ ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

..........3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าและการทดลอง
...............เป็นการตั้งข้อคิดเพื่อที่จะหาคำตอบที่เกิดจากปัญหา ( การบานและการหุบของดอกบัวในเวลาที่แตกต่างกัน ) ว่าเกิดจากอะไรโดยคิดคำตอบไว้หลายๆทางเช่นคิดว่า * ดอกบัวบานเช้า เนื่องจากอุณหภูมิตอนเช้าเหมาะสมต่อการบานของดอกบัว * ดอกบัวบานตอนเช้า เนื่องจากความเข้มของแสงช่วงเช้าน้อยกว่ช่วงบ่าย * ดอกบัวตอนเช้า เนื่องจากเป็นพฤติกรรมอันเนื่องมาจากพันธุกรรมของดอกบัวซึ่งมีมาตั้งแต่กำเนิด จากตั้งสมมุติฐานไว้ 3 ประเด็น นักเรียนจะมีการตรวจสอบสมมุติฐานว่าสมมุติฐานใดน่าจะเป็นไปได้ ก็เลือกมา 1 สมมุติฐาน แต่ถ้าจะมีการพิสูจน์ว่าสมมุติฐานใดน่าจะเป็นไปได้มากหรือเป็นจริง ก็ต้องดำเนินการทดลองค้นคว้าต่อไป( ถามกับตอบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ )

..........4. วิธีดำเนินการทดลอง
...............วิธีการดำเนินการทดลองเพื่อนำไปสู่การตรวจสอบสมมุติฐานว่าสิ่งที่กำหนดไว้เป็นจริงหรือไม่ เช่น กำหนดสมมุติฐานไว้ว่า ดอกบัวบานช่วงเช้าน่าจะเกิดจากการเหมาะสมของความเข้มของแสง นักเรียนต้องดำเนินการทดลองต่อไปนี้

..........1) ออกแบบวิธีการทดลอง โดยกำหนดตัวแปรต่างๆ มี 3 ประเภท คือ

ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่เราต้องการทดลองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่ จากสมมุติฐานที่กำหนด ตัวแปรนี้คือ ความเข้มของแสงนั่นเอง

ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผล เนื่องจากตัวแปรต้น ในที่นี้คือ การบานของดอกบัว

ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลองเราไม่ต้องการศึกษา จึงต้องหาวิธีการควบคุมไว้ เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งของการทดลอง เช่น ชนิดของดอกบัว จำนวนต้นที่นำมาทดลอง อุณหภูมิต่างๆ เป็นต้น

..........2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ทดลอง โดยให้ผู้ทดลองกำหนดว่า หากจะทดลองแล้วจะใช้วัสดุอะไรบ้าง เช่น ต้นของดอกบัว กล่องกระดาษ โคมไฟที่มีหลอดไฟกำลังวัตต์ต่างๆ กันนำมาใช้ทดลอง

..........3) บันทึกข้อมูล โดยกำหนดเป็นตารางบันทึกผล และในตารางนั้นจะบันทึกอะไรบ้าง เช่น บันทึกระยะเวลาที่เริ่มบาน บันทึกความเข้มของแสงต่างๆ บันทึกสิ่งที่สังเกตได้จากการทดลอง เป็นต้น

..........4) กำหนดระยะเวลาการทดลอง ว่าจะทดลองในช่วงเวลาใดบ้าง จะสังเกตผลการทดลองอย่างไร เวลาใด และจะทำการทดลองให้เสร็จสิ้นช่วงเวลาใด และสรุปผลทดลองช่วงไหน

..........5) ลงมือทำการทดลอง นักเรียนเริ่มปฏิบัติทำการทดลอง ให้เป็นไปตามกำหนดเวลา

..........5. การสรุปผลการทดลอง
..........นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ความน่าจะเป็นไปได้ว่าตรงกับสมมุติฐานที่กำหนดไว้หรือไม่จากนั้นจึงนำมาจัดทำเป็นรายงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อจะให้ได้ความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

..........ข้อจำกัด

..........การจัดทำโครงงานจะประสบความสำเร็จได้ มีข้อจำกัดดังนี้

..........1. การจัดโครงงานต่างๆ ทั้งครูผู้สอนและเด็กจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำค่อนข้างมาก ต้องมีการศึกษาค้นค้วาเอกสาร ความรู้ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนระหว่างทำการทดลอง
..........2. เรื่องที่ทำต้องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ผลที่ได้ควรเกิดประโยชน์แก่ตัวนักเรียนหรือบุคคลในท้องถิ่น
..........3. เรื่องที่ทำต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถทดลองได้
..........4. การออกแบบทดลองจะต้องครอบคลุมจุดหมายที่กำหนดไว้
..........5.ระหว่างการทำโครงงานจะต้องมีการแก้ปัญหาเด็กจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การสอนตามหลักการสอนแบบโครงการ

 

                การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึก ศึกษาลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้นๆ จนพบคำตอบที่ต้องการ  เรื่องที่นักเรียนศึกษานั้นเป็นเรื่องที่นักเรียนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเองตามความสนใจของตน ประเด็นที่ศึกษาก็เป็นประเด็นที่นักเรียนตั้งคำถามขึ้นมาเอง การศึกษาจะเป็นการศึกษาในลักษณะของการให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษานั้น ในการศึกษาจะใช้ระยะเวลาที่ยาวนานอย่างเพียงพอที่จะให้นักเรียนได้ค้นพบคำตอบ และคลี่คลายความสงสัยใคร่รู้ เมื่อนักเรียนค้นพบคำตอบที่เป็นความรู้ที่ต้องการแล้วจะนำความรู้นั้นมานำเสนอในรูปของงานที่นักเรียนเลือกเองอาจจะเป็นงานเขียน งานวาดภาพระบายสี การสร้างแบบจำลอง การเล่นสมมุติ ละคร การทำหนังสือ หรือรูปแบบอื่นๆเพื่อนำเสนอต่อเพื่อนๆและคนอื่นๆ อันจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของกระบวนการศึกษาของตน

กระบวนการการเรียนการสอน

                การสอนแบบโครงการเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก แต่ก็มีขั้นตอนในการสอนที่ชัดเจน ตลอดโครงการหนึ่งใดๆที่นักเรียนเลือกทำจะใช้เวลาในการทำโครงการ วันละ 50-70 นาที       ตลอดโครงการบางทีอาจจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ หรือ 3 สัปดาห์ หรือ 4 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ขึ้นอยู่กับหัวข้อโครงการที่นักเรียนเลือกและขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่นักเรียนเลือกปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบและนำเสนอผลการศึกษาในครั้งนั้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนแบบโครงการมี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

การวางแผนโครงการ  

เป็นการเลือกหัวข้อโครงการโดยครูและนักเรียนร่วมกัน หัวข้อโครงการมาจากความสนใจของนักเรียนเป็นหลัก แต่ครูก็ต้องมีส่วนในการแนะนำการเลือกหัวข้อโครงการโดยครูพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อโครงการ ดังนี้

1. เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงและเป็นไปได้ มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

2. เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจ

3. นักเรียนพอมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่บ้าง

4. เป็นเรื่องที่นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

5. มีแหล่งทรัพยากรในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น

6. เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมมือกันในการทำโครงการ

7. เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสนักเรียนได้สร้างสิ่งต่างๆและมีโอกาสเล่นสมมุติ

8. นักเรียนได้พัฒนาการครบถ้วนทุกด้านตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

9. เป็นเรื่องที่นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆ

10. เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ

11.เป็นเรื่องที่ไม่กว้างเกินไป จนทำให้ไม่สามารถศึกษาลึกลงไปใน

รายละเอียดได้

 

                                ขั้นที่ 1เริ่มต้นโครงการ

ขั้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนที่มีเกี่ยวกับหัวข้อของโครงการแล้วแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้นั้นแก่นักเรียนคนอื่นๆ และเป็นการสร

หมายเลขบันทึก: 206260เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท