ข้อเสนอแนะ แนวทางการจัดตั้ง Blog และ CoP ของ มมส.


กระบวนการที่จะดำเนินการเรื่อง KM ใน มมส. ให้ได้อย่างยั่งยืนนั้นจะทำอย่างไร

วันนี้ ผมได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องการจัดตั้งชุมชน CoP ผ่านระบบของ Gotoknow.org สิ่งหนึ่งที่ผมคาดหวังว่าจะได้จากการจัดตั้ง CoP ในวันนี้ อย่างน้อยๆ ก็มี CoP เรื่องการควบคุมภายในเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว(หลังจากที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 49) แต่กระบวนการที่จะดำเนินการเรื่อง KM ใน มมส. ให้ได้อย่างยั่งยืนนั้นจะทำอย่างไร คิดว่าหน่วยงานที่ได้รับการเข้าอบรมในวันนี้ คงจะนำไปขยายผล สังเกตุกระบวนการระหว่างการอบรมช่วงเช้า คือ การอบรมจะแบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมรมเป็น 4 กลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มทำการเป็นการตึงเอาความรู้แบบฝังลึกในแต่ละปัจเจก (Tacit Knowledge) โดยใช้เทคนิค "การเล่าเรื่อง (Storytelling)"

น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งครับ ที่แต่ละกลุ่มพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง ถึงแม้บางคนอาจไม่รู้จักกันมาก่อน แต่ด้วยกระบวนการ KM ในวันนี้ คงเป็นการจุดประกายให้ชุมชน การจัดการความรู้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (http://gotoknow.org/msukm) ได้เป็นอย่างดีครับ

ทุกคนในวันนี้อย่างน้อยกว่าครึ่ง คงเห็นแล้วน่ะครับว่าพลังแห่งการจัดการความรู้ มีประสิทธิภาพเพียงใด ขาดแต่โอกาสที่จะได้พูดคุยกันอันเนื่องด้วยภาระกิจประจำวันที่มากมายอยู่แล้ว ทีนี้อีกประการที่เห็นว่า การใช้ Blog ผ่านช่องทางนี้คงเป็นเวทีเสมือน ที่ช่วยให้ชาวมมส.จัดการกับความรู้ที่มี ออกมาสู่โลกภายนอก (Explicit Knowldge)

ก้าวต่อไปครับ

วิชิต

คำสำคัญ (Tags): #cop
หมายเลขบันทึก: 20621เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วงนี้กำลังทดสอบการใช้งานอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท