สารและการเปลี่ยนแปลง


การเปลี่ยนแปลงของสาร หมายถึง การที่สารมีสมบัติต่างไปจากเดิม เช่น มีสี กลิ่น รส รูปร่าง หรือสถานะเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจทำให้มีสารใหม่เกิดขึ้น หากใช้สมบัติของสารเป็นเกณฑ์ จะสามารถจำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงได้ 2 ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

 

                                                                  ตอนที่  1

                                                   เรื่อง  การเปลี่ยนแปลงของสาร

 

            จุดประสงค์

                  1.  ออกแบบการทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสารได้

                    2.  จำแนกประเภทการเปลี่ยนแปลงของสารในชีวิตประจำวันได้

     การเปลี่ยนแปลงของสาร

               การเปลี่ยนแปลงของสาร  หมายถึง  การที่สารมีสมบัติต่างไปจากเดิม เช่น มีสี กลิ่น รส รูปร่าง หรือสถานะเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจทำให้มีสารใหม่เกิดขึ้น หากใช้สมบัติของสารเป็นเกณฑ์    จะสามารถจำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงได้ 2 ประเภท  คือ  การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

 

              ตัวอย่าง  การเปลี่ยนแปลงของสาร

 

                    - ปลาหมึกดิบกลายเป็นปลาหมึกสุก                   
                   - 
เห็ดหอมสดกลายเป็นเห็ดหอมแห้ง

 

         การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

                    การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสมบัติทางกายภาพของสาร  เช่น  การเปลี่ยนสถานะ  การละลาย   การมีรูปร่างเปลี่ยนไป หลังจาก

การเปลี่ยนแปลง   สมบัติทางเคมีของสารยังคงเหมือนเดิม   แต่สมบัติทางกายภาพบางอย่าง

อาจเปลี่ยนไป

 

                     ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

                            -การระเหิดของลูกเหม็น                                      
                            -
การแตกของแก้ว

                           - การระเหยของน้ำ                                      
                           - 
การปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ

 

                การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

                   การเปลี่ยนแปลงทางเคมี  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี  หลังจากการเปลี่ยนแปลงมีสารใหม่เกิดขึ้น ซึ่งสารที่เกิดขึ้นใหม่นี้มีองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีแตกต่างจากสารเดิม ไม่สามารถทำให้กลับไปสู่สภาพเดิมได้  หรือทำได้ยาก

                   ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 

                          -การเกิดสนิมของเหล็ก                                 
                          -
การทอดไข่ดาว

                         -การสุกของผลไม้                                 
                          -
การเผาไหม้ของไส้เทียน

 

กิจกรรมที่  1

เรื่อง  การเปลี่ยนแปลงของสาร

                     จุดประสงค์

 1.      ออกแบบการทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสารได้

             คำชี้แจง

                    ให้ผู้เรียนออกแบบการทดลองการเปลี่ยนแปลงของสาร  ตามกิจกรรมที่กลุ่มของ

ผู้เรียนจับฉลากได้  โดยให้ระบุชื่อเรื่อง  จุดประสงค์  ผลการทดลอง  และสรุปผลการทดลอง

กำหนดเวลาในการทำกิจกรรม  20  นาที

                 ชุดที่  1  ใจละลาย (  อุปกรณ์ที่เตรียมให้ ได้แก่ เทียนไข ไม้ขีดไฟ เชิงเทียน )

                  ชุดที่  2  ไฟลามทุ่ง ( อุปกรณ์ที่เตรียมให้  ได้แก่   กระดาษ   ไม้ขีดไฟ   ถาด

                               อะลูมิเนียม )

                  ชุดที่  3  มนต์มายา ( อุปกรณ์ที่เตรียมให้ ได้แก่ บีกเกอร์  น้ำปูนใส หลอดกาแฟ )

                  ชุดที่  4  ไอน้ำ ( อุปกรณ์ที่เตรียมให้ได้แก่ ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์  บีกเกอร์ 

                               น้ำเกลือ )

                  ชุดที่  5  ชิ้นเล็กชิ้นน้อย ( อุปกรณ์ที่เตรียมให้ได้แก่ กระดาษหนังสือพิมพ์

                               ถาดพลาสติก )

                                                             กิจกรรมที่  2

                                                 เรื่อง  การเปลี่ยนแปลงของสาร         

                 จุดประสงค์

 1.      จำแนกประเภทการเปลี่ยนแปลงของสารในชีวิตประจำวันได้

            คำชี้แจง

                   ให้ผู้เรียนศึกษาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง  การเปลี่ยนแปลงของสาร แล้ว

ตอบคำถามให้ถูกต้อง

                   1.  การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีแตกต่างกันอย่างไร

                       .........................................................................................................................

                       .........................................................................................................................

                       .........................................................................................................................

                       .........................................................................................................................

  

                  2.  การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้   จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ   หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี  เพราะเหตุใด

 

   การเปลี่ยนแปลงของสาร

  ประเภทของการเปลี่ยนแปลง

                เหตุผล

    การย่อยอาหาร

 

 

    ไอศกรีมหวานเย็น

 

 

    การหลอมเทียน

 

 

    การเกิดฟองก๊าซเมื่อ

    เติมหินปูนในกรด

    ไฮโดรคลอริก

 

 

การระเหย

 

 

    การระเหิด

 

 

    การฉีกกระดาษ

 

 

    แก้วแตก

 

 

    เกลือละลายน้ำ

 

 

    ด่างทับทิมละลายน้ำ

 

 

    ตะปูเป็นสนิม

 

 

    การเกิดฝ้าขาวของน้ำ

    ปูนใส

 

 

  

 

เฉลยกิจกรรมที่  1

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

(  พิจารณาจากบันทึกการทำกิจกรรมของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม )

    ( แนวแบบการบันทึก )

         กิจกรรมการทดลอง  เรื่อง  .............................................

        จุดประสงค์  .............................................................................................................

                            ..............................................................................................................

                            ..............................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 206102เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เรียบเรียงตอนที่2เอามาให้อ่านบ้างก็ดีนะ คงยังไม่จบง่ายๆซืนะ

ครูแอ๋วกับครูโนรีรักษ์ ทีปะนะ เป็นครูคนเดียวกันใช่มั้ย เพราะว่าเข้าไปดูที่เว็บไซต์ http://www.noreerak03.th.gs/ มีเนื้อหาเพิ่มตั้ง 3 ตอน สมบูรณ์แบบอ่านแล้วเข้าใจง่ายเนื้อหาสาระดี มีภาพประกอบด้วย

จัดกิจกรรมได้น่ารัก น่าสนใจค่ะ

กิจกรรมที่2น่าสนใจ ยืมไปจัดกิจกรรมหน่อยนะ...ชอบจัง

อยากให้นำกิจกรรมมาเผยแพร่เพิ่มเติมอีก เพื่อที่จะได้เอากิจกรรมที่ดีๆของครูแอ๋วไปพัฒนาการเรียนการสอนของอ้อยให้ดีขึ้น บอกตรงๆว่ายืมกิจกรรมไปทดลองสอนแล้วค่ะ ขอให้เพิ่มเติมอีกนะคะ

เปิดเทอมแล้วนะ ครูโนรีรักษ์ ทีปะนะ จะมีอะไรดีๆจะนำเสนออีกไหม รู้สึกว่าเนื้อหาเข้าง่ายดีอยากให้นำเสนอมาอีกจะได้เผื่อแผ่กิจกรรมกันมั่งก็ดีนะคุณครู...แนะนำกันบ้างนะ

กิจกรรมน่าสนใจ จัดมาอีก

นำเสนอเพิ่งเติมมาอีกนะครับ

อยากให้เพิ่มเติมกิจกรรมแนวนี้อีก จัดได้ดีมาก...

เทอม2 / 2552 จัดกิจกรรมตามแนวของคุณครูได้ดีจริง ขอขอบคุณที่ให้แนวทาง

ครูแอ๋ว/โนรีรักษ์ ทีปะนะ

ขอเผยแพร่เอกสารตอนที่2 ต่อค่ะ

ตอนที่ 2เรื่อง ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

จุดประสงค์ 1. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

2. จำแนกประเภทของระบบโดยใช้การเปลี่ยนแปลงมวลสารและพลังงานเป็นเกณฑ์ได้

3. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

4. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

ระบบและสิ่งแวดล้อม

ระบบ(system ) หมายถึง สิ่งหรือสารที่เราต้องการศึกษา การกำหนดองค์ประกอบของระบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุให้ชัดเจน

สิ่งแวดล้อม ( surrounding ) หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา

ตัวอย่างการกำหนดองค์ประกอบของระบบ เช่น การศึกษาการละลายน้ำของน้ำตาลทราย

ระบบ คือ น้ำและน้ำตาลทราย

สิ่งแวดล้อม คือ บีกเกอร์ แท่งแก้วสำหรับคนสาร และสภาพอากาศโดยรอบ

ประเภทของระบบ

เมื่อระบบมีการเปลี่ยนแปลง มวลของสารในระบบอาจเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่

ก็ได้ ซึ่งมวลของสารจะไม่สูญหายไปไหน แต่อาจมีการถ่ายโอนไปมาระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม การถ่ายเทมวลของสารสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของระบบได้ดังนี้

1. ระบบเปิด (open system)

2. ระบบปิด (closed system)

3. ระบบอิสระ หรือระบบโดดเดี่ยว ( isolated system)

ระบบเปิด (open system)

ระบบเปิด (open system) คือ ระบบที่มีการถ่ายเททั้งพลังงานและมวลสาร ระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือ มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าไม่เท่ากัน เช่น การเกิดตะกอนในน้ำปูนใส และการระเหิดของพิมเสน

การทดลองในระบบเปิด

มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง ≠ มวลของสารหลังการเปลี่ยนแปลง

ระบบปิด ( closed system )

ระบบปิด ( closed system ) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานแต่ไม่มีการถ่ายเทมวลสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือ มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงมีค่าเท่ากัน

ถ้าระบบใดๆ ที่ มีแก๊สเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การปิดเปิดภาชนะ จะมีผลต่อประเภทของ

ระบบนั้นด้วย กล่าวคือ

ถ้าเปิดภาชนะ ระบบนั้นเป็นระบบเปิดเพราะมวลเปลี่ยนแปลง ( แก๊สหนีออกไปได้ )

ถ้าปิดภาชนะ ระบบนั้นเป็นระบบปิดเพราะมวลคงที่ ( แก๊สหนีออกไปไม่ได้)

การทดลองในระบบปิด

มวลของสารก่อนการเปลี่ยนแปลง = มวลของสารหลังการเปลี่ยนแปลง

ระบบปิดทดลองในภาชนะเปิด

ภาพ มวลก่อนการเปลี่ยนแปลง = มวลหลังการเปลี่ยนแปลง

คือมวลของ Kl(aq) + Pb(NO3 )2 (aq) = มวลของ KNO3 (aq) + Pbl2 (s)

ระบบอิสระหรือระบบโดดเดี่ยว (isolated system) คือ ระบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งมวลและพลังงาน ไม่มีการถ่ายเทมวลและพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม เช่น กระติกน้ำร้อนที่มีฉนวนหุ้มอย่างดี

กิจกรรมที่ 1

จุดประสงค์

บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง จากเอกสารประกอบการเรียน เรื่องระบบ

และสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสารแล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1. กำหนดภาพการทดลองให้ดังนี้

ที่มา : หนังสือเรียนเสริมวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ระบบประกอบด้วย...............................................................................

ระบบนี้จัดเป็นระบบปิดหรือระบบเปิด..............................................................

เพราะ..................................................................................................................................

2. แก๊สออกซิเจนมวล 32 กรัมที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ มีปริมาตร 22.4 ลิตร

ระบบคือ..............................................................................................................

สิ่งแวดล้อมคือ.....................................................................................................

สมบัติของระบบคือ.............................................................................................

3. พิจารณาสมการและข้อมูล

CaCO3 (s) → CaO(s) + CO2 (g)

หินปูน 20 กรัม ปูนดิบ 11.2 กรัม + แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมีมวลเท่ากับ.........................................กรัม

ถ้าเผาหินปูนในถ้วยกระเบื้อง ระบบนี้จัดเป็นระบบปิดหรือระบบเปิด เพราะเหตุใด......................................................................................................................

...........................................................................................................................................

......................................................................................

กิจกรรมที่ 2

จุดประสงค์

1. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

2. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

3. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนศึกษาเรื่อง ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

จากเอกสารประกอบการเรียน แล้วตอบคำถาม

1. เมื่อต้มน้ำในบีกเกอร์ จนเดือดกลายเป็นไอ สิ่งใดจัดเป็นระบบและสิ่งใด

จัดเป็นสิ่งแวดล้อม

.....................................................................................................

......................................................................................................

2. จงยกตัวอย่าง ระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระ มาระบบละ 2 ตัวอย่าง

..............................................................................................

....................................................................................................

3. การเปิด ปิดภาชนะ สัมพันธ์กับชนิดของระบบหรือไม่ อย่างไรจงอธิบาย

...................................................................................................

...............................................................................................

4. ผสมของเหลว A และของเหลว B ลงในบีกเกอร์ที่ไม่ปิดฝา เกิดตะกอน

ของสาร C เพียงอย่างเดียว ระบบดังกล่าวเป็นระบบชนิดใด เพราะเหตุใด

..........................................................................................................................

........................................................................................................................

กิจกรรมที่ 2

จุดประสงค์

1. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

2. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

3. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนศึกษาเรื่อง ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

จากเอกสารประกอบการเรียน แล้วตอบคำถาม

1. เมื่อต้มน้ำในบีกเกอร์ จนเดือดกลายเป็นไอ สิ่งใดจัดเป็นระบบและสิ่งใด

จัดเป็นสิ่งแวดล้อม

.....................................................................................................

......................................................................................................

2. จงยกตัวอย่าง ระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระ มาระบบละ 2 ตัวอย่าง

..............................................................................................

....................................................................................................

3. การเปิด ปิดภาชนะ สัมพันธ์กับชนิดของระบบหรือไม่ อย่างไรจงอธิบาย

...................................................................................................

...............................................................................................

4. ผสมของเหลว A และของเหลว B ลงในบีกเกอร์ที่ไม่ปิดฝา เกิดตะกอน

ของสาร C เพียงอย่างเดียว ระบบดังกล่าวเป็นระบบชนิดใด เพราะเหตุใด

..........................................................................................................................

ตอนที่ 3

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

จุดประสงค์

1. ทำการทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบได้

2. จำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบได้

3. บอกความหมายของการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนและ แบบคายความร้อนได้ถูกต้อง

4. ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูด ความร้อนและคายความร้อนได้

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ เป็น การถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม เมื่อระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใดลักษณะหนึ่งจะมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ซึ่งระบบอาจมีพลังงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อให้ระบบมีพลังงานสมดุลกับสิ่งแวดล้อม สังเกตได้จากหลังการเปลี่ยนแปลงของระบบ อุณหภูมิจะเปลี่ยนไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบมี 2 ประเภท ดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน หรือประเภทดูดพลังงาน (endothermic change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบมีอุณหภูมิต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม ระบบจะปรับตัวโดยดูดพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ขณะเปลี่ยนแปลงถ้าสัมผัสระบบจะรู้สึกเย็น เมื่อระบบดูดพลังงานเข้าไปจะทำให้พลังงานของระบบเพิ่มขึ้น เมื่อสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลง ระบบจะมีอุณหภูมิเท่ากับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน แสดงดังรูปที่ 3.1 และ 3.2

รูปที่ 3.1 การหลอมเหลวของน้ำแข็ง รูปที่ 3.2 การละลายของไอศกรีม

ที่มา : www.kpxkosmos.spaces.live.com ที่มา : www.muranomulatte9.blogspot.com

2. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน หรือประเภทคายพลังงาน (exothermic change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบคายพลังงานให้แก่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบมีอุณหภูมิสูงกว่าสิ่งแวดล้อม จึงถ่ายเทพลังงานจากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบลดลงจนเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ขณะเปลี่ยนแปลงถ้าสัมผัสระบบจะรู้สึกร้อนหรือมีความร้อนหรือมีทั้งความร้อนและแสงเกิดขึ้นเมื่อระบบคายพลังงานออกมาจะทำให้พลังงานของระบบลดลง เมื่อสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงระบบจะมีอุณหภูมิเท่ากับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน แสดงดังรูปที่ 3.3 และ 3.4

รูปที่ 3.3 น้ำร้อนในหม้อเย็นลงเพราะคายพลังงานให้สิ่งแวดล้อม รูปที่ 3.4 กองไฟคายความร้อนให้สิ่งแวดล้อม

ที่มา : www.bloggang.com ที่มา : www.fordclub.net

หลักในการพิจารณาประเภทของการเปลี่ยนแปลง

1. ถ้าระบบคายความร้อน เมื่อเราจับจะรู้สึกร้อน ( ระบบคายพลังงานให้เรา )หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัด อุณหภูมิจะสูงขึ้น เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม

2. ถ้าระบบดูดความร้อน เมื่อเราจับจะรู้สึกเย็น( ระบบดูดพลังงานจากมือเราไป )

หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัด อุณหภูมิจะต่ำลง เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงพลังงานทั้งในรูปการคายพลังงาน และการดูดพลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสาร 3 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี

กิจกรรมที่ 1

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

จุดประสงค์ ทำการทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

พลังงานของระบบได้

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติดังนี้

1. อ่านวิธีทำกิจกรรมการทดลองให้เข้าใจ

2. ตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม

3. ทำกิจกรรมและบันทึกผล

4. ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม

กิจกรรม การทดลองการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

วัสดุอุปกรณ์

1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 3 หลอด

2. เทอร์โมมิเตอร์ 1 อัน

3. ช้อนตักสารเบอร์ 2 2 อัน

4. โพแทสเซียมไนเตรต 2 ช้อนเบอร์ 2

5. โซเดียมคลอไรด์ 2 ช้อนเบอร์ 2

6. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 ช้อนเบอร์ 2

7. น้ำกลั่น 45 ลูกบาศก์เซนติเมตร

วิธีการทดลอง

1. เติมน้ำกลั่น 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่วัดอุณหภูมิแล้วบันทึกผล

2. เติมโพแทสเซียมไนเตรต 2 ช้อนเบอร์ 2 ลงในหลอดทดลอง เขย่าให้ละลาย

แล้วใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิของสารในหลอดทดลองอีกครั้งหนึ่ง แล้วบันทึกผล

3. ทำซ้ำข้อ 1 และข้อ 2 แต่ใช้โซเดียมคลอไรด์แทนโพแทสเซียมไนเตรต

4. ทำซ้ำข้อ 1 และข้อ 2 แต่ใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์แทนโพแทสเซียมไนเตรต

(ข้อควรระวัง : การเขย่าสารเคมีให้ใช้ไม้หนีบ หนีบบริเวณกลางหลอดทดลอง

แล้วเขย่าโดยการเคาะหลอดทดลองกับฝ่ามือเบาๆ ไม่เขย่าหลอดทดลองในลักษณะขึ้น -ลงในแนวตั้ง )

คำถามก่อนทำกิจกรรม

1. จุดประสงค์ของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร

........................................................................................................

2 2. สมมุติฐานของการทดลองนี้คืออะไร

.........................................................................................................

.........................................................................................................

3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมของการทดลองนี้คือ

อะไร

.........................................................................................................

.........................................................................................................

.........................................................................................................

.........................................................................................................

ตารางบันทึกผล

ชนิดของสาร อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)

ก่อนเติมสาร หลังเติมสาร

1. โพแทสเซียมไนเตรต

2. โซเดียมคลอไรด์

3. โซเดียมไฮดรอกไซด์

คำถามหลังทำกิจกรรม

1. ผลการทดลองเป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่ อย่างไร.................................

..........................................................................................................................

2. อุณหภูมิของน้ำก่อนและหลังเติมสารแต่ละชนิด มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

อย่างไร..............................................................................................................

..........................................................................................................................

..........................................................................................................................

3. เพราะเหตุใดหลังการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของสารจึงมีการเปลี่ยนแปลง

..........................................................................................................................

..........................................................................................................................

4. จงสรุปผลการทดลอง....................................................................................

..........................................................................................................................

..........................................................................................................................

5. จงยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน มาสัก 2 ตัวอย่าง

...........................................................................................................................

6. จงยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน มาสัก 2 ตัวอย่าง

...........................................................................................................................

7. จงอธิบายว่าเหตุใดการระเหยของเหงื่อ จึงทำให้เรารู้สึกเย็น

...........................................................................................................................

...........................................................................................................................

...........................................................................................................................................

.

สรุป

การเปลี่ยนแปลงของสาร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงมีสารใหม่เกิดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของสาร หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบ

เมื่อสารหรือระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจะมีการถ่ายเทมวล ระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ระบบเปิด มีการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มวลของระบบไม่คงที่

2. ระบบปิด ไม่มีการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ทำให้มวลของระบบคงที่

3. ระบบอิสระ ไม่มีการถ่ายเททั้งมวล และพลังงาน เป็นระบบโดดเดี่ยว

การเปลี่ยนแปลงของสารนอกจากจะมีการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีการถ่ายเทพลังงานของระบบด้วย คือ

1. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน หรือดูดพลังงาน (endothermic chamge) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ ทำให้ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมต่ำกว่าเดิม เช่น การระเหยของแอลกอฮอล์บนผิวหนัง ถ้าสัมผัสจะรู้สึกเย็น

2. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน หรือคายพลังงาน (exothermic change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบคายพลังงานไปสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้ระบบมีพลังงานลดลง อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมจะสูงขึ้น ถ้าสัมผัสจะรู้สึกร้อน เช่น การลุกไหม้ของเทียนไข

*************

แบบทดสอบประจำหน่วย

คำชี้แจง เลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวในแต่ละข้อ

1. ถ้าต้องการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของน้ำ จะออกแบบการทดลองอย่างไรจึงจะอธิบาย

การเปลี่ยนแปลงของน้ำได้อย่างชัดเจนที่สุด

ก. นำน้ำแข็งมาให้ความร้อนจนกระทั่งเดือดสังเกต การเปลี่ยนแปลง

ข. นำน้ำเทใส่ภาชนะที่มีรูปร่างต่างกัน สังเกต การเปลี่ยนแปลง

ค. นำน้ำร้อนใส่แก้ววางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องสังเกต การเปลี่ยนแปลง

ง. นำน้ำใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา24ชั่วโมงสังเกตการเปลี่ยนแปลง

2. สมศรีเหยียบถ่านหุงข้าวก้อนหนึ่งทำให้ถ่านก้อนนั้นแตกเป็นก้อนเล็กๆ การที่ถ่านก้อน

กลายเป็นถ่านป่นเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทใด

ก. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ข. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ค. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง

ง. การเปลี่ยนแปลงทางขนาด

3. ข้อใดอธิบายความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจนที่สุด

ก. ระบบคือสาร สิ่งแวดล้อมคือภาชนะ

ข. ระบบและสิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่เราต้องการศึกษา

ค. ระบบคือการเปลี่ยนแปลงของสาร สิ่งแวดล้อมคืออุณหภูมิ

ง. ระบบคือสิ่งที่เราต้องการศึกษา สิ่งแวดล้อมคือสิ่งอื่นๆที่นอกเหนือจากการศึกษา

4. เมื่อใส่น้ำตาลทราย 3 ช้อนชาลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อน้ำตาล

ทรายละลาย ใช้มือจับบีกเกอร์รู้สึกเย็น จะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบใด

ก. ระบบปิด

ข. ระบบโดดเดี่ยว

ค. ระบบดูดพลังงาน

ง. ระบบคายพลังงาน

5. เกี่ยวกับระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระ ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. ระบบเปิดมีการถ่ายเทพลังงานและมวลกับสิ่งแวดล้อม

ข. ระบบปิดไม่มีการถ่ายเทพลังงานและมวลกับสิ่งแวดล้อม

ค. ระบบอิสระมีการถ่ายเทพลังงานแต่ไม่มีการถ่ายเทมวลกับสิ่งแวดล้อม

ง. ทั้งระบบเปิดระบบปิดระบบอิสระไม่มีการถ่ายเทพลังงานและมวลกับสิ่งแวดล้อม

6. การเปลี่ยนแปลงของสารในข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงในระบบปิด

ก. เผาผงคาร์บอนในอากาศ

ข. ผสมสารละลาย 2 ชนิดเข้าด้วยกันแล้วเกิดแก๊สไม่มีสี

ค. ทิ้งจุนสีสะตุไว้ในอากาศ จะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า

ง. ผสมสารละลาย 2 ชนิดเข้าด้วยกันแล้วเกิดตะกอนสีเหลือง

7. เมื่อนำหินอ่อนใส่ลงในกรดไฮโดรคลอริก จะเกิดฟองก๊าซและเมื่อจับภาชนะนั้นจะ

รู้สึกร้อน ข้อใดสรุปผลการทดลองได้ถูกต้อง

ก. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบมีพลังงานลดลง สิ่งแวดล้อมมีพลังงานเพิ่ม

ข. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมมีพลังงานลดลง

ค. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระบบมีพลังงานลดลงเพราะส่วนหนึ่งกลายเป็นก๊าซ

ง. เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้นและค่อยๆลดลง

8. การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบในข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน

ก. การระเหิดของลูกเหม็น การเผาคาร์บอน

ข. การเผาผลาญอาหารในร่างกาย การลุกไหม้ของเทียนไข

ค. การหลอมเหลวของของแข็ง การระเหยของแอลกอฮอล์ที่ทาบนผิวหนัง

ง. การละลายของน้ำแข็ง การละลายของโซเดียมไฮดรอกไซด์

9. ข้อใดบอกความหมายของการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนและคายความร้อนได้

ถูกต้องที่สุด

ก. การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิสูงกว่าการเปลี่ยนแปลง

แบบคายความร้อน

ข. การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าการเปลี่ยนแปลง

แบบคายความร้อน

ค. การเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิสูงกว่าการเปลี่ยนแปลง

แบบดูดความร้อน

ง. การเปลี่ยนแปลงทั้งแบบดูดความร้อนและคายความร้อนระบบจะมีอุณหภูมิสูงทั้ง

สองระบบ

10. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน ที่สามารถพบเห็นได้ใน

ชีวิตประจำวัน

ก. การเกิดเมฆ หมอก การละลายของหิมะ

ข. ลูกเหม็นระเหิด การละลายของน้ำตาลทราย

ค. การเผาไหม้ การหมักปุ๋ยหมัก การควบแน่นของไอน้ำ

ง. การละลายของน้ำแข็ง การเผาผลาญอาหารในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

*********

ก็ดีนะค่ะ

ครูแอ๋ว ทำผลงานเลยไหมค่ะ ความคิดเห็นเหรอน่ะ

ขอบคุณค่ะ ขอให้เพิ่มข้อมูลอีก หนูขอแบบทดสอบนะค่ะ

ขอเผยแพร่แบบทดสอบให้ทุกคนที่สนใจค่ะ ดีมั้ยช่วยกันติเตียนมาเลย

แบบทดสอบก่อนเรียน

เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลง เวลา 30 นาที 30 คะแนน

คำชี้แจง ให้ผู้เรียนทำเครื่องหมาย x ลงในช่องว่างของตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุด ในแต่ละข้อในกระดาษคำตอบ

ข้อ1. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ก. น้ำกลายเป็นไอ

ข. การทอดไข่

ค. การสูบบุหรี่

ง. มะม่วงสุก

ข้อ2. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ก. การขูดมะพร้าว

ข. การเผากระดาษ

ค. การละลายของน้ำแข็ง

ง. การทำให้ก้อนถ่านแตกละเอียด

ข้อ 3. จากตารางการเปลี่ยนแปลง A และการเปลี่ยนแปลง B ข้างล่างนี้ ข้อใดถูกต้อง

การเปลี่ยนแปลง A การเปลี่ยนแปลง B

1. เปลี่ยนแปลงแล้วสามารถทำให้กลับคืน เหมือนเดิมได้ง่าย

2. เปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอก ภายในไม่เปลี่ยนแปลง

3. ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น

4. อาจมีความร้อนเพิ่ม หรือลดลงก็ได้ 1. เปลี่ยนแปลงแล้วทำให้กลับคืนได้ยาก หรือไม่ได้เลย

2. เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน รูปร่างลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

3. มีสารใหม่เกิดขึ้น

4. อาจมีความร้อนเพิ่ม หรือลดลงก็ได้

ก. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพตามลำดับ

ข. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีตามลำดับ

ค. เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้ง A และ B

ง. เป็นการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ทั้ง A และ B

ข้อ4. เมื่อน้ำแข็งได้รับความร้อน จะเป็นอย่างไร

ก. น้ำแข็งหลอมเหลว อุณหภูมิคงที่

ข. น้ำแข็งหลอมเหลว อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

ค. น้ำแข็งหลอมเหลว อุณหภูมิลดลง

ง. น้ำแข็งไม่หลอมเหลว อุณหภูมิเพิ่มขึ้น

ข้อ5. ใส่น้ำแข็ง 100 กรัม และโซเดียมคลอไรด์ปริมาณเล็กน้อยลงในแก้วที่ปิดสนิท และวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ปล่อยให้น้ำแข็งละลาย เกี่ยวกับระบบนี้ ข้อความใดถูก

ก. ระบบมีพลังงานเพิ่มขึ้น

ข. ไม่มีการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม

ค. มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิของระบบเปลี่ยนแปลง

ง. ระบบมีการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน เพราะในที่สุดน้ำจะมีอุณหภูมิ

สูงขึ้น

ข้อ6. กำหนดแผนผังแสดงการเปลี่ยนสถานะของสารดังนี้

1 2

ของแข็ง ของเหลว แก๊สหรือไอ 4 3

การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารในขั้นตอนใดที่ต้องดูดพลังงานความร้อน

ก. ขั้น 1 และขั้น 2

ข. ขั้น 2 และขั้น 3

ค. ขั้น 3 และขั้น 4

ง. ขั้น 1 และขั้น 4

ข้อ 7. น้ำร้อนที่บรรจุอยู่ในกระติกน้ำร้อนแบบสูญญากาศจัดเป็นระบบประเภทใด

ก. ระบบปิด

ข. ระบบโดดเดี่ยว

ค. ระบบเปิด

ง. ระบบลอยตัว

ข้อ8. ตารางแสดงจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารบางชนิด

สาร จุดหลอมเหลว 0C จุดเดือด 0C

A

B

C

D -183.00

5.50

-8.90

97.96 -164.00

80.10

58.93

883.10

ที่อุณหภูมิ 30 0C สารใดในตาราง มีสถานะเป็นของแข็ง

ก. A

ข. B

ค. C

ง. D

ข้อ9. ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ

ก. ไฮโดรเจน ออกซิเจน

ข. จุดหลอมเหลว จุดเดือด

ค. อุณหภูมิ ความดัน

ง. การระเหย การควบแน่น

ข้อ10. น้ำในสถานะใดที่โมเลกุลเรียงตัวกันอย่างเป็นระบบมากที่สุด

ก. ของแข็ง

ข. ของเหลว

ค. แก๊ส

ง. ทุกสถานะเหมือนกัน

ข้อ 11. เหตุผลใดที่ใช้อธิบายสารที่มีสถานะเป็นของเหลว

ก. อนุภาคของของเหลวสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ

ข. อนุภาคของของเหลวเรียงตัวไม่เป็นระเบียบแต่มีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคที่

แข็งแรงมาก

ค. รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะ เนื่องจากแรงดึงดูดระหว่าง

อนุภาคมีค่าน้อยมาก

ง. อนุภาคของของเหลวอยู่ชิดติดกัน โดยมีการเรียงตัวที่เป็นระเบียบแต่มีแรง

ดึงดูดระหว่างอนุภาคน้อย

ข้อ 12. สาร A สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามภาชนะที่ใส่ สมบัติของสาร A เป็นอย่างไร

ก. มีอนุภาคอยู่กันอย่างหนาแน่น

ข. มีอนุภาคเคลื่อนไปมาอย่างอิสระ

ค. มีอนุภาคอยู่กันอย่างหลวมๆ

ง. มีอนุภาคอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย

ข้อ 13. การเปลี่ยนสถานะของสารในข้อใดที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง

ก. ของแข็ง • แก๊ส

ข. แก๊ส • ของเหลว

ค. แก๊ส • ของแข็ง

ง. ของแข็ง • ของเหลว

ข้อ 14. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา ขณะที่น้ำแข็งหลอมเหลวจะเป็นอย่างไร

ก.

ข.

ค.

ง.

ข้อ 15.การระเหยกับการเดือดของน้ำ แตกต่างกันอย่างไร

ก. การระเหยเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่การเดือดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ข. การระเหยเกิดได้โดยไม่จำกัดอุณหภูมิ แต่การเดือดอุณหภูมิต้องถึงจุดเดือด

ค. การระเหยโมเลกุลของน้ำจะสั่นสะเทือนน้อย แต่การเดือดโมเลกุลของน้ำจะ

เคลื่อนที่อย่างเร็ว

ง. ทั้งข้อ ก,ข และ ค

ข้อ 16. ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำแข็ง และความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ มีค่าเท่ากับเท่าใดในหน่วยแคลอรี / กรัม

ก. 80 แคลอรี / กรัม และ 540 แคลอรี / กรัม

ข. 60 แคลอรี / กรัม และ 540 แคลอรี / กรัม

ค. 80 แคลอรี / กรัม และ 450 แคลอรี / กรัม

ง. 60 แคลอรี / กรัม และ 450 แคลอรี / กรัม

ข้อ 17. จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำ ช่วงเวลาใดที่น้ำมีการเปลี่ยนสถานะ

ก. 0-15 นาที

ข. 0-5 นาที และ 10-15 นาที

ค. 0-5 นาที และ 5-10 นาที

ง. 5-10 นาที และ 10-15 นาที

ข้อ 18. ข้อใดหมายถึงจุดหลอมเหลว

ก. อุณหภูมิขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส

ข. อุณหภูมิขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของแข็ง

ค. อุณหภูมิขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว

ง. อุณหภูมิขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง

ข้อ 19. จากสมการ A + B • C + D + พลังงาน จงพิจารณาว่าข้อใดถูกต้อง

ก. ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน

ข. ถ้าสัมผัสภาชนะที่ใช้ในการทดลองจะรู้สึกเย็น

ค. หลังการเกิดปฏิกิริยา ระบบจะมีพลังงานเพิ่มขึ้น

ง. เมื่อผสมสาร A กับสาร B เข้าด้วยกัน ขณะเกิดสารC และ D วัดอุณหภูมิจะต่ำ

กว่าเดิม

ข้อ 20. การทดลองเกี่ยวกับการละลายน้ำของสารต่าง ๆ บันทึกผลการทดลองได้ดังตาราง

สาร อุณหภูมิของน้ำ ( 0C) ปริมาตร 10 CC อุณหภูมิของสารละลาย ( 0C)

A

B

C

A+B

A+C

B+C 25

25

25

25

25

25 55

25

15

40

39

20

ถ้านักเรียนสรุปผลการทดลองดังนี้

1) การละลายน้ำของของผสม A+B และ A+C เป็นประเภทคายความร้อน

2) การละลายน้ำของของผสม B+C เป็นประเภทดูดความร้อน

3) A B และ C ไม่มีแรงกระทำต่อกัน

4) ปริมาณของ B ในของผสม A+B มีมากกว่า B+C

ข้อสรุปใดถูกต้อง

ก. 1 และ 2 เท่านั้น

ข. 1,2 และ 4

ค. 1,2 และ 3

ง. ผลสรุปถูกต้องทุกข้อ

ข้อ21. การละลายของสารประเภทดูดพลังงานในข้อใดถูก

ก. อุณหภูมิของสารละลายต่ำกว่าอุณภูมิของตัวทำละลาย (เย็นลง) การละลาย

เปลี่ยนตามอุณหภูมิ คือ ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิการละลายยิ่งดีขึ้น

ข. อุณหภูมิของสารละลายสูงกว่าอุณภูมิของตัวทำละลาย (ร้อนขึ้น) การละลาย

เปลี่ยนกลับกับอุณหภูมิ คือยิ่งเพิ่มอุณหภูมิการละลายยิ่งลดลง เมื่อลด

อุณหภูมิการละลายกลับเพิ่มขึ้น

ค. อุณหภูมิของสารละลายสูงกว่าอุณหภูมิของตัวทำละลาย (เย็นลง) การละลาย

เปลี่ยนตามอุณหภูมิ คือ ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิการละลายยิ่งดีขึ้น

ง. อุณหภูมิของสารละลายต่ำกว่าอุณหภูมิของตัวทำละลาย (ร้อนขึ้น) การละลาย

เปลี่ยนตามอุณหภูมิ คือ ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิการละลายยิ่งดีขึ้น

ข้อ22. ในการละลายเป็นสารละลาย ประกอบด้วยกลไก 2 ขั้น ดังข้อใด

ก. ดูดพลังงานไฮเดรชัน แล้วคายพลังงานโครงร่างผลึก

ข. คายพลังงานไฮเดรชัน แล้วดูดพลังงานโครงร่างผลึก

ค. คายพลังงานโครงร่างผลึก แล้วดูดพลังงานไฮเดรชัน

ง. ดูดพลังงานโครงร่างผลึก แล้วคายพลังงานไฮเดรชัน

ข้อ23. สารในข้อใดที่ใช้ใส่ในขนมสาลี่ เพื่อช่วยให้เนื้อขนมฟูขึ้น

ก. โพแทสเซียมเปอร์มังกาเนต

ข. แอลกอฮอล์

ค. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต

ง. โพแทสเซียมไนเตรต

ข้อ 24. คนเป็นโรคกระเพาะอาหารไม่ควรดื่มน้ำอัดลมเพราะเหตุใด

ก. จะไปเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร

ข. เป็นข้อกำหนดของแพทย์

ค. น้ำอัดลมมีสมบัติเป็นกรดสามารถกัดกระเพาะได้

ง. ในน้ำอัดลมมีน้ำตาลมากเกินไปทำให้รับประทานอาหารอื่นได้น้อย

ข้อ25. ข้อใดแสดงว่าใช้สารเคมีได้ถูกต้อง

ก. เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้ปนกัน

ข. สารเคมีติดไฟง่าย ควรเก็บไว้กลางแสงแดด

ค. สารเคมีประเภทมีพิษควรเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก

ง. อาหารกระป๋องที่หมดอายุยังคงสามารถรับประทานได้

ข้อ26. เครื่องดื่มชนิดใดมีความเป็นกรดน้อยที่สุด

ก. นมเปรี้ยว

ข. น้ำสับปะรด

ค. นมถั่วเหลือง

ง. ไวน์ข้าวเหนียว

ข้อ 27. สารต่อไปนี้มีสมบัติอย่างไร

CH3COOH H2CO3 และ HCI

ก. มีสมบัติเป็นเบส

ข. ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส

ค. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

ข้อ28. อาหารที่มีลักษณะตามข้อใดที่ปลอดภัยในการบริโภคมากที่สุด

ก. อาหารที่มีสีสวย สีสด น่ารับประทาน

ข. อาหารกระป๋อง ลดครึ่งราคา

ค. ผักกาดที่มีใบเป็นรู เนื่องจากแมลงกัด

ง. แหนมสีชมพูสด

ข้อ29. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี

ก. น้ำแข็งละลายเป็นน้ำ

ข. อาหารบูดจนเกิดฟองแก๊ส

ค. การเผาถ่านจนเกิดควัน

ง. เป่าลมหายใจ ใส่สารละลายน้ำปูนใส

ข้อ 30. เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี จะมีลักษณะใด

ก. สีผิดไปจากสารตั้งต้น

ข. สถานะต้องเปลี่ยนไป

ค. มีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน

ง. มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากสารตั้งต้นเนื่องจากมีสารใหม่เกิดขึ้น

****************************

หน่วยที่ 4 สารและการเปลี่ยนแปลง

หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

เนื้อหา/สาระการเรียนรู้

1. การเปลี่ยนแปลงของสาร

2. ระบบและสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสาร

3. การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ออกแบบการทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสารได้

2. จำแนกประเภทการเปลี่ยนแปลงของสารในชีวิตประจำวันได้

3. บอกความหมายของระบบและสิ่งแวดล้อมได้

4. จำแนกประเภทของระบบโดยใช้การเปลี่ยนแปลงมวลสารและพลังงานเป็น

เกณฑ์ได้

5. บอกความแตกต่างของระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระได้

6. ยกตัวอย่างระบบเปิด ระบบปิด และระบบอิสระที่พบในชีวิตประจำวันได้

7. ทำการทดลองและสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานของ

ระบบได้

8. จำแนกประเภทของการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบได้

9. บอกความหมายของการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนและคายความร้อนได้

10. ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนและคายความร้อนใน

ชีวิตประจำวันได้

********************

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ

1 ก 16 ก

2 ข 17 ข

3 ข 18 ค

4 ก 19 ก

5 ก 20 ก

6 ก 21 ก

7 ข 22 ง

8 ง 23 ค

9 ก 24 ค

10 ก 25 ค

11 ง 26 ค

12 ค 27 ง

13 ง 28 ค

14 ก 29 ก

15 ง 30 ง

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ

1 ก 16 ค

2 ง 17 ค

3 ค 18 ง

4 ก 19 ก

5 ก 20 ค

6 ก 21 ค

7 ง 22 ก

8 ค 23 ข

9 ง 24 ค

10 ข 25 ข

11 ค 26 ข

12 ก 27 ง

13 ง 28 ก

14 ก 29 ง

15 ง 30 ง

ขอบคุณค่ะ...ที่ให้ความรู้ดีๆ อยากให้เผยแพร่เต็มๆ จัดให้หน่อยนะคะ

อ่้่ืฝาน้ฝสเแ เใฝ้วาิ

กหพกดเา่ม้ใัี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท