the_first_domino(8)-ภาพของ"ตลาดเเรก"


…การก่อสร้างตลาดจะไม่มีทางสำเร็จถ้าเรายังไม่เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร

(ร่างบทความสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซท์ของนรทุนรัฐบาล)

บทความต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักเรียนทุนรัฐบาล แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนทุนคนหนึ่งต่อการยกสถานะทางวิชาการของประเทศเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ ผมนำเสนอบทความนี้ต่อนักเรียนทุนเป็นกลุ่มแรกเพราะผมเห็นว่าสังคมนักเรียนทุนนี้เป็นสังคมวิชาการที่เข้มแข็งที่สุดสังคมหนึ่งของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ ความรู้ ประสบการณ์ และพันธมิตรที่หลากหลาย ท้ายสุดแล้วผมเชื่อว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์ลึกๆร่วมกันที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศของพวกเรา

---------------------------------------------------------------------------------

ก่อนอื่นเราต้องวาดภาพ “ตลาดแรก”ของพวกเราให้ชัดก่อน เพราะนิยามกว้างๆอย่าง “การปฎิรูปประเทศ”, “ตลาดนัดคนคุณภาพ”หรือ”ตลาดวิชาการ”ดูจะเป็นนามธรรมเสียจนไม่รู้จะเริ่มยังไง ไม่รู้ว่าตกลงตลาดจะให้อะไร  …การก่อสร้างตลาดจะไม่มีทางสำเร็จถ้าเรายังไม่เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร
“ตลาดแรก”จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นฐานข้อมูลเชิงบุคลากรเพื่อการวิจัย
…เรื่องที่ใกล้ตัวนักเรียนทุนอย่างพวกเราที่สุดถัดจากเรื่องคลาสที่เทค รีเสิจที่ทำ วิทยานิพนธ์ที่เขียน ก็คือเรื่อง “จบแล้วไปไหน” “จบแล้วเป็นยังไงต่อ” “กลับไปไทยแล้วจะทำอะไรได้บ้าง” จากประสบการณ์ที่ผมได้พูดคุยกับเพื่อนๆพี่ๆนักเรียนทุนด้วยกันหลายระดับ น้อยคนเหลือเกินที่คิด วางแผน และเตรียมพร้อมสำหรับเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง แม้แต่นักเรียนระดับปเอกที่ใกล้จะจบยังรู้เพียงคร่าวๆว่าจะไปบรรจุทำงานที่ไหน แทบไม่มีใครเลยที่สามารถตอบคำถามประเภทที่ว่า
…ถ้าฉันกลับไปตอนนี้ ฉันจะเริ่มทำโปรเจกอะไรได้บ้าง
…ตอนนี้มีใครทำงานที่เกี่ยวข้องกับที่ฉันอยากจะทำอยู่บ้าง…ก้าวหน้าไปถึงขั้นไหนแล้ว
…สิ่งที่ฉันเรียนมาจะเอาไปประยุกต์ใช้กับงานที่ฉันจะไปทำอย่างไรบ้าง
ไม่มีใครหรอกครับที่ไม่อยากมองเห็นทางข้างหน้าอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่พวกเราก็ต่างรู้ดีว่าไม่มีตำราเล่มไหน หรือ ผู้รู้คนใดสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ วิธีเดียวที่รู้ก็คือการเป็นคนกว้างขวาง รู้จักคนให้เยอะ รู้จักตั้งคำถาม และติดตามข่าวอยู่เสมอๆว่า “ใครไปถึงไหนกันแล้ว”
…แต่จะมีกี่คนมีเวลาเตรียมการได้ขนาดนั้น อย่างเก่งเราก็รู้จากเพื่อนนักเรียนทุนรุ่นเดียวกันบ้าง รู้จากรุ่นพี่รุ่นน้องมหาลัยเดียวกันบ้าง แถมส่วนมากก็ไม่ค่อยมีใครจะคุยเรื่องงานเรื่องซีเรียสพวกนี้กันจริงๆจังๆเวลาพบปะกัน เราปล่อยให้เรื่องพวกนี้ผ่านไปจนถึงวันที่เราเรียนจบ กลับบ้าน เริ่มทำงาน จนเราเริ่มรู้สึกเคว้งอะไรก็ติดขัดไปหมดเราถึงเริ่มสร้างconnection…ใช้เวลาอีกเท่าไหร่ไม่รู้กว่าอะไรๆจะลงตัว
…จะไม่ดีกว่าหรือถ้าจะมี “แหล่งข้อมูลกลาง”ที่จะช่วยให้เราเห็น “ทีมงาน”ของเราชัดขึ้น
…”แหล่งข้อมูลกลาง”จะบอกเราว่า ณ เวลานี้นักวิจัยชาวไทย ที่ไหนก็ตามบนโลกนี้ทำอะไรอยู่บ้าง ก้าวหน้าแค่ไหน มีอุปสรรคอะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไร และ ช่วยอะไรเราได้บ้าง
นี่คือสิ่งที่สมาชิกจะได้จาก “ตลาดแรก”ที่เราจะสร้าง
โครงสร้างของ “ตลาดแรก” ที่ผมมองเห็น ประยุกต์มาจาก www.gotoknow.org คือ สมาชิกแต่ละคนมี bloc ของตัวเอง สามารถสร้าง”ชุมชนบล็อก” และเข้าร่วมชุมชนที่สนใจ เว็บนี้ต่างจากgotoknowตรงที่จะเน้นไปทางรีเสิจมากกว่าการแสดงความคิดเห็นทั่วไป เราอาจจะมีwebboardแยกออกมาต่างหากก็ได้ แต่ว่าต้องมีส่วนหนึ่งที่กันเอาไว้สำหรับรีเสิจล้วนๆ ผมอยากจะเน้นตรงนี้เพราะต้องการให้คนจะสมัครเข้ามาเห็นว่าเว็บนี้มีอะไรโดดเด่น แตกต่างจากเว็บไซต์รุ่นของนักเรียนทุนทั่วๆไปทีพวกเราเอาไว้คุยเรื่องสัพเพเหระ เว็บนี้ยังต่างไปจาก www.vcharkarn.com ที่เน้นการเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลทั่วไปเป็นหลัก  ขณะที่เว็บของเราจะเป็นที่ๆคนทำรีเสิจจริงๆจะเข้ามาเพื่อนำเสนอ ตั้งคำถาม และอภิปราย ผมไม่ได้หมายความว่าจะให้เว็บนี้เป็นตลาดปิด แต่เราต้องการให้ความเข้มข้นทางวิชาการดึงดูดเหล่ายอดฝีมือที่กระหายความรู้เข้ามากก่อน
ข้อมูลที่นำเสนอบนblocมีอะไรบ้าง? พื้นฐานที่สุดคือ titleและabstractของเจ้าของbloc ซึ่งเป็นวิธีง่ายที่สุดที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคนเขียนสนใจเรื่องอะไร ทำงานอะไรมาบ้าง และงานชิ้นนั้นน่าจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง …ที่สำคัญกว่านั้นคือ abstractเป็นสิ่งที่คนทำวิจัยทุกคนต้องเขียนอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องเอามาpostลงไปบนบล๊อกของตัวเองเท่านั้น (ตัดปัญหาเรื่อง “ไม่มีเวลาเขียน” หรือ “ไม่รู้จะเริ่มเขียนอะไร” ออกไป) การเผยแพร่งานของตัวเองบนบล็อก เหนือกว่า การให้หน่วยราชการเป็นคนไปรวบรวมงานพวกนี้ไว้เอง ตรงที่ผู้สนใจสามรถสื่อสารโต้ตอบกับเจ้าของบล๊อกได้โดยตรง นอกจากนั้นเจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะเข้าถึง ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมข้อมูลของตัวเอง คุณทำยังไงก็ได้เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีประสบการณ์ มีความสามารถอะไร กำลังสนใจเรื่องอะไรอยู่ ตอนนี้กำลังทำโปรเจกอะไร มีปัญหาอะไรบ้าง นี่คือภาพของ “ตลาด”ที่ผมกล่าวถึงในบทก่อนๆ คือต่างคนต่างเป็นพ่อค้า ที่จะนำเสนอว่าตัวเองมีของดีอะไร และต่างคนก็ต่างเป็นลูกค้าที่มองหาจุดเด่นที่คนอื่นๆมี
“ชุมชนบล็อก” ที่จะเกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็น academic interest group ชุมชนอาจจะเกิดขึ้นจากสาขาที่เรียนเป็น “ชุมชน physic” “ชุมชนelectrical engineer” “”ชุมชนinternational relation” หรืออาจจะเป็นกลุ่มคนหลายๆสาขาวิชาที่สนใจเรื่องเดียวกัน ทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอยู่ สมมติว่าเรามี “ชุมชนneuroscience” ในนั้นอาจจะมี นักเรียนชีววิทยา นักศึกษาแพทย์ นักวิศวกรรมการแพทย์(biomedical engineer) หรือแม้แต่นักฟิสิกส์ กับนักคณิตศาสตร์  “ชุมชนบล็อก”จะช่วยให้สมาชิกเริ่มสร้างทีมงาน เริ่มมองเห็นตัวเองในcontextสังคมการวิจัยของประเทศ ในระยะยาวเราคาดหวังให้ “ชุมชนบล็อก” เหล่านี้พัฒนาขึ้นมาเป็น “สมาคมของนักวิจัย”สาขาต่างๆในที่สุด
ต่อไปผมจะพูดถึง Road map ของเว็บที่ว่าบ้าง
-ใครจะเป็นคนสร้างมันขึ้นมา?
-สร้างแล้วทำยังไงให้นักเรียนทุนส่วนใหญ่ยอมรับ สมัครเข้ามา และดูแลบล็อกตัวเอง
-ทำยังไงให้interactionในบล็อก เป็นไปอย่างที่เราวาดภาพไว้
-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20578เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท